IR600 กระดาษบินไปหาดรัม ... ล่องเรือข้ามห้วงมหาสมุทร ในที่สุดก็เจอแผ่นดิน (ปฐมบท จากอ่าวไทย สู่แปซิฟิค)

ก่อนอื่นขออนุญาตนำเสนอถ้อยวลีประจำใจ “เสี่ยเอก๊อปปี้ สุไหงโกลก” จากห้อง “ศูนย์ถ่ายเอกสาร” ใน Facebook ... ดังประโยคที่ว่า “ช่างเอ ซ่อมเมื่อไร ออกทะเลเมื่อนั้น” ... มาเป็นหัวข้อในการนำเสนอในค่ำคืนนี้ ... เหตุด้วยทางร้านสลิลสไมล์ ประสบปัญหาในการที่กระดาษกระโดดขึ้นไปทักทายลูกดรัมเป็นประจำ .. แรกเริ่มเดิมที ก็ปรากฏริ้วรอยบนขอบกระดาษด้านซ้าย 3 ขีด ... ถ้าถ่ายจำนวนน้อยๆ ก็มองไม่เห็น แต่ถ้าถ่ายเป็นรีม ก็จะมองเห็นขีดทั้งสาม จารึกอยู่ริมสันด้านข้างกระดาษที่ออกมาจากเครื่องถ่ายจางๆ ซึ่งไม่มีผลใดๆ ต่อภาพ จะมีบ้างก็แค่รกหูรกตานิดหน่อย


หนักๆ ไปจาก 3 ขีด กลายมาเป็น 17 ขีด ... พอเข้าใจว่ากระดาษเหินเข้าไปหาลูกดรัม แล้วสันกระดาษด้านข้างไปถูกับเซฟคอร์ใต้ดรัม ซึ่งจะมีเซฟคอร์ตัวใหญ่ 3 ตัว เป็นหลัก ที่เหลืออีก 14 เส้น เกิดจากสันพลาสติกในชุดที่ยึดเซฟคอร์ใต้ดรัมอยู่ ... สังเกตได้ง่ายๆ เพียงลากลูกดรัมออกมา แล้วมุดเข้าไปข้างใต้ลูกดรัม ก็จะมองเห็นเซฟคอร์ ป้องกันกระดาษบินเข้าไปในชุดกากหมึก ( ดูวิธีลากลูกดรัมออกมาได้ที่
http://photocopyslinsmile.blogspot.com/2012/11/canon-ir600.html ) แต่อาการยังไม่ส่งผลใดๆ ต่อภาพบนกระดาษ .. ก็เลยไม่เอะใจ .. ใช้ต่อไปเรื่อยๆ ... และมันก็เข้มขึ้นเรื่อยๆ ... ตราบจนวันหนึ่ง ...

กระดาษเริงร่าเห็นเจ้าของเครื่องไม่เอะใจ ... ใบแรกเริงร่าพลิกเข้าไปสอดตัวทะลุเซฟคอร์ใต้ดรัม ไปยังชุดกากหมึก ... ถอดมาดึงกระดาษออกแล้วชะล่าใจใช้ต่อไป ... นานวันเข้าคราวนี้บินเข้าไปเสียบเซฟคอร์ใต้ดรัมหนึ่งใบ แล้วพลิกกาย ขวางกระดาษใบต่อมา ประกบแน่นิ่ง ส่งเสียติ๊ดๆๆ เป็นสัญญาณ ว่าไม่อยากทำงานแล้ว ... งานจึงเข้าเจ้าของเครื่อง ... จัดการรื้อทฤษฎีกระดาษบินเข้ามาแก้ไขโดยทันที ... โดย Rescue Boat ลำน้อยของเรา เริ่มออกจากท่าเรือในน่านน้ำอ่าวไทย ... จัดการถอดชุดบล็อกบนบล็อกล่างมาล้างทำความสะอาด และเปลี่ยนสายโคโรนาทั้งหมด ...

ท่ามกลางคลื่นลมในอ่าวไทย เราจัดการถอดบล็อกบนบล็อกล่างมาล้าง แล้วเปลี่ยนสายโคโรนาทุกเส้น ... สามารถติดตามดูร่องรอยการเดินทางได้จาก ..
http://photocopyslinsmile.blogspot.com/2013/05/ir600.html ...แต่ก็ยังไม่เป็นผล  ... น้องกระดาษยังคงกระโดดต่อไป ... เราตัดสินใจหันหัวเรือออกยังมหาสมุทรแปซิฟิค ... เล็งเป้าหมายไปที่พัดลมต่างๆ ใน ชุด Unit 1 ... อันได้แก่พัดลมใต้บล็อกล่าง และพัดลมใต้สายพาน ... ซึ่งถ้าพัดลมหอยโข่งเทอร์โบทั้งสอง ซึ่งนอกจากจะทำหน้าที่ของพัดลมคือหมุนพัดอากาศร้อนหรือฝุ่นละอองลงไปแล้ว ยังดึงกระดาษลงให้แนบบล็อกและสายพานอีกด้วย

พัดลมเทอร์โบรูปหอยโข่งทั้งสองตัว คือปัญหาที่ทำให้คลื่นลมในเครื่อง ไม่ดูดกระดาษ และทำให้กระดาษบินไปชนเซฟคอร์ใต้ดรัมจริงหรือไม่ ... ขณะนี้ เราได้หันหัวเรือสู่มหาสมุทรแปซิฟิคแล้ว ... เรื่องราวคืบก็ทะเลศอกก็ทะเลจะเป็นอย่างไร ... ขอได้โปรดติดตามตอนต่อไป ... “IR600 กระดาษบินไปหาดรัม ... ล่องเรือข้ามห้วงมหาสมุทร ในที่สุดก็เจอแผ่นดิน (ภาค 2 จากแปซิฟิคสู่แอตแลนติค)"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น