โชคดีร้านนี้ไม่ใช่ช่าง ไม่มานั่งประชันโค๊ดรายวันให้เสียเวลา แต่ถ้าหนูเข้าเครื่องมา ยี่ห้อไหนก็พัง 012-241 อาการนี้ชี้ไปที่แผงพาวเวอร์ฟินิชเชอร์ก่อน ถ้าไม่ใช่ค่อยย้อนมาดูแผงพาวเวอร์บุ๊คเล็ต บางทีชุด Booklet ไม่เข้า Home ก็โชว์โค๊ดนี้ ถ้าโชคไม่ดี สวิทซ์ฝาหน้าฟินิชเชอร์เสีย ก็ขึ้นโค๊ดนี้เหมือนกัน
ALWAYS PASS ON WHAT WE HAVE LEARNED. สิ่งใดๆ ที่ได้เรียนรู้ จารึกไว้ดู ส่งต่อด้วยใจ ... "สลิล สไมล์"
หน้าเว็บ
โค๊ดมันเยอะ ฟินิเชอร์ ฟูจิ ซีร็อกซ์ 012-241, 012-246, 012-253, 012-264, 012-227, 012-255, 012-171, 012-211, 012-212
โค๊ด Xerox มิใช่ ดวงดาวเมื่อพราวแสง 077-900, 077-901, 077-904, 077-929, 077-909, 010-910, 093-924, 024-965
อย่าง Xerox 4110 ผ้าเว็บหมด ก็บอกกันดีๆ ก็ได้ ไม่ต้องโชว์ 010-910 วิธีเคลียร์ก็ออกแบบให้ยุ่งยากเข้าไว้ กด 9 ค้าง Stop แล้ว Yes ถ้าไม่ได้ก็ NVM : 744-167=0 หรือไม่ก็เวลาหมึกหมด ทำไมไม่บอกหมึกหมด แต่ดันโชว์ 093-924 กว่าจะหาหมึกมาเติม หาชิพหมึกมาเปลี่ยน ต้องค้นหาก่อนว่ามันคืออะไร ถ่ายๆ อยู่ กระดาษหมดก็โชว์นะ 024-965 ทำไมไม่บอกแค่ให้เติมกระดาษ หรือเค้าอยากให้ขาดช่างไม่ได้ ต้องทักทายถามโค๊ดกันบ่อยๆ
ขอบคุณช่างเจ๋ง ช่วยซ่อม E532 ส่วนเจ้าของวางยาเอง E537
ล่าสุด Canon iR7095 อยู่ดีๆ ก็กรีดร้อง E000532-8002 พลิกดูตำราที่จดไว้ E532 มอเตอร์เลื่อนเครื่องเย็บแม็ก M10 เสีย หรือไม่ก็เซ็นเซอร์ P17 เช็คตำแหน่ง Home ของการเลื่อนเครื่องเย็บแม็ก มีปัญหา จะให้ลึกยาวไปกว่านั้นก็ สวิทซ์ปลอดภัยไกด์เหวี่ยง MSW2 สวิทซ์เครื่องเย็บหน้า MSW8 หรือหลัง MSW9 เสีย
Canon iR7095 ขึ้นโค๊ด E121 ไม่ใช่เรื่องขี้ผง แต่เป็นเรื่องขี้หนู
เรื่องไม่คาดฝัน เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บ่อยครั้งที่เราได้เรียนรู้จากมัน แต่บางครั้งการทำนายหรืออธิบายเรื่องไม่คาดฝันเหล่านั้น ก็ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลมารองรับทุกเรื่อง บางเรื่องเอาแค่สมเหตุสมผลก็พอ อย่างเครื่องรุ่นพ่อ Canon iR7095 ใช้งานอยู่ดีๆ โชว์โค๊ด E000121-0001 พัดลมปรับอุณหภูมิชุดเลเซอร์ FM5 ไม่หมุน
ตรวจสอบ Component เครื่องถ่ายเอกสาร Fuji Xerox ด้วยการใช้ IO Check
กว่ากระดาษจะมีภาพ ออกมาจากเครื่องได้แต่ละแผ่น ล้วนต้องผ่านส่วนประกอบ หรือ Component ของเครื่องถ่ายฯ ที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น มอเตอร์ คลัทช์ พัดลม โซลินอยด์ ฯลฯ ซึ่งต่างตัวก็ต่างหน้าที่ แต่ต้องทำงานประสานกันอย่างลงตัว ถ้ามีตัวหนึ่งตัวใดอู้งาน หรือตายในหน้าที่ ส่วนงานนั้นก็อาจสะดุด หรืออาจทำให้ล่มทั้งระบบ หากจะให้ไล่ถอดมาตรวจเช็คทุกตัว ก็ไม่ต่างจากเดาข้อสอบปรนัย ก.ไก่ ยาวไปถึง ฮ.นกฮูก
ไม่ทางเข้า ก็ทางออก Finisher Xerox หลอกโชว์โค๊ด 012-112, 012-113, 012-142, 012-151, 012-159
ถ้ากระดาษเลยไปติด แถวตำแหน่ง 3G งานนี้มีโชว์ 012-142 เช็คลูกยางทางออกฟินิชเชอร์ ล้างโซลินอยด์เกท อยู่ตรงทางออก หรือปรับตำแหน่งโซลินอยด์ ให้ถูกตำแหน่ง ถ้ามั่นใจว่าทุกอย่างปกติดีแล้ว ลองเคลียร์ NVM : 763-386 = 1
เค้าให้ยื่นดันหด ฟินิชเชอร์ รันทด โชว์โค๊ด 024-747, 024-982, 024-983, 024-367
024-982 ฟินิชเชอร์ถาดล่างมีปัญหา ตำราเค้าว่า Stacker Lower Safety Warning. The Stacker Tray Lower Safety Switch is On. ให้ลองไล่สายเซ็นเซอร์ฟินิชเชอร์ เน้นไปที่ถาดล่าง ถ้าดูแล้วไม่มีอะไรผิดปกติ ให้ถอดฝาหลังฟินิชเชอร์ เช็คไมโครสวิทซ์ แผงด้านหลังฟินิชเชอร์ หรือ ลองไล่สายไฟที่จะไปถาดล่างดู น้องหนูอาจกัดสายหรือฉี่เป็นลายแทง รดแผงเอาไว้
Fault Code 116-312, 116-317, 116-321, 116-323, 116-324, 116-325 ฮาร์ดดิสก์ผิดพลาด ทำความสะอาด RAM ให้ดี เคลียร์ 4 ด้วยนะ
Code ที่ขึ้นต้นด้วย 116-XXX ส่วนมากมักเกิดจากความผิดพลาดในการถอดรหัสข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ อย่างเช่น 116-312 ว่ากันว่า Hard Disk Drive (HDD) Encryption Key Error Was Detected During Power On กุญแจเข้ารหัสข้อมูลผิดพลาด วิธีแก้เบื้องต้น ให้ลอง เคลียร์ฮาร์ดดิสก์ หรือเคลียร์ 4 กดลิงค์เข้าไปอ่านกันได้ เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ก่อนเคลียร์ อย่าลืมถอดสาย LAN ก่อนนะ
116-XXX ยังเป็นไปได้ว่า อุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายในแผงเมนบอร์ด อาจมีปัญหา อย่างเช่น 116-317 The error code is in reference to the optional memory card. เจอโค๊ดนี้ให้ถอดแผงออกมาตรวจสอบ แผงที่เราเสียบสาย LAN นั่นแหละ เล็งไปที่แถบ RAM ออกมาขัดทำความสะอาดก่อนเลย ลูกทุ่งหน่อยก็เอายางลบดินสอขัดๆ ถูๆ หรือใครมีน้ำยาอะไรที่ทำให้สะอาดทั้ง Slot เหมือนออกมาจากโรงงานใหม่ๆ ได้ ก็ลองเอามาใช้กัน
Xerox ติดโค๊ด 124-312, 124-313, 124-315, 124-373, 124-374 เครื่องไม่วิ่ง ลองเคลียร์บิลลิ่ง ดูนะ
วิธีเคลียร์บิลลิ่ง เข้าโหมดช่าง 0+start 6789 ให้เรียบร้อยก่อน พอเข้าได้แล้วกดปุ่ม Login/Out หรือปุ่มรูปกุญแจ กดเข้าไปหาเมนู Adjustment/others ให้ได้ บางรุ่นอาจอ้อมหน่อย จาก Login/Out เข้าไป System Setting / Common Setting แล้วเข้า Maintenance/Diagnostics จึงจะเจอเมนู Adjustment/others หรือบางรุ่นเข้าไปที่ Tool ตามด้วย Maintenance/Diagnostics ก็จะเจอ Adjustment/others ถ้าเจอแล้วให้กดเข้าไปที่ Machine ID / Billing Data
ชุดถาด Xerox จอมขี้เกียจ จน เครียด โชว์โค๊ด 024-910, 024-911, 024-912, 024-916
024-911 อาการอู้งาน ไม่ต่างอะไรกับโค๊ดก่อนหน้า แค่ว่าเปลี่ยนจากถาด 1 เป็นถาด 2 อาการฟ้องเดียวกันว่าขนาดของกระดาษในถาด ไม่ตรงกับที่ตกลงกันไว้ ซึ่งสาเหตุก็ประมาณกัน ให้ถอดชุดถาดมาเช็คดู ตั้งแต่ลูกยาง เฟืองขับ มอเตอร์ เซ็นเซอร์ แผงโวลุ่ม คลัชรีจิสต์ หรือถ้าขยันหน่อยก็ลองใช้ Input-Output Check ดูนะ The Regi Sensor (Input Check [071-105]) The Regi Clutch (Output Check [071-001]) The MSI Feed Clutch (Output Check [072-014]) ถ้ายังไม่หายไปหาแผง ESS/MCU มาลองสลับดู