ทางไหนที่ปล่อยผ่านได้ ก็ปล่อยมันไป ทางไหนเลี่ยงได้ก็เลี่ยง ภาษาฝรั่งเค้าเรียกว่าทาง Bypass แปลว่า ทางเลี่ยง ทางเบี่ยง ทางอ้อม ส่วนภาษาเครื่องถ่ายเอกสาร ก็มี Bypass เหมือนกัน แต่มันคือ ถาด 5 หรือถาดป้อนมือ ถาดที่เอาไว้ถ่ายฯ กระดาษปกนั่นแหละ ถ้ามีถาด 6 – 7 อยู่ด้วยก็เรียกรวมๆ กัน ว่าชุด Paper Deck
ALWAYS PASS ON WHAT WE HAVE LEARNED. สิ่งใดๆ ที่ได้เรียนรู้ จารึกไว้ดู ส่งต่อด้วยใจ ... "สลิล สไมล์"
หน้าเว็บ
ทางเบี่ยงคือ Bypass แต่ถ้ากระดาษติดชุดป้อนมือ โค๊ดคือ 078-102, 078-105, 078-120, 078-213
การตั้งค่า IP Address เครื่องถ่ายเอกสาร Fuji Xerox 5230
ประหนึ่งคนโสด ที่สามารถมีความสุขได้ โดยไม่ต้องเจอเนื้อคู่ แต่ถ้าอยากจะใช้ชีวิตคู่เมื่อไร ก็ต้องเริ่มต้นทักทายทำความรู้จักกันก่อน ถ้าเป็นหนุ่มสาวก็แลกเบอร์โทร หรือ ID Line แต่ถ้าเป็นเครื่องถ่ายฯ กับคอมพ์ฯ อันนี้ต้องใช้ IP Address อย่างเดียวเท่านั้น
วิธีดึงคำสั่ง ID Card Copying มาวางหน้าจอแรก Fuji Xerox 5230
X5230 ขึ้นโค๊ด 116-353 ถอดฮาร์ดดิส X7435 มาใส่แทน เรียนรู้กันไป 116-330, 116-334, 124-315
วันนี้ก็เป็นแค่อนาคตของเมื่อวาน อยู่ดีๆ ชีวิตก็บิดเบี้ยว X5230 เปิดมาก็โชว์โค๊ด 116-353 ตำราระบุชัดว่าฮาร์ดดิสพัง The HDD was not booted due to a physical HDD failure detected on booting.
ลองแก้ปัญหาเบื้องต้นตระกูล 116-XXX คือดึงสาย LAN ออก แล้ว “เคลียร์ 4” คราวนี้ Reboot มาโชว์ 116-330 เคลียร์ฮาร์ดดิสแล้วไม่หาย "เคลียร์ 6" ต่อตามตำรา แค่ย้ายนิ้วมากดเลข 6 แทนเลข 4 แต่ก็วนกลับมาโชว์ 116-353 อีก ดูท่าจะไปไม่รอด ไม่ฮาร์ดดิสพัง ก็ Controller Board แผง ESS ที่ติดกับฮาร์ดดิสนั่นล่ะพัง
โลกยังคงหมุนไป แต่ถ้าอะไหล่ Xerox ไม่หมุน คุณอาจเจอโค๊ด 042-312, 042-313, 042-326, 042-328, 042-398
เลเซอร์เสีย สายแพขาด Xerox อาละวาด โชว์โค๊ด 061-325, 061-329, 061-330, 061-333, 061-334, 061-370
ความเร็วเป็นเรื่องของปิศาจ ถาด 6 ถาด 7 error code 078-100, 078-901, 078-904, 078-150
หนึ่งในแคปชั่นที่เวลาไปเที่ยว แล้วชอบโพสต์กันบ่อยๆ เช่น ชีวิตคือการเดินทาง เวลาแวะเยี่ยวข้างทางก็อ้างว่า แวะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ หรือชวนชื่นชมความงามระหว่างทาง เผลอๆ ชวนไปวิ่งเล่นทุ่งหญ้าลาเวนเดอร์ อะไรทำนองนี้ อ่านแล้วโลกสวย รู้สึกดี แต่กับงานถ่ายเอกสาร เห็นทีจะไปด้วยกันไม่ได้
ถ้าต้นทางคือถาดกระดาษ ปลายทางคือชุดเรียง กระดาษจะแวะรายทาง เที่ยวชมชุดรีจิสต์ แวะทักทายลูกดรัม หรือโอ้เอ้แถวชุดความร้อน อันนี้ไม่สนุกนะ หาเส้นทางที่สั้นที่สุด ถึงปลายทางโดยสวัสดิภาพให้เร็วที่สุด น่าจะดีกว่า ระยะทางยิ่งสั้น การเดินทางก็ยิ่งเร็ว กระดาษแต่ละถาด ระยะทางเดินกระดาษไม่เท่ากัน ความเร็วในการถ่ายเอกสารก็ไม่เท่ากัน
ชุดถาดกระดาษที่ทางเดินสั้นสุดในบรรดาถาดทั้ง 8 ของ Xerox 4110 เห็นจะเป็นถาด 6 ฟีดพุ่งลงตรงไปรีจิสต์ทันที รองลงมาคือถาด 7 ระยะพอกันแต่ฟีดขึ้นเนินเล็กน้อย สองถาดนี้ เค้าว่าเป็น High Capacity Feeder (HCF) แต่ถึงจะศักยภาพสูงเพียงใด บางทีมันก็มีพลาดโชว์โค๊ดกันบ้าง
Xerox5230/5335 หาชุดความร้อนไม่เจอ เผลอโชว์โค๊ด 059-314, 059-315, 059-316, 059-317
อย่างเวลา X5230 หรือตระกูลเดียวกัน X5335 เวลาชุดความร้อนมีปัญหา จะถอดชุดความร้อนออกมาดู แต่ดันขี้เกียจเอื้อมมือไปปิดเครื่อง พอดึงชุดความร้อนออกมา ทั้งที่ยังไม่ได้ปิดเครื่อง เครื่องก็มักจะฟ้องว่าหาชุดความร้อนไม่เจอ หรือไม่ก็ โชว์โค๊ด 059-314, 059-315, 059-316, 059-317 มาให้ตกใจเล่น
LPH มีปัญหา Xerox 7435 ขึ้นโค๊ด 061-371, 061-372, 061-373, 061-374, 061-375, 061-376, 061-377
มาดูเพื่อนเก่า X7435 ของเราดีกว่า 061-371 อาการนี้คือชุด LPH สีแดงมีปัญหา LPH Communication Fault M น่าจะปัญหาด้านการสื่อสาร งั้นมาทำความรู้จักกันก่อน LPH ย่อมาจาก LED Print Head Unit แปลตรงตัวก็ชุดหัวพิมพ์ที่มีหลอดไฟ LED เป็นแถบยาว อยู่ใต้ชุดเฮ้าส์ซิ่ง ขึ้นชื่อว่าหลอดไฟ ขณะใช้งานหรือสั่งปรินท์ หลอดต้องมีแสงออกมา แล้วถ้ามีผงหมึก หรือเปื้อนฝุ่นสกปรกมาบังแสง ประสิทธิภาพในการปรินท์ก็ย่อมลดลง
เล่นแผลงๆ Xerox แผงพัง 041-348, 041-349, 041-362, 041-363, 041-366
อย่างเครื่องสี X7435 นี่ก็ใช้แล้วสบายใจดี แต่ถ้าใครใช้แล้วโชว์โค๊ด 041-348 เค้าว่าแผง MD เริ่มไม่ดีแล้วนะ ให้ลองตรวจเช็คสายต่างๆ ที่เข้าแผง MD ว่ามีหนูกัดสายหรือเปล่า หรือไม่ก็ลองสลับแผงกับเครื่องอื่นดูว่ายังดีไหม หรือถ้าอยากลองซ่อมแผงเอง ตำราเค้าว่า Check and replace F4 on the MD pwb it is possible an overcurrent.
Finisher Xerox โชว์โค๊ด 012-903, 012-905, 012-908, 012-909, 012-939, 012-949
โค๊ดชุดดรัม เลเซอร์ สายแพ 061-315, 061-317, 061-319, 061-320, 061-321
ถ้าลูกดรัม คือศูนย์กลางจักรวาล ชุดเลเซอร์ ก็น่าจะเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ โดยมีสายแพเป็นบริวาร แผงวงจรก็อาจเป็นกลุ่มดาว โดยมีโค๊ด 061-XXX เป็นหลุมดำคอยกลืนกินทุกสรรพสิ่ง ให้มาติดกับดัก ถ้าไม่ลูกดรัม ก็โครงดรัม ถ้าไม่ใช่อีกก็ชุดเลเซอร์กับสายแพ ถ้าแย่หน่อยก็แผง MCU ค่อยไล่ดูจากง่ายไปยากก่อนละกัน
Finisher ใกล้สู่ขิต คลัช สป็องค์ สวิทซ์ โชว์โค๊ด 012-330, 012-332, 012-932
012-330 ลองสลับสวิทซ์ฝาหน้าเครื่อง กับสวิทซ์ฝาหน้าฟินิชเชอร์ หรือลองสลับเฉพาะสวิทซ์ฟินิชเชอร์ซ้ายขวา ฝาเล็กกับฝาใหญ่ดูก่อน ว่าโค๊ดเปลี่ยนไปไหม ถ้ายังไม่ใช่ อาจเป็นได้ว่าชุดสป็องค์ไม่เข้าโฮม เช็คอาร์มสป็องค์หักหรือเปล่า ลูกปืนอาร์มสป็องค์ยังลื่นไหม ถ้ายังไม่หายลองล้างคลัชหลังฟินิชเชอร์ ตรงตำแหน่งฝาเล็กใกล้ๆ กับมอเตอร์