www.facebook.com/slinsmile
Fan Page ของร้าน Slinsmile ก่อกำเนิดขึ้น ด้วยความไม่รู้ ... คือไม่รู้ว่าต้องทำไปทำไม เห็นใครๆ ก็มีกัน แล้ว facebook ที่มีอยู่ก็เป็นชื่อร้านอยู่แล้ว ทำไมต้องทำอะไรอะไรเพิ่มเติม ... วัยรุ่นก็ทักมาว่าเผื่อมีเพื่อนเกินกว่า 5,000 คน ต้องทำเป็น Fan page แล้วเพื่อนที่มีอยู่ 4,999 คน เค้าจะรู้ไหม ก็ไม่เข้าใจ แต่ก็พยายามทำออกมา ดีกว่าไม่ทำอะไร ก็ Update บ้าง ... อะไรบ้าง ตามประสา โดยตั้งโจทก์ว่า ผู้ที่เข้ามา น่าจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง จาก Fan page ที่ทำขึ้นมา ... ทุกวันนี้ก็สัญญาว่าจะเป็น Fan page ที่มีคุณค่า ผู้ที่แวะเวียนมา จะได้ประโยชน์บ้าง ... อะไรบ้าง ... ทำนองนี้
ALWAYS PASS ON WHAT WE HAVE LEARNED. สิ่งใดๆ ที่ได้เรียนรู้ จารึกไว้ดู ส่งต่อด้วยใจ ... "สลิล สไมล์"
หน้าเว็บ
▼
ตำนานแห่งเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องแรกของโลก
ถ่ายเอกสารอยู่ทุกวัน ทั้งวันทั้งคืน บ้างก็นั่งเช็ดนั่งถู ลูบคลำปัดฝุ่น
บ้างก็ถึงขั้นนอนเฝ้าเครื่องฯ วิ่งทั้งคืนยันเช้า บ้างก็คลุกคลีตีโมง
แกะนั่นถอดนี่ จนแทบจะเรียกได้ว่าถ้าเป็นคนก็คงจะได้เสียกันไปเป็นที่เรียบร้อย
แต่เคยมีใครสงสัยหรืออยากรู้บ้างหรือไม่ว่า ไอ้กระดาษแผ่นบางๆ ที่วางอยู่บนกระจก
เพียงหลอดสแกนวิ่งผ่าน แล้วกระดาษอีกหลายพันหลายหมื่นแผ่น
มันวิ่งออกมามีภาพเหมือนกับต้นฉบับ แถมสั่งได้ดั้งใจในทุกรูปแบบ ย่อ-ขยาย จัดชุด
กลับหน้า-หลัง ฯลฯ อย่างที่นำมาใช้ทำมาหากินกันดังเช่นทุกวันนี้ มันมีที่มาอย่างไร
แรกเริ่มเดิมที ตั้งแต่มีมนุษย์อุบัติขึ้นมาบนโลก เครื่องมือที่ใช้ทำสำเนารูปภาพ
เริ่มมาจากหลักการของกล้องถ่ายภาพ ซึ่งในที่นี้คงไม่กล่าวถึง
เพราะกล้องถ่ายรูปก็มีรูปแบบวิวัฒนาการแตกต่างกันไป (ว่างๆ
จะไปรื้อตำราเก่าสมัยเรียนมา คืนอาจารย์ไปหมดแล้ว) เพียงแต่ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง
หลังจากที่มีกล้องถ่ายรูป ได้มีผู้คิดค้นวิธีการทำสำเนาภาพขึ้น ดังนั้น เครื่องถ่ายเอกสารในยุคแรกจึงไม่ใช่เครื่องถ่ายเอกสาร
แต่เป็นลักษณะคล้ายเครื่องอัดรูป หรือเครื่องทำสำเนาขนาดเล็ก ถ่ายสำเนาได้ครั้งละแผ่นเดียวเท่านั้น
ซึ่งตรงนี้เองเป็นที่มาของรากศัพท์ คำว่า Photocopy หรือ สำเนาภาพ ที่เราแปลเป็นภาษาไทย
มาจนถึงทุกวันนี้คือคำว่า “ถ่ายเอกสาร”
วิธีทำต้นฉบับ A5 จากไสกาว เป็นเย็บมุงหลังคา ... เลื่อนต้นฉบับ B5 ให้อยู่กลาง A4
ถามไถ่กันมาในห้องศูนย์ถ่ายเอกสารของ facebook วันนี้ว่างๆ
มานั่งทบทวนถึงวิธีการทำต้นฉบับ หนังสือที่มาจากงานพิมพ์ ต้นฉบับที่มีอยู่โดยมากก็จะเป็นขนาด A5 และ B5
ซึ่งโจทก์ของเราคือ
จะทำอย่างไรให้ถ่ายเอกสารออกมาได้ให้สวยงามที่สุด โดยที่ประหยัดมากที่สุด โดยเฉพาะ
A5 หากเล่มหนาเกิน 100 หน้าขึ้นไป การเข้าเล่มไสกาวดูจะเหมาะที่สุด
แต่จะทำอย่างไรให้ประหยัดต้นทุนในการถ่าย นั่นคือกระดาษ 1 แผ่นต้องมี 4 หน้า
เป็นลักษณะ Booklet ซึ่งเครื่องถ่ายเอกสารดิจอตอลทั่วไปสามารถทำได้ ถ้าบางก็เย็บมุงหลังคา
ถ้าหน้าก็ตัดครึ่ง ส่งไสกาว ส่วน B5 ก็มีโจทก์เพียงเลื่อนมาให้อยู่กลาง A4 ให้สวยงาม
จะอัดกาวเองหรือส่งไสกาวก็แล้วแต่จำนวนและความหนา
วิธีเปลี่ยนฟิล์มความร้อน Canon IR3300
ติดค้างกันมาเนิ่นนาน สำหรับคำถามที่ฝากมา เอาที่ค้างคากันตั้งแต่ก่อนรับงานใหญ่งานนี้ เรื่องการเปลี่ยนฟิล์มชุดความร้อน เครื่องถ่ายเอกสาร Canon IR3300 วันนี้สบโอกาส ลูกค้ามาปรินท์งานกันหนัก เพราะเป็นช่วงส่งงานก่อนสอบ ภาพที่ปรินท์มาจาก IR3300 เริ่มมีอาการเบรอเป็นช่วงๆ โดยเฉพาะตัวหนังสือช่วงท้ายกระดาษก่อนที่จะออกจากเครื่อง อันเป็นสัญญาณเตือนว่าอีกไม่นาน จะต้องขึ้นโค๊ด E007 อย่างแน่นอน เพราะชุดฟิล์มความร้อนที่หมุนแนบกับลูกยาง เริ่มหมุนไม่เป็นธรรมชาติ หากโชคดีฟิล์มไม่เสียหรือพัง ไหลไปด้านใดด้านหนึ่ง แตกกลายเป็นพู่กระจุยกระจาย ก็ยังพอแก้ไขได้ หากถอดมาดูเสียแต่เนิ่นๆ