การเลือกปรับอุณหภูมิถาด Bypass เครื่อง Canon ตามชนิดของกระดาษแต่ละประเภท

สงสัยกันมานาน เวลายัดกระดาษใส่ถาด Bypass เพื่อถ่ายฯ ปก หรือถ่ายฯ กระดาษแปลกประหลาดทั้งหลาย .. ว่าควรจะเลือกชนิดของกระดาษเป็นอะไรดี .. เพราะอุณหภูมิของเครื่องจะถูกปรับให้สูงหรือต่ำ ตามชนิดของกระดาษที่เลือก .. ถ้าหนามาก เครื่องก็จะต้องร้อนหน่อย เพื่อให้หมึกพิมพ์สามารถซึมเข้าไปแนบแน่นกับเนื้อกระดาษได้อย่างแนบแน่น ... แต่ถ้ากระดาษบางเกินไป แต่เลือกความร้อนสูง ความเสี่ยงที่กระดาษจะงอยับย่นติดชุดความร้อน ก็สูง .. ก็หนูออกจะบอบบาง ไม่สามารถผจญภาวะความร้อนสูงได้ เลือกแบบหนาถึกบึกบึน ... จะใจร้ายกับหนูมากเกินไปหรือเปล่า

ที่ผ่านมาใช้ประสบการณ์จากการลองผิดลองถูก ถ่ายออกมาแล้วเอามือลบได้หรือเปล่า กลัวไม่ชัวร์ก็เอาผ้าถูๆ เอาเลย ... ต่อมาก็เดาเอารูปตัวอย่างที่เค้าให้มา ขั้นสูงหน่อยก็เดาตามตรรกศาสตร์ ว่าอุณหภูมิของกระดาษแต่ละประเภท น่าจะไล่จากซ้ายไปขวา บนไปล่าง ... หรือเดาเอาตามคำแปลเลย Color กระดาษสี Coated กระดาษอาร์ต ..บางเมนูที่ให้เลือก พอเดาได้ไม่อยาก อาทิ แผ่นใส ไม่ต้องคิดอะไรมาก กดปุ่ม Transparency ไปได้เลย .. แต่ถ้ากระดาษแปลกๆ อย่างอาร์ตมัน 130 แกรมกับ 260 แกรม มันไม่น่าจะเลือก Coated เหมือนกัน ... เราควรจะตั้งค่ากระดาษเป็นอะไรดี เพื่อให้เครื่องปรับอุณหภูมิได้เหมาะสม ออกมาสวยงาม ไม่หลุดร่อน หรือยับติดชุดความร้อน

ตั้งแต่ใช้เครื่องเล็กถ่ายฯ ปกมาก็มี iR3300 กับ iR3530 เพราะเป็นดรัม OPC ... ไร้จุด ไร้ริ้วรอย สวยงามเป็นหน้าเป็นตาเพราะหน้าปก คือประตูบานแรก ที่จะทำให้เอกสารหนังสือทั้งหลายน่าอื่นมากยิ่งขึ้น .. ต่อมาคลุกคลีกับเครื่องสี iRC2880i ก็ใช้มาตรฐานความรู้สึกเดิมๆ วัดใจกันแบบเดิมๆ เอางานออกมาสวยงาม และคงทนให้ลูกค้าว่า ... ผ่านไปหลายหมื่นหน้า เจอกระดาษมาทุกรูปแบบ .. ต้องมาตลกกับตัวเองว่า เครื่อง Canon iRC2880i มีปุ่ม Details ให้ทราบรายละเอียดของชนิดกระดาษแต่ละแบบ .. ว่าเครื่องฯ จะตั้งอุณหภูมิเท่าไร เพื่อใช้กับกระดาษกี่แกรม ... ก็เลยเอามาฝากให้พิจารณากัน หวังว่าคงไม่สายเกินไป .. เทียบกับน้ำหนักแกรมเอาง่ายๆ ละกันนะครับ .. หนามากอุณหภูมิก็สูงมาก

อันดับแรกที่เครื่องค้างไว้ให้เลยคือ Plain กระดาษถ่ายเอกสาร ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน เค้ามีแบ่งด้วยนะว่า Plain แบบธรรมดา หนา หรือ บาง ... ซึ่งเครื่อง Canon จะตั้งค่าความร้อนกระดาษ Plain ไว้สำหรับกระดาษ 80 แกรม ส่วนเครื่องรุ่นใหม่ที่ตั้งได้ละเอียดกว่านั้นก็เป็น Plain (Thin) ตั้งความร้อนไว้สำหรับ 64 แกรม และ Plain (Heavy) ตั้งไว้สำหรับกระดาษ 105 แกรม .. ขออนุญาตยกตัวอย่างไว้แต่เพียงเท่านี้ ที่เหลือเลือกดูตามชนิดกระดาษได้เลย ว่าเครื่องถ่ายฯ กำหนดอุณหภูมิสำหรับกระดาษแต่ละประเภทไว้สำหรับกี่แกรม ... เทียบบัญญัติไตรยางค์ เอาง่ายๆ ก็ได้ ว่ากระดาษที่ยัดใส่ Bypass ควรจะเลือกชนิดของกระดาษประเภทไหน เพื่อเครื่องจะได้ปรับอุณหภูมิให้ตามที่ต้องการ

Recycled (64-80 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 64 แกรม
Color ใช้สำหรับกระดาษ 64 แกรม
Pre-punched (75-81 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 80 แกรม
Bond Paper ใช้สำหรับกระดาษ 90 แกรม
Heavy 1 (106 – 163 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 128 แกรม
Heavy 2 (164 – 220 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 209 แกรม
Transparency (151-180 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 165 แกรม
Coated (100 – 158 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 128 แกรม
Tracing Paper (64-80 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 75 แกรม
Labels (151 – 180 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 165 แกรม
Envelope (80 – 105 gsm) ใช้สำหรับกระดาษ 90 แกรม


คราวนี้ ยัดกระดาษกี่แกรมเข้า Bypass ไป คงเลือกไม่ยากแล้วนะครับ สำหรับเครื่อง Canon เพราะปกติ iR3300 กับ iR3530 เค้าไม่มีบอกให้ครับ .. โชคดี ถ่ายฯ ปกสวยๆ ให้ลูกค้ากันครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น