เวลาผ่านไปคนไทยเริ่มรักกัน .. เอ๊ย ไม่ใช่ .. เครื่อง Digital รุ่นใหม่เริ่มมีคำสั่ง Scan หรือ Send ก็สแกนส่งไปคอมพิวเตอร์ แล้วไปแก้ไฟล์ใน Photoshop หรือ Illustrator แล้วแต่ถนัด .. แล้วค่อยสั่งปรินท์ ... ย้อนกลับคืนสู่สามัญ เมื่อมีเครื่องถ่ายเอกสารสีเข้ามาใช้ในร้าน .. ถ้าพอมีเวลาจะทำปกสี ก็ใช้วิธี Scan หรือ Send แก้ไขไฟล์ในคอมพิวเตอร์ดังเดิม .. แต่หากเจองานด่วนในเวลาเร่งรีบ จะใช้หลักการเดียวกัน Scan มาแก้ไฟล์ หรือถ่ายต้นฉบับออกมาเพื่อแก้ไขด้วยคัตเตอร์และลิขวิดเปเปอร์ ก็ดูเหมือนจะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะกว่าจะได้ต้นฉบับที่ต้องการ คมชัดสวยงาม คงต้องถ่ายกันหลายรอบน่าดู
เจองานด่วนๆ ง่ายๆ อยากได้ปกสีเหมือนต้นฉบับ แต่ต้นฉบับมาแบบเก่าแก่ลายคราม ขอบดำบ้าง มีริ้วรอยลายเซ็นบ้าง จะ scan ไปแก้ไขในคอมพิวเตอร์ ก็ช้าไม่ทันใจ อย่าลังเลใจครับ เพียงใช้คำสั่ง Area Designation ซึ่งตั้งอยู่ในตำแหน่งด้านซ้ายล่างของหน้าจอ ใกล้ๆ กับปุ่ม Interrupt ปัญหานี้จะหมดไป เพียงกดเข้าไปจะเจอเมนูให้เลือกสองเมนู คือ Pen Entry และ Numeric Key Entry ทั้งสองคำสั่งจะเลือกพื้นที่ที่ต้องการให้ถ่ายเอกสาร .. ขออนุญาตอธิบายแต่ Pen Entry เพราะสะดวกง่ายดายกว่า ส่วน Numeric Key Entry ถ้าต้นฉบับมาเป๊ะๆ ตัดขอบที่ต้องการได้พอดี ก็ป้อนค่าเข้าไปได้ไม่ยาก
เมื่อกด Pen Entry จะมีหน้าจอโผล่มาถามให้ Start scan เพื่อ Preview คร่าวๆ ให้เราดูภาพที่เราสแกน คราวนี้หยิบปากกาจากหน้าเครื่องถ่ายฯ มา เพื่อเลือกพื้นที่โดยการจุด การจุดลงไปครั้งแรกด้านบน จุดสองด้านล่างจะเป็นการเลือกตำแหน่งด้านขวาบนของพื้นที่ๆ ต้องการ จุดที่สองคือซ้ายล่าง กลับกันเลือกจุดแรกด้านล่าง จุดสองด้านบน ก็จะเป็นซ้ายล่าง ขวาบน .. โดยเครื่องฯ จะเลือกพื้นที่เป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยจะมี Processing Area ให้เลือกถึง 4 พื้นที่ด้วยกัน และสามารถจะเลือกที่จะมีภาพ หรือไม่มีภาพได้ โดยกดไปที่ Framing คือเลือกให้มีภาพ และBlanking คือไม่มีภาพ โดยหากเลือกซ้อนกัน พื้นที่ Blanking เป็น Layer ที่อยู่ข้างบนจะกินพื้นที่ Framing หายไป แต่หากพื้นที่ Framing อยู่ด้านบน Blanking ภาพจะโผล่ออกมา
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgjtCHuqH1_p0Y2L3KTTvbENOtJlnQ08i0VaPZDgABfx3FdNFQ3srJxlymZWKDXIR5ny7QSj9gbxE8ydcnF9Jcl4JEJ_QfjxA08dHoP00lwCjvFigzlmKDtB1fsK57CT9z9v6IuRXRWKjwp/s280/area3.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiloEvb3fszFbSW5DekMOe01lq-GGv5VMdPmfU0K2iOtKNCu_69ZS5yU19Zko-J9bX26J4DTklwaOeLDMAdNuj2Bh4iPJ6mift71pE5nyubN8uuF_m2IOrb_QjoGdRScgl-1s9UMqRxMOCc/s280/area4.jpg)
![](https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjIPAPsti4L0rcoV_eKozEokShWNAWdPNu3J7fZWm0D4y6zZg_oX9i3YsYWis0sQKCww7TzwbQOlfTyfBBcsWx0WvwvJe1RKZxpGuaVnG4lZ4erPhC3TO-bduF-Hdun7q8Hge2L2mP7GTY9/s280/area5.jpg)
คำสั่ง Area Designation ยังมีลูกเล่นในตัวอีกมากมาย .. ไม่ว่าจะเป็น Area Fine Adjustment เพื่อ Move Point หรือ Point Select ลืมบอกไปอันไหนไม่เอาก็ Clear Area ได้นะครับ ... ลูกเล่นทั้งหลาย คงต้องใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ..ดมๆ เดาๆ เอาเหมือนสมัยยังใช้เครื่อง Analog ก็ผ่านกันมาได้หลายรุ่น ... หลายเล่มที่ผ่านไปโดยใช้จิตสัมผัส กะค่า คำนวณออกมาเป็นตัวเลขไม่ได้ แต่สามารถผลิตงานออกมาให้ลูกค้าได้ อย่างสวยงาม .. บางเล่มถามว่าจะให้ทำออกมาอีกรอบให้เหมือนเดิมได้ไหม ก็คงเป็นไปได้ยาก ... เพราะอาจสวยกว่าเดิม .. บางเล่มลองแล้วลองอีกเหมือนอารมณ์ Analog แต่ก็ต้องลอง ... เพื่อผลงานที่ออกมา ... ขอทานยังมีกะลา .. ทำการค้า ต้องลงทุนครับ ...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น