โค๊ดมันเยอะ ฟินิเชอร์ ฟูจิ ซีร็อกซ์ 012-241, 012-246, 012-253, 012-264, 012-227, 012-255, 012-171, 012-211, 012-212


คุกที่มีประสิทธิภาพในการคุมขังนักโทษสูงสุด คือคุกที่ชาวคุกไม่รู้ตัวว่าตนถูกคุมขังอยู่ อิสรภาพนอกคุกเป็นยังไงก็ยังไม่เคยรู้จัก จัดว่าเก่งแต่อยู่แค่ในกะลา พบได้บ่อยเวลามีคนมาว่าเครื่องถ่ายฯ ยี่ห้อที่ใช้อยู่มันแย่ วิญญาณประธานบริษัทก็จะเข้าสิง เจอเรื่องจริงเถียงไม่ออก ก็บอกเค้าเอาเครื่องไม่อยู่เอง



โชคดีร้านนี้ไม่ใช่ช่าง ไม่มานั่งประชันโค๊ดรายวันให้เสียเวลา แต่ถ้าหนูเข้าเครื่องมา ยี่ห้อไหนก็พัง 012-241 อาการนี้ชี้ไปที่แผงพาวเวอร์ฟินิชเชอร์ก่อน ถ้าไม่ใช่ค่อยย้อนมาดูแผงพาวเวอร์บุ๊คเล็ต บางทีชุด Booklet ไม่เข้า Home ก็โชว์โค๊ดนี้ ถ้าโชคไม่ดี สวิทซ์ฝาหน้าฟินิชเชอร์เสีย ก็ขึ้นโค๊ดนี้เหมือนกัน

โค๊ด Xerox มิใช่ ดวงดาวเมื่อพราวแสง 077-900, 077-901, 077-904, 077-929, 077-909, 010-910, 093-924, 024-965

ทุกครั้งที่ถูกคุกคาม กดดัน หรือถูกยั่วยุท้าทายอัตตา สมองส่วนอะมิกดาลาจะทำงาน บีบให้ความฉลาดทางอารมณ์ลดลง อะดีนาลีนที่พลุ้งพล่านจะบดบังสมองส่วนคิดวิเคราะห์แยกแยะ ส่งผลให้เกิดการตอบสนองสิ่งเร้าในด้านลบ การขึ้นโค๊ดโชว์การวินิจฉัยตัวเองของเครื่องถ่ายเอกสารก็เช่นกัน เอะอะก็จะขึ้นโชว์ว่าตนเองผิดพลาดอะไร มีข้อเสียตรงไหน แต่การสื่อสารให้เข้าใจ ทำได้แค่เพียงโชว์โค๊ด ที่เหลือก็ให้ไปค้นหากันเอาเอง


อย่าง Xerox 4110 ผ้าเว็บหมด ก็บอกกันดีๆ ก็ได้ ไม่ต้องโชว์ 010-910 วิธีเคลียร์ก็ออกแบบให้ยุ่งยากเข้าไว้ กด 9 ค้าง Stop แล้ว Yes ถ้าไม่ได้ก็ NVM : 744-167=0 หรือไม่ก็เวลาหมึกหมด ทำไมไม่บอกหมึกหมด แต่ดันโชว์ 093-924 กว่าจะหาหมึกมาเติม หาชิพหมึกมาเปลี่ยน ต้องค้นหาก่อนว่ามันคืออะไร ถ่ายๆ อยู่ กระดาษหมดก็โชว์นะ 024-965 ทำไมไม่บอกแค่ให้เติมกระดาษ หรือเค้าอยากให้ขาดช่างไม่ได้ ต้องทักทายถามโค๊ดกันบ่อยๆ

ขอบคุณช่างเจ๋ง ช่วยซ่อม E532 ส่วนเจ้าของวางยาเอง E537

แก็งค์กระดาษเปื้อนหมึกเรา ก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาจากตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อย แม้ทุกวันนี้จะไม่ค่อยได้สังสรรค์กันบ่อยๆ เหมือนแต่ก่อน แต่เราไม่เคยตัดรอนมิตรภาพ พี่น้อง ผองเพื่อน หาเช้าเมาค่ำ ทำมาหากินกันไป ส่วนใหญ่เป็นคนคุยกันได้รู้เรื่อง ยกเว้นก็แต่เครื่องถ่ายเอกสาร ที่บางทีก็สื่อสารกันลำบาก


ล่าสุด Canon iR7095 อยู่ดีๆ ก็กรีดร้อง E000532-8002 พลิกดูตำราที่จดไว้ E532 มอเตอร์เลื่อนเครื่องเย็บแม็ก M10 เสีย หรือไม่ก็เซ็นเซอร์ P17 เช็คตำแหน่ง Home ของการเลื่อนเครื่องเย็บแม็ก มีปัญหา จะให้ลึกยาวไปกว่านั้นก็ สวิทซ์ปลอดภัยไกด์เหวี่ยง MSW2 สวิทซ์เครื่องเย็บหน้า MSW8 หรือหลัง MSW9 เสีย 

Canon iR7095 ขึ้นโค๊ด E121 ไม่ใช่เรื่องขี้ผง แต่เป็นเรื่องขี้หนู

เรื่องไม่คาดฝัน เกิดขึ้นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บ่อยครั้งที่เราได้เรียนรู้จากมัน แต่บางครั้งการทำนายหรืออธิบายเรื่องไม่คาดฝันเหล่านั้น ก็ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลมารองรับทุกเรื่อง บางเรื่องเอาแค่สมเหตุสมผลก็พอ อย่างเครื่องรุ่นพ่อ Canon iR7095 ใช้งานอยู่ดีๆ โชว์โค๊ด E000121-0001 พัดลมปรับอุณหภูมิชุดเลเซอร์ FM5 ไม่หมุน 

เปิดดูลิ้งค์ E121 จากในบล็อกที่เขียนไว้เองนี่แหละ สาเหตุอาจโยงไปถึง Connector J503 ที่ต่อเข้าแผง DC หรือแผง DC Controller อาจเสียก็ได้ ยิ่งอ่านยิ่งสาหัสไปกันใหญ่ จำไม่ได้หรอก FM5 ตัวไหน เปิดโพยดูใน ภาพประกอบพัดลม อยู่แถวหน้าเครื่องนี่เอง เรื่องรื้อถนัดนัก รีบรื้อมาดูก่อนเลย 

ตรวจสอบ Component เครื่องถ่ายเอกสาร Fuji Xerox ด้วยการใช้ IO Check

เราคุ้นเคยกับการทำข้อสอบแบบ Multiple Choice กันมานาน ภาษาทางการเรียกข้อสอบปรนัย หรือถ้าจะให้เข้าใจก็ ข้อสอบ ก. ข. ค. ง. บางทีก็มาถึงข้อ จ. ถ้าคิดไม่ออก มักจะตอบถูกทุกข้อ หรือไม่ก็นั่งรอเพื่อนส่งโพยมาให้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว การสุ่มเลือกคำตอบที่ถูกข้อเดียว โอกาสถูกจะน้อยกว่า แต่การตัดข้อที่ไม่ใช่ออกทีละข้อ ตัวเลือกก็จะลดลง โอกาสถูกก็จะเพิ่มขึ้น การวินิจฉัยอาการ เครื่องถ่ายเอกสารก็เช่นกัน


กว่ากระดาษจะมีภาพ ออกมาจากเครื่องได้แต่ละแผ่น ล้วนต้องผ่านส่วนประกอบ หรือ Component ของเครื่องถ่ายฯ ที่มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น มอเตอร์ คลัทช์ พัดลม โซลินอยด์ ฯลฯ ซึ่งต่างตัวก็ต่างหน้าที่ แต่ต้องทำงานประสานกันอย่างลงตัว ถ้ามีตัวหนึ่งตัวใดอู้งาน หรือตายในหน้าที่ ส่วนงานนั้นก็อาจสะดุด หรืออาจทำให้ล่มทั้งระบบ หากจะให้ไล่ถอดมาตรวจเช็คทุกตัว ก็ไม่ต่างจากเดาข้อสอบปรนัย ก.ไก่ ยาวไปถึง ฮ.นกฮูก

ไม่ทางเข้า ก็ทางออก Finisher Xerox หลอกโชว์โค๊ด 012-112, 012-113, 012-142, 012-151, 012-152, 012-159

“ม้าดี” มักถูกใช้วิ่งจนตาย และม้าดีที่ตาย ย่อมไม่ใช่ม้าดีอีกต่อไป หากแต่เป็นได้แค่ “ม้าตาย” … แต่ถ้าตอนนี้ ม้ายังไม่ตาย อย่าให้ม้าอู้งาน ถ้าม้าโชว์โค๊ด 012-112 ให้รีบตรวจสอบก้านทางเข้าฟินิชเชอร์ ว่ามันค้างอยู่หรือไม่ รวมทั้งล้างเป่าเซ็นเซอร์ทางเข้าให้เรียบร้อย ถ้ากระดาษพุ่งเลยไปถึงแกน มักขึ้นโค๊ด 012-113 ให้ทำความสะอาดแกนยางทางเข้าฟินิชเชอร์ เช็คเซ็นเซอร์รอบข้าง ล้างทำความสะอาด


ถ้ากระดาษเลยไปติด แถวตำแหน่ง 3G งานนี้มีโชว์ 012-142 เช็คลูกยางทางออกฟินิชเชอร์ ล้างโซลินอยด์เกท อยู่ตรงทางออก หรือปรับตำแหน่งโซลินอยด์ ให้ถูกตำแหน่ง ถ้ามั่นใจว่าทุกอย่างปกติดีแล้ว ลองเคลียร์ NVM : 763-386 = 1 

เค้าให้ยื่นดันหด ฟินิชเชอร์ รันทด โชว์โค๊ด 024-747, 024-982, 024-983, 024-367

024-747 เกิดจากฟินิชเชอร์ ชุดแม็กไม่เข้าโฮม หรือไม่ก็แผ่นเพลทสีดำตรงทางออกฟินิชเชอร์ เกิดอาการฝืด ไม่ยื่น ไม่หด ไม่ลื่นเข้าออก อาจเกิดจากสายพานตัวสไลด์แผ่นเพลท ขยับไม่ตรงตำแหน่ง ให้ลองดันชุดแม็กเข้าไปให้สุด แล้วฉีดเป่าหล่อลื่นเฟือง สายพาน หรือถอดชุดคอมพลายเออร์มาเช็ค อีกกรณีหนึ่งคือขนาดกระดาษ หรือชนิดกระดาษที่ใช้ในถาดไม่ตรงกับค่าที่ตั้งไว้ ให้ลองเข้าโหมดช่าง แก้ Initial NVM / Finisher Output / Closed หรือไม่ก็ลองเช็คสวิทซ์ฝาหน้าฟินิชเชอร์ตัวซ้าย ถ้าสวิทซ์เสียฟินิชเชอร์ชอบรวนไปเรื่อย


024-982 ฟินิชเชอร์ถาดล่างมีปัญหา ตำราเค้าว่า Stacker Lower Safety Warning. The Stacker Tray Lower Safety Switch is On. ให้ลองไล่สายเซ็นเซอร์ฟินิชเชอร์ เน้นไปที่ถาดล่าง ถ้าดูแล้วไม่มีอะไรผิดปกติ ให้ถอดฝาหลังฟินิชเชอร์ เช็คไมโครสวิทซ์ แผงด้านหลังฟินิชเชอร์ หรือ ลองไล่สายไฟที่จะไปถาดล่างดู น้องหนูอาจกัดสายหรือฉี่เป็นลายแทง รดแผงเอาไว้

Fault Code 116-312, 116-317, 116-321, 116-323, 116-324, 116-325 ฮาร์ดดิสก์ผิดพลาด ทำความสะอาด RAM ให้ดี เคลียร์ 4 ด้วยนะ

Code ที่ขึ้นต้นด้วย 116-XXX ส่วนมากมักเกิดจากความผิดพลาดในการถอดรหัสข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ อย่างเช่น 116-312 ว่ากันว่า Hard Disk Drive (HDD) Encryption Key Error Was Detected During Power On กุญแจเข้ารหัสข้อมูลผิดพลาด วิธีแก้เบื้องต้น ให้ลอง เคลียร์ฮาร์ดดิสก์ หรือเคลียร์ 4 กดลิงค์เข้าไปอ่านกันได้ เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ก่อนเคลียร์ อย่าลืมถอดสาย LAN ก่อนนะ


116-XXX ยังเป็นไปได้ว่า อุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายในแผงเมนบอร์ด อาจมีปัญหา อย่างเช่น 116-317 The error code is in reference to the optional memory card. เจอโค๊ดนี้ให้ถอดแผงออกมาตรวจสอบ แผงที่เราเสียบสาย LAN นั่นแหละ เล็งไปที่แถบ RAM ออกมาขัดทำความสะอาดก่อนเลย ลูกทุ่งหน่อยก็เอายางลบดินสอขัดๆ ถูๆ หรือใครมีน้ำยาอะไรที่ทำให้สะอาดทั้ง Slot เหมือนออกมาจากโรงงานใหม่ๆ ได้ ก็ลองเอามาใช้กัน

Xerox ติดโค๊ด 124-312, 124-313, 124-315, 124-373, 124-374 เครื่องไม่วิ่ง ลองเคลียร์บิลลิ่ง ดูนะ

124-312 : Serial Number Error คล้ายกันกับ 124-313 / Serial Number Mismatch และ 124-315 : System Fail. Stored Data Mismatch. อาการระบบล่ม Serial Number ไม่ตรงกัน อันดับแรก ให้ลองปิดเครื่องทิ้งไว้สักพักแล้วเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ ถ้าหาย แสดงว่าแบตเตอรี่แผง ESS เสื่อม ให้ลองหามาเปลี่ยนใหม่ ถ้ายังหาแบตฯ ไม่ได้ หรือเปลี่ยนแล้วยังไม่ดี ลองเช็คแผง MCU ให้ลองเคลียร์ 4 หรือไม่ก็ลองเคลียร์บิลลิ่งดูก่อนนะ


วิธีเคลียร์บิลลิ่ง เข้าโหมดช่าง 0+start 6789 ให้เรียบร้อยก่อน พอเข้าได้แล้วกดปุ่ม Login/Out หรือปุ่มรูปกุญแจ กดเข้าไปหาเมนู Adjustment/others ให้ได้ บางรุ่นอาจอ้อมหน่อย จาก Login/Out เข้าไป System Setting / Common Setting แล้วเข้า Maintenance/Diagnostics จึงจะเจอเมนู Adjustment/others หรือบางรุ่นเข้าไปที่ Tool ตามด้วย Maintenance/Diagnostics ก็จะเจอ  Adjustment/others ถ้าเจอแล้วให้กดเข้าไปที่ Machine ID / Billing Data 

ชุดถาด Xerox จอมขี้เกียจ จน เครียด โชว์โค๊ด 024-910, 024-911, 024-912, 024-916

เหนื่อยหนักๆ แค่นอนพักสักครู่ยาม ก็หายเหนื่อย แต่จนหนักๆ ต่อให้นอนพักนานแค่ไหน ก็ไม่หายจน เปรียบดังเครื่องถ่ายฯ ที่ไม่สามารถวิ่งงานได้ ก็ไม่อาจทำให้เจ้าของเลิกจนได้สักที อย่างโค๊ดนี้ 024-910 ถาด 1 อ้างว่าขนาดกระดาษไม่สัมพันธ์กับค่าที่ตั้งไว้ Paper Size Mismatch / Load Paper in Tray 1 ต้องสะกิดต่อมขยันโดย ถอดชุดถาดออกมาเช็คตั้งแต่ลูกยางยันเฟืองสามเหลี่ยมมอเตอร์ถาดกระดาษ หรือไม่ก็ลองล้างเซ็นเซอร์ถาดกระดาษ ล้างแผงโวลุ่มเช็คไซส์ แผงสีน้ำตาล แต่ถ้าอู้งานไปซะครบทุกถาด ให้ลองเช็คหรือเปลี่ยนคลัชรีจิสต์ หรือเซ็นเซอร์รีจิสต์ 


024-911 อาการอู้งาน ไม่ต่างอะไรกับโค๊ดก่อนหน้า แค่ว่าเปลี่ยนจากถาด 1 เป็นถาด 2 อาการฟ้องเดียวกันว่าขนาดของกระดาษในถาด ไม่ตรงกับที่ตกลงกันไว้ ซึ่งสาเหตุก็ประมาณกัน ให้ถอดชุดถาดมาเช็คดู ตั้งแต่ลูกยาง เฟืองขับ มอเตอร์ เซ็นเซอร์ แผงโวลุ่ม คลัชรีจิสต์ หรือถ้าขยันหน่อยก็ลองใช้ Input-Output Check ดูนะ The Regi Sensor (Input Check [071-105]) The Regi Clutch (Output Check [071-001]) The MSI Feed Clutch (Output Check [072-014]) ถ้ายังไม่หายไปหาแผง ESS/MCU มาลองสลับดู