ตลับหมึกที่มีชิพ เปรียบดังถังน้ำที่มีปลาว่ายอยู่ เครื่องถ่ายฯ จะทำงานได้ตามปกติ ต้องมีทั้งน้ำ ทั้งปลา ถ้ามีแต่น้ำแต่ไม่มีปลา คือมีหมึกแต่ไม่มีชิพ เครื่องก็จะไม่ยอมทำงาน แถมปลาฉลาดบางรุ่น ยังเลือกว่ายในน้ำสะอาดเท่านั้น ไม่ตรงรุ่นก็อู้งานเลย พอใช้งานไปเรื่อยๆ น้ำก็จะค่อยๆ ลดลง ปลายังคอยฟ้อง คอยเตือนให้เปลี่ยนถังน้ำใหม่อีก พอน้ำแห้งหมึกหมด ปลาก็พร้อมจะพลีชีพ จะเติมน้ำเพิ่มยังไงปลาก็ไม่ฟื้นมาว่าย เรียกว่าชิพตาย ต้องเปลี่ยนถังพร้อมปลาตัวใหม่ เพราะทั้งตลับหมึกและชิพถูกออกแบบมาให้ใช้งานเพียงครั้งเดียว และต้องใช้ของ Fuji Xerox เท่านั้น เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพอันสูงสุด และป้องกันไม่ให้เครื่องถ่ายฯ เสียหาย หากมีการนำหมึกด้อยคุณภาพมาใช้
น้ำต้องมีปลา เครื่อง X7435 ต้องมีชิพ มาทำความรู้จักกับชิพกันหน่อย ในร้าน Alibaba เว็บขายส่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก เขียนชื่อสินค้าชิพหมึก Xerox ไว้ว่า RFID toner cartridge chip Xerox คือชิพหมึก Xerox ที่ทำงานโดยระบบ RFID หรือ Radio Frequency Identification เป็นระบบการระบุข้อมูลต่างๆ โดยใช้คลื่นความถี่วิทยุ ชิพหมึกจัดเป็น RFID ชนิด Passive ทำงานได้โดยไม่ง้อแหล่งจ่ายไฟภายนอก ภายในมี ตัว Microchip และขดลวดขนาดเล็กทำหน้าที่เป็นเสาอากาศ รับส่งสัญญาณคลื่นวิทยุระหว่างชิพ กับเครื่องอ่าน Reader ภาษา RFID เรียกชิพว่าป้ายอิเล็กทรอนิกส์ RFID Tag ปัจจุบันมีระบบนี้อยู่ทั่วไป เช่น ป้าย Tag ที่ติดสินค้ากันขโมยในห้างสรรพสินค้า หรือตั๋วรถไฟฟ้าเหรียญกลมๆ
พาชิพไปวิบวับกันแล้ว กลับไปเช็คความฟิตปั๋งกันหน่อย ถ้าชิพเดิมมีเปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ 1 – 25% ชิพตัวนั้นจะวิบวับเป็น 25% ถ้ามากกว่านั้นก็จะเป็น 50% 75% และ 100% ไปตามลำดับ เลิกกังวลเรื่องชิพพลีชีพไปได้ เครื่องจะทำงานไปเรื่อยๆ จนปริมาณหมึกในหลอดหมดจริงๆ จะขึ้นเครื่องหมายตกใจและร้องเตือนว่าหมึกเหลือน้อย ทั้งที่หน้าจอยังโชว์ 25% ท้ายที่สุดถ้าหมึกในหลอดไม่ไหลลงเฮ้าส์ซิ่งแล้ว ระบบจะโชว์โค๊ดพร้อมภาพประกอบ 024-923 คือสีเหลืองหมด 024-924 สีแดงหมด 024-925 สีฟ้าหมด 093-912 สีดำหมด และแม้จะโชว์โค๊ดขณะปรินท์งานค้างอยู่ก็ไม่ต้องตกใจ นำหมึกหลอดใหม่ ใส่ชิพวิบวับตัวเดิมเข้าไป เครื่องจะปั่นหมึกใหม่สักครู่ แล้วจัดการปรินท์ส่วนที่เหลือต่อไปได้ งานไม่มีสะดุด วิบวับๆ กันได้ตลอดไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น