ALWAYS PASS ON WHAT WE HAVE LEARNED. สิ่งใดๆ ที่ได้เรียนรู้ จารึกไว้ดู ส่งต่อด้วยใจ ... "สลิล สไมล์"
Canon Error Code E070, E071, E072, E073, E074, E075, E076, E077, E078, E079
จาก E069 แล้วทำไมข้ามไป E100 ... ตำราภาษาไทยไม่มีบอก อาจเป็นเพราะ E070 – E079 มีเนื้อหาเกี่ยวกับเบลท์ หรือ Transfer Belt สำหรับเครื่องที่ไม่ได้ใช้บล็อค Transfer ในการสร้างภาพ ประมาณว่าเครื่องรุ่นใหม่ๆ จำพวก Advance หรือเครื่องสี ที่ใช้ Transfer Belt ดังนั้นตำราเก่าๆ ที่เป็นภาษาไทย คงยังไม่มีใครได้ทันได้แปล ไอ้ครั้นกระผมจะแปลให้ก็ยังไม่มีประสบการณ์มากนักกับ Belt เอาไว้รอมีเงินถอย 8105 มาเมื่อไร คงได้สัมผัสจริงกับเค้าบ้าง
Canon Error Code E101, E102
นอกจาก E100 แล้ว E101 และ E102 ก็เกิดมาจากสาเหตุใกล้เคียงกัน คือเกิดจากชุดเลเซอร์
โดยตำราภาษาอังกฤษแยกแยะให้ว่า E101 เกิดจาก AF Motor
ของชุดเลเซอร์ มีความบกพร่อง ส่วน E102 เกิดจาก
ความเข้มของแสงเลเซอร์ไม่ถูกตรวจพบในค่าที่กำหนดไว้
ภาษาช่างเรียกข้อมูลกำลังเซ็นเซอร์ไม่สามารถถูกเขียนไปยังวงจรขับเลเซอร์ 1 (Laser
driver PCB1) เมื่อเริ่มกดปุ่มถ่ายเอกสาร
อาการดังกล่าวอาจเกิดจากแผงวงจรประมวลภาพ (Image processor PCB) บกพร่อง หรือแผงวงจรขับตัวเลเซอร์ 1 (Laser driver PCB)1บกพร่อง ... ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุง่ายๆ แค่สายไฟขาดหรือเชื่อมต่อไม่ครบก็เป็นได้
ทั้งนี้อย่าละเลยตรวจสอบแผงรีเลย์ (Relay PCB) ว่า
ค่าโวลต์ของขั้วปลายสายไฟบน relay PCB ได้ค่า J1714-1
= 5V และ J1714-3 = 8V และ J1714-5 = -
8V หรือไม่ ถ้าไม่ได้ค่าดังกล่าว ตรวจดูการเชื่อมต่อจากแผง DC
Power supply PCB ไปยังแผง Relay PCB ถ้าปกติแสดงว่า
Relay PCB มีปัญหา
Canon Error Code E100
E100
คือโค๊ด Error ยอดนิยม ชอบโผล่ขึ้นมาบ่อยๆ
สาเหตุเกิดจากสัญญาณ BD ไม่มาถึงภายใน 1 วินาที
หลังจากสัญญาณขับเคลื่อนเลเซอร์ รวมทั้ง สัญญาณ BD มาไม่ถึงภายใน
1 วินาที หรือมากกว่า ขณะเลเซอร์เป็น on ซึ่งสาเหตุดังกล่าว
ทำให้ต้องตรวจเช็คในหลายๆ จุดด้วยกัน ... โดยมากช่างจะเล็งไปที่แผง E100 ที่อยู่ใต้ชุด Laser ของเครื่องก่อน
ซึ่งแผงนี้ค่อนข้างหายากและราคาแพง ...
อาการ E100 อาจเกิดได้จาก BD PCB เสีย
หรือแผงวงจรประมวลภาพ (Image processor PCB) เสีย หรือ แผง DC
controller PCB เสีย หรือ หน่วยเลเซอร์เสีย หรือแผงวงจรขับเลเซอร์ (Laser
driver PCB1 หรือ Laser driver PCB2) เสีย
ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับชุดเลเซอร์ที่อยู่ใต้กระจกสแกนของเครื่องถ่าย ... ทั้งนี้
สาเหตุอีกอย่างคือการเดินสายไฟเสีย วงจรช็อคหรือขาด ดังนั้น E100 อาจเกิดจากสาเหตุง่ายๆ ได้แค่ door switch ฝาเครื่องหลวม
หรือผิดตำแหน่ง ทำให้การส่งค่า BD ผิดพลาด ก็ทำให้เครื่องโชว์โค๊ด
E100 ได้เช่นกัน
เข้าเล่มสันห่วงเกลียวใส ปกการ์ดขาว 180 แกรม ปรินท์สีปกหน้า-ปกหลัง + พลาสติกใส
Most popular choice, Spiral Coil Bound books.
Spiral Coil Bound books are great for any book that you want to lay completely flat. All pages are punched along one edge, then a sturdy plastic spiral coil is inserted into the holes. The coil ends are crimped to keep the binding secure.
Full-color front and back covers printed on bond paper 180 gsm. Coil binding 6 mm. + Clear plastic covers. 40฿ per 1 book. The inside pages are printed on bright white printing paper 70 gsm. 0.50 ฿ per page.
Canon Error Code E069
E069
หลักๆ เกิดจากสายโคโรนา ลีคลงกราวด์ ภาษาช่างอธิบายว่า HV-DC
PCB มีปัญหา หรือชุดชาร์จไฟ Transfer เสีย
หรือการเดินสายไฟผิดพลาด วงจรช็อตหรือขาด ภาษาต่างด้าวเค้าว่า High voltage
leakage form or an open circuit in the transfer corona assembly is detected. แปลได้ประมาณ ไฮโวลท์ที่จ่ายไปยังชุดชาร์จไฟ Transfer รั่วลงกราวน์ หรือลัดวงจร การแก้ไขอันดับแรกให้ทำความสะอาดสายโคโรนา
ถ้าจะให้ดีเปลี่ยนสายโคโรนาเสียก่อน
Canon Error Code E068
E068
เกิดจาก HV-DC PCB มีปัญหา หรือ HV-AC
PCB มีปัญหา ชุดชาร์จไฟ separation เสีย
หรือการเดินสายไฟผิดพลาด วงจรช็อตหรือขาด หรือภาษาช่างเค้าว่า High voltage
leakage form or an open circuit in the separation corona assembly is detected. ภาษาบ้านๆ แปลได้ประมาณ ไฮโวลท์ลัดวงจร ไฟรั่วลงกราว บล็อกลีค หรือแล้วแต่จะเรียกกัน
อันดับแรกจัดการทำความสะอาดบล็อคล่างให้สะอาดที่สุดก่อน
Canon Error Code E067
E067
เกิดจากแผงวงจร HV-DC ไฟลัดวงจร อันมีสาเหตุจาก
HV-DC PCB เสีย หรือ HV-AC PCB เสีย
รวมทั้งการเดินสายไฟผิดพลาด โดยที่เครื่องถ่ายฯ ตรวจจับความผิดพลาดสองครั้ง
หรือมากกว่าในเวลาเดียวกัน ซึ่งเกี่ยวกับไฮไลต์ของไพรมารี่ ปรีทรานสเฟอร์
ทรานสเฟอร์และเซพพาเรชั่น (Two or more faults in the primary/
(post)-transfer/ transfer/ separation high voltage are detected including power
output stoppage, electric leakage from the primary corona assembly)
Canon Error Code E066
E066
เกิดจากมอเตอร์ตัวทำความสะอาดสายชาร์จไฟ Pre-transfer (M7) เสีย หรือสวิทซ์ตรวจจับตำแหน่ง home ตัวทำความสะอาดสายชาร์จ
Pre-transfer (MSW3) เสีย เพราะพบว่าตำแหน่ง home ไม่ถูกตรวจพบภายในเวลา 60 วินาที
หลังจากมีการเริ่มต้นทำความสะอาดสายชาร์จไฟ
Canon Error Code E065
E065 ตำราว่าอาจเกิดจากสาย Primary Corona เสีย หรือแผง
HV-DC PCB เสีย หรือการเดินสายไฟต่างๆ เสีย วงจรช็อตหรือขาด
เนื่องจากค่าไฟที่จ่ายไปยัง Primary
Corona เสีย หรือรั่ว Primary Corona บางทีก็เรียกสายโคโรนาที่บล็อกล่าง ซึ่งสาเหตุของไฟรั่วอาจเกิดได้จาก
สายโคโรนาสกปรก เนื่องจากขุยกระดาษหรือผงหมึก หรือฯลฯ ภาษาช่างเรียก High
voltage leakage from the primary corona assembly is detected.
แปลแบบง่ายๆ ไฮโวลท์ลีคลงสายโคโรนา
ภาพประกอบตำแหน่งต่างๆ ของ Switchs, PCBs, Solenoids และ Motor, Clutches, Solenoids, PCBs ของ Paper Deck เพื่อความเข้าใจในการอ่าน Error Code Canon
ไหนๆ ก็ไหนๆ ยังไงก็จัดเต็ม แม้จะยัง Post บรรดา Error Code ไม่ครบ แต่ลงเผื่อไว้ก่อนก็แล้วกัน
ต่อด้วยสิ่งสำคัญพบได้ใน Error Code ต่างๆ มากมาย ก็จำพวกสวิทซ์ทั้งหลาย ... ยกตัวอย่างง่ายๆ E060 อาจเกิดได้จากสวิทซ์ตรวจจับตำแหน่ง home ของตัวทำความสะอาดสายโคโรนา (MSW4) เราก็มองหา MSW4 ซึ่งก็จะพบได้บริเวณบล็อคล่าง ตามภาพ ... นอกจากนั้นแล้ว อาจเกิดจากมอเตอร์ตัวทำความสะอาดสายโคโรนา (M8) ในภาพนี้ไม่มี ต้องข้ามไปดูภาพประกอบ Motor ที่อยู่บทความก่อนหน้านี้ ก็จะเข้าใจว่ามันอยู่ตำแหน่งไหนของเครื่อง ...
ต่อด้วยสิ่งสำคัญพบได้ใน Error Code ต่างๆ มากมาย ก็จำพวกสวิทซ์ทั้งหลาย ... ยกตัวอย่างง่ายๆ E060 อาจเกิดได้จากสวิทซ์ตรวจจับตำแหน่ง home ของตัวทำความสะอาดสายโคโรนา (MSW4) เราก็มองหา MSW4 ซึ่งก็จะพบได้บริเวณบล็อคล่าง ตามภาพ ... นอกจากนั้นแล้ว อาจเกิดจากมอเตอร์ตัวทำความสะอาดสายโคโรนา (M8) ในภาพนี้ไม่มี ต้องข้ามไปดูภาพประกอบ Motor ที่อยู่บทความก่อนหน้านี้ ก็จะเข้าใจว่ามันอยู่ตำแหน่งไหนของเครื่อง ...
ภาพประกอบตำแหน่งต่างๆ ของ Sensors, Motors เพื่อความเข้าใจในการอ่าน Error Code Canon
ทักกันมาเหลือเกิน ว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจ Canon Error Code เพราะเป็นภาษาช่าง
(ช่างมันเถอะ) อ่านแล้วไม่เข้าใจ ไม่เป็นไร ... ดูจากภาพเอาก็แล้วกัน … โดยเฉพาะตัวภาษาอังกฤษที่วงเล็บไว้ทั้งหลาย ... หวังว่าอย่างน้อย
ก็คงพอจะทราบว่ามันอยู่ตำแหน่งใดของเครื่อง ...
ไม่ว่าจะเป็น เซ็นเซอร์ Sensors, คลัช Clutches, มิเตอร์ Counters, พัดลม Fans, มอเตอร์ Motors, แผง PCBs, โซลินอยด์
Solenoids, สวิทซ์ Switches แถมให้หน่อย
สำหรับคนที่มี Paper Deck เหมือนผม อัดไปเต็มๆ Clutches,
Motors, PCBs, Solenoids
Canon Error Code E063
E063 ยังคงป้วนเปี้ยนอยู่แถวๆ บล็อกล่าง ปัญหาเกิดจากมอเตอร์ตัวทำความสะอาดสายชาร์จไฟทรานสเฟอร์
หรือเซพพาเรชั่น (M9) เสีย หรือไม่ก็สวิทซ์ตรวจจับตำแหน่ง home
ตัวทำความสะอาดสายชาร์จไฟทรานสเฟอร์หรือเซพพาเรชั่น (MSW6) เสีย เพราะเครื่องหาตำแหน่ง home ไม่พบ ภายใน 60
วินาที หลังจากการทำความสะอาดสายโคโรนาเกิดขึ้น
Canon Error Code E060
E060 เกิดจากมอเตอร์ตัวทำความสะอาดสายชาร์จไฟไพรมารี (M8) เสีย เรียกง่ายๆ ว่า สายโคโรนา ในชุดบล็อกล่าง ตัวทำความสะอาดที่จะเลื่อนไปมา
ไม่กลับเข้าตำแหน่ง home ภายใน 60 วินาที
หลังจากการทำความสะอาดสายโคโรนาเกิดขึ้น ซึ่ง E060 นอกจากมอเตอร์ตัวทำความสะอาดแล้ว
อาจเกิดจากสวิทซ์ตรวจจับตำแหน่ง home ตัวทำความสะอาดสายโคโรนา
(MSW4) เสีย (ของผมถอดออกหมดแล้ว ทำความสะอาดเอง)
Canon Error Code E051
E051
ภาษาทางบ้านเรียกมอเตอร์รีจิสต์ของชุดดูเพล็กซ์ มีปัญหา ภาษาช่าง
บอกว่าสัญญาณตำแหน่ง Home ไม่ถูกตรวจพบภายใน 5 วินาที
ขณะที่สัญญาณขับเคลื่อนมอเตอร์รีจิสเตอเรชั่น (M15) แนวราบ (Horizontal
registration motor) ถูกปล่อยออกมาแล้ว ... เมื่อเกิด E051 สิ่งที่ควรตรวจสอบคือ เซนเซอร์ Horizontal registration home
position sensor (PS18) ว่าปกติดีหรือไม่ ถ้าเสียก็เปลี่ยนเซนเซอร์
Canon Error Code E043
E043
เป็นไปได้ 3 ทาง คือมอเตอร์หลักชั้นกระดาษ (M101) เสีย หรือ Slide deck driver PCB เสีย และเจ้าเก่า แผง
DC controller PCB เสีย เนื่องจากเครื่องฯ
ตรวจจับว่าไม่มีสัญญาณ PLL Lock (DMPKL) มาถึง นาน 2 วินาที
หรือมากกว่าหลังจากมี Input ของสัญญาณ PLL Lock
(DMPKL) แล้ว ...
อันดับแรกเช็คมอเตอร์หลักของชั้นกระดาษด้านข้างก่อน เริ่มจากการเดินสายไฟจากแผง DC
controller PCB ถ้าสายปกติ ต่อจากนั้นตรวจสอบมอเตอร์หลักชั้นกระดาษ
Canon Error Code E032
E032 เกิดจากตัวควบคุมข้อมูลสำเนาหรือ NE controller หรือ Copy
Data Controller – A1 หรือ Remoto Diagnostic Device II เสีย ... อ่านแล้วยาก
แต่ตำราบอก ไม่ต้องคิดอะไรมาก ตรวจดูคอนเนคเตอร์ทั้งหลาย ว่าเชื่อมต่อข้อมูลจาก แผง
DC controller PCB อยู่ดีหรือไม่ ง่ายๆ
ก็ถอดสายทั้งหลายที่เสียบแผง DC controller PCB แล้วต่อใหม่ให้แน่นเสียก่อน
เพราะปกติไม่ค่อยเสียกัน
Canon Error Code E031
E031 เกิดจากเครื่องนับจำนวน ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมวงจรขาด เกิดได้จากเครื่องนับของเครื่องพิมพ์เสีย
หรือเครื่องนับจำนวนสำเนาทั้งหมดเสีย หรือไม่ก็ แผง
DC controller PCB เสีย โดยหากเครื่องนับของเครื่องพิมพ์เสีย ให้ปิดสวิทซ์เพาเวอร์และ ถอดคอนเนคเตอร์ J503 ออกจาก DC controller PCB ตั้งมิเตอร์ไปที่ช่วง
X1KW และวัดความต้านทานระหว่าง J503-B14 และ J503-B15
ได้ค่าประมาณ
500 W หรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้ตรวจการเดินสายไฟจาก DC controller PCB ไปยังเครื่องนับจำนวนสำเนาทั้งหมด
ถ้าเป็นปกติดี ให้เปลี่ยนเครื่องนับสำเนาทั้งหมดใหม่
Canon Error Code E030
E030 สาเหตุหลัก เกิดจากตัวนับสำเนาผงหมึกวงจรขาด เกิดได้จาก 2 กรณีคือ
เครื่องนับจำนวนสำเนาเสีย หรือแผง DC controller PCB เสีย ตรวจสอบเบื้องต้นโดย
ปิดสวิทซ์พาวเวอร์ และถอดคอนเนคเตอร์ J03 ออกจาก DC controller PCB ตั้งมิเตอร์ไปที่ช่วง
X1KW และวัดความต้านทานระหว่าง J503-B12 และ J503-B13
ได้ค่าประมาณ
500 W หรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้ตรวจการเดินสายไฟจาก DC controller PCB ไปยังเครื่องนับจำนวนสำเนาทั้งหมด
ถ้าเป็นปกติดี ให้เปลี่ยนเครื่องนับสำเนาทั้งหมดใหม่
Canon Error Code E025
E025 สาเหตุหลัก เกิดจากมอเตอร์จ่ายหมึก M6 ขัดข้อง ถ้ามอเตอร์ไม่ขัดข้อง ก็แสดงว่า แผง DC controller PCB เสีย
ซึ่งเครื่องจะโชว์โค๊ด E025 เพราะมีการตรวจพบกระแสไฟฟ้า
ส่งไปยังมอเตอร์ตัวป้อนผงหมึกภายในกลักหมึก (M6) 2 ครั้ง
นานครั้งละ 10 วินาที โดย DC controller PCB ในการตอบสนองต่อการตรวจพบครั้งแรก
เครื่องถ่ายเอกสารจะแสดงข้อความ “Shake the Toner Case”
Canon Error Code E020
E020 สาเหตุหลัก ภาษาบ้านๆ เรียก “มอเตอร์แท็งค์หมึกมีปัญหา” ภาษาช่างเรียก
กรวยจ่ายหมึกหรือสกรูในมอเตอร์จ่ายหมึก (M18) บกพร่อง หรือเซ็นเซอร์ผงหมึก
(TS3) เสีย กรณีนี้อาจเกิดจากคลัชลูกกลิ้งแม่เหล็ก (CL1) เสียหรือแผง DC
controller PCB เสีย หรือคอนเนคเตอร์ทั้งหลายที่เชื่อมต่อหลุดก็เป็นได้ ทั้งนี้ E020
เกิดจากการที่ผงหมึกภายในชุด
Developing หมด ถูกเซ็นเซอร์ตรวจจับพบนาน 2 นาที หรือมากกว่านั้น หลังจากมีการจ่ายผงหมึกให้แก่ชุด
Developing แล้ว
Canon Error Code E019
E019 สาเหตุหลัก ภาษาบ้านๆ เรียก “กากหมึกเต็ม” ให้เอาไปเททิ้ง แต่อาการนี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้
อาทิ สาเหตุทางกายภาพ ประกอบด้วยที่ตั้งกล่องถาดผงหมึก
อาจมีการเคลื่อนที่หรือการติดตั้งกล่องถาดผงหมึกไม่ถูกต้อง ให้ตรวจเช็คให้ดี
ต่อจากนั้น การเชื่อมต่อคอนเนคเตอร์ต่างๆ ก็เกี่ยว
เพราะกล่องถาดผงหมึกใช้คอนเนคเตอร์ (J514) บน DC controller PCB หากเชื่อมต่อไม่ดีก็ขึ้นโค๊ด
E019 ได้ นอกจากนั้นอาจเป็นเพราะเซ็นเซอร์ กล่องถาดหมึก (PS19) ให้ตรวจการเชื่อมต่อไปยัง
DC controller และตัวเซ็นเซอร์ (PS19)
Canon Error Code E015
E015 สาเหตุคล้ายกับ E014 แต่เกิดจากมอเตอร์ขับเคลื่อนชุดฮีต (M2) เสีย
หรือไม่ก็ DC controller PCB เสีย ซึ่งความบกพร่องของมอเตอร์ขับเคลื่อน
มีสาเหตุมาจากไม่มีสัญญาณ PLL lock (M1-FG) มาถึงนาน 2 วินาที หรือมากกว่า หลังจากมี output
ของสัญญาณขับเคลื่อนมอเตอร์ชุดผนึกภาพออกมาแล้ว ซึ่งอาจเกิดได้จากคอนเนคเตอร์ของมอเตอร์ปิคอัพ เฟืองขับฮีต
หรือลูกปืนบูตฮีตเสียก็เป็นได้
วิธี Modify อะไหล่พลาสติก เครื่องถ่ายเอกสาร ... เอาไว้ใช้งาน ช่วยหาเงิน
นักลงทุนที่ดี ก่อนจะซื้อหาสินค้าอะไรมาเพื่อใช้งาน ต้องคำนวณให้ถ้วนถี่ ว่าจะซื้อมาเพื่อเป็นเครื่องมือช่วยหาเงินเพิ่มให้ หรือได้มาแล้ว ต้องทำงานเพิ่มเพื่อหาเงินไปจ่ายให้มันอีก ... เครื่องถ่ายเอกสารก็เช่นกัน เมื่อนำมาช่วยทำงานหาเงิน นอกจากอะไหล่หมุนเวียนที่ต้องจ่ายเป็นประจำแล้ว อะไหล่บางจำพวก วิศวกรเค้าก็ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานแบบรอวันพัง เพราะรู้ทั้งรู้ว่าพลาสติกไม่ทนทานเท่าเหล็กหรืออลูมิเนียม แต่ก็ออกแบบให้เอามาใช้งาน ถ้าหักหรือพัง เค้าก็ทำอะไหล่เสริมมาขายให้ และแต่ละชิ้นก็แสนแพง บางชิ้นไม่มีผลิตมา ก็ต้องไปควานหามือสองตามเครื่องซาก ซึ่งก็ไม่แน่ว่าจะหาได้
แพงเพียงใดก็ต้องซื้อ เพราะเซ็นเซอร์บางจุด ไม่ยอมให้เครื่องฯ ทำงาน หากเพียงปลายแหลมของแผ่นพลาสติกน้อยๆ ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งที่ถูกต้อง ... กรณีมีอะไหล่ขายก็ถือว่ายังโชคดี แต่ถ้าอะไหล่บางตัว หาไม่ได้ หรือหาได้ก็เป็นของเลียนแบบ น็อตไม่ตรงรู เซ็นเซอร์ไม่ตรงตำแหน่ง ใช้ไปไม่นานก็พังอีก ... สิ่งหนึ่งที่เลี่ยงไม่ได้ หากยังต้องการให้เครื่องฯ ทำงานหาเงินให้อยู่ นั่นคือการนำอะไหล่จริงที่บุบสลาย มา Modify เพื่อให้ใช้งานต่อไปได้ ... เพราะหากเครื่องถ่ายฯ ตัวเหยียบแสน ต้องถูกนำไปแยกส่วนขายทอดตลาด หรือชำแหละชั่งกิโลขาย เพียงอะไหล่พลาสติกบางตัวแตกหัก ก็เป็นที่น่าเสียดาย
Canon Error Code E014
E014 สาเหตุเกิดจากมอเตอร์ขับเคลื่อนชุดฮีต (M3) เสีย หรือไม่ก็ DC controller PCB เสีย ซึ่งความบกพร่องของมอเตอร์ขับเคลื่อน มีสาเหตุมาจากไม่มีสัญญาณ PLL lock (M1-FG) มาถึงนาน 2 วินาที หลังจากมี output ของสัญญาณขับเคลื่อนมอเตอร์ชุดผนึกภาพออกมาแล้ว ซึ่งอาจเกิดได้จากคอนเนคเตอร์ของมอเตอร์ปิคอัพ เฟืองขับฮีต หรือลูกปืนบูตฮีตเสียก็เป็นได้
Canon Error Code E013
สาเหตุเกิดจากเกลียวปั่นกากหมึกไม่หมุน หรือ DC controller PCB เสีย E013 เกิดขึ้นเพราะสวิทซ์ตรวจจับ (MSW2) พบว่าสกรูป้อนกากผงหมึก ที่ต้องหมุนไปได้ ถูกกดอยู่นานหลายครั้งภายในช่วงเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่า สกรูป้อนถาดผงหมึกเสีย DC controller PCB เสีย หรือ สวิทซ์ตรวจจับ (MSW2) เสีย
Canon Error Code E012
สาเหตุเกิดจากมอเตอร์ลูกดรัม (M0) เสีย หรือ DC controller PCB เสีย E012 เกิดขึ้นเพราะไม่มีสัญญาณ PLL lock (MOLCK) มาถึงนาน 2 วินาที หลังจากมี Output ของสัญญาณขับเคลื่อนมอเตอร์ลูกดรัมออกมาแล้ว ซึ่งนอกจากมอเตอร์ลูกดรัมเสียแล้ว สาเหตุอาจเกิดจากคอนเนคเตอร์ , DC controller PCB หรือ Relay PCB วิธีตรวจเช็คในเบื้องต้น ควรตรวจสอบคอนเนคเตอร์ (J601, J602) ของมอเตอร์ลูกดรัมเชื่อมต่อแข็งแรงดีหรือเปล่า ถ้าไม่ดีก็จัดการเชื่อมต่อคอนเนคเตอร์ให้แข็งแรง
Canon Error Code E010
E010 สาเหตุหลักเกิดจาก เมนมอเตอร์ หรือมอเตอร์ขับเคลื่อนหลักของเครื่อง (M1) เสีย ซึ่งถ้าเมนมอเตอร์ไม่เสีย อาจเกิดได้จาก DC controller PCB เสีย โดยอธิบายได้ว่า ไม่มีสัญญาณระหว่างมอเตอร์หลักกับ DC
controller PCB นาน 2 วินาที หรือมากกว่านั้น หลังจากที่มี Output
บอกสัญญาณขับเคลื่อนเมนมอเตอร์ออกมาแล้ว
Canon Error Code E005
E005
เกิดจากผ้าเว็บเป็นหลัก ภาษาวิชาการเรียกว่าสายพานทำความสะอาดภายในชุดผนึกภาพ
ได้ถูกเอาขึ้นหรือตรวจพบไม่เจอ เรียกกันภาษาบ้านๆ ว่าผ้าเว็บหมด
หรือถ้าผ้าเว็บไม่หมด ก็แปลว่าเซนเซอร์ตรวจไม่เจอผ้าเว็บ
หรือเซ็นเซอร์ตรวจเช็คความยาวผ้าเว็บ (PS7) เสีย
ถ้ายังไม่ใช่ก็โยนไปให้เจ้าเดิม DC
controller PCB เสีย หรือไม่ก็ SSR ที่ใช้ขับเคลื่อนฮีตเตอร์ผนึกภาพ
วงจรขาด
Canon Error Code E002, 003, 004
E002 สาเหตุหลักเกิดจาก เทอร์มิสเตอร์หลัก (TH1) หน้าสัมผัสไม่ดีพอ หรือวงจรขาด เป็นไปได้ว่าฮีตเตอร์ผนึกภาพ (H1,
H2) วงจรขาด หรือ สวิทซ์อุณหภูมิ (TS1) วงจรขาด
หรือ SSR เสีย หรือ DC controller PCB เสีย
ตำราอธิบายว่า อุณหภูมิของลูกฮีตบน ไม่ถึง 100 องศา ภายในเวลา 2.5 นาที
หลังจากที่ความร้อนขึ้นมาเกิน 70 องศาแล้ว หรือ อุณหภูมิของลูกฮีตบน ไม่ขึ้นไปถึง
150 องศา ภายในเวลา 2.5 นาที หลังจากที่ความร้อนขึ้นมาเกิน 100 องศาแล้ว
E003, E004 สาเหตุเดียวกับ E002 แต่ E002, E003 เกิดจากอุณหภูมิของลูกฮีตลูกบนตกลงมาถึง
70 องศา หรือน้อยกว่านั้น นาน 2 วินาที หลังจากที่มันร้อนขึ้นไปถึง 100 องศาแล้ว
วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น สำหรับ E002, E003 คือ เคลียร์โค๊ด E001 โดยเข้าโค๊ด กด *
> 28 > * > function > clear > error ปิดและเปิดสวิทซ์ใหม่
สังเกตว่ายังโชว์โค๊ด E002, E003 อยู่หรือไม่ ถ้าโชว์อาจเป็นกรณีหลอดฮีตไม่ทำงาน
หรือหน้าสัมผัสของคอนเนคเตอร์บน DC controller PCB และคอนเนคเตอร์ภายในชุดฮีต
รวมทั้งการเดินสายไฟต่างๆ
Canon Error Code E001
สาเหตุหลักเกิดจาก เทอร์มิสเตอร์หลัก (TH1) หน้าสัมผัสไม่ดี หรือวงจรปิด หรือ SSR เสีย หรือ DC controller PCB เสีย หรือ เทอร์มิสเตอร์ย่อย (TH2) ถูกตรวจพบว่าความร้อนสูงเกินไป โดยตำราได้บรรยายถึงอาการ E001 ว่าอุณหภูมิของลูกฮีต สูงเกิน 230 องศา นาน 2 วินาทีหรือมากกว่า หรือ ความแตกต่างในอุณหภูมิที่ตรวจจับได้ ระหว่างเทอร์มิสเตอร์หลัก (TH1) และเทอร์มิสเตอร์ย่อย (TH2) เป็น 50 องศา นาน 1 วินาทีหรือมากกว่า
ขึ้น E001 แล้วจะทำอย่างไร โดยเบื้องต้น หากเกิดจาก SSR เรียกบ้านๆ ว่าวงจรช็อต ให้ปิดสวิทซ์เพาเวอร์ไว้เพื่อรอให้ลูกฮีตบน เย็นดีเสียก่อน ในระหว่างที่รอให้ลูกฮีตเย็นนี้ อย่าปล่อยเวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ ให้ตรวจหาความสกปรกบนผิวหนาของเทอร์มิสเตอร์แต่ละตัว รวมทั้งการติดตั้งและการเชื่อมต่อ หลังจากนั้นเปิดสวิทซ์เพาเวอร์และ เคลียร์โค๊ด E001 โดยเข้าโค๊ด กด * > 28 > * > function > clear > error ปิดและเปิดสวิทซ์ใหม่ ต่อจากนั้นเข้าโค๊ด * > 28 > * > Copier > Display > Analog แล้วสังเกต FIX-C หรือ FIX-E ว่าอุณหภูมิเป็น 200 องศา หรือสูงกว่าหรือไม่ ถ้าใช่ แสดงว่า SSR เสีย ให้หามาเปลี่ยน
ข้อควรอ่าน ... เกี่ยวกับ Error Code Canon
ตัดสินใจเปิดคอลัมน์ Error Code Canon หลังจากพิจารณาอยู่นาน
... หลังจากที่ได้พูดคุยกับเพื่อนๆ ผู้ประกอบการ หลายๆ ท่านหลังไมค์ ... เอาเป็นว่า
... ขอเรียนท่านผู้อ่านทุกท่านว่า Error Code Canon ไม่ใช่เรื่องใหม่
ในปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นความลับ ผู้ประกอบการทุกคนสามารถหาได้จากหลายแหล่ง หลายตำรา
ซึ่งจะมีก็แต่พวกนักขายเครื่องฯ (บางท่าน) ที่ไร้น้ำใจ คอยเอาเปรียบผู้ประกอบการใหม่
ทำเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ... ซึ่ง “ร้านสลิล สไมล์” เอง ก็เคยประสบพบพานเมื่อ 12
ปีก่อน และไม่น่าเชื่อว่าเผ่าพันธุ์ดึกดำบรรพ์นี้ ยังหลงเหลืออยู่ในวงการ ...
Error
Code Canon ที่จะทยอยนำเสนอเรื่อยๆ ในบล็อกน้อยๆ ของมือสมัครเล่นนี้
... จะพยายามรวบรวมมาให้เพื่อนพ้องทุกท่าน เท่าที่เวลาจะเอื้ออำนวย ทั้งจากตำรับตำรา
และประสบการณ์ โดยขอให้เครดิต “ช่างสามารถ” ผู้เป็นทั้งครูที่ดี และเพื่อนที่รู้ใจ
... ร้านสลิล สไมล์ จะมีวันนี้ไม่ได้ ถ้าขาดปรมาจารย์ท่านนี้ ... ทั้งนี้
บทความทั้งหลายในบล็อกนี้ “ช่างสามารถ” ไม่ได้มีส่วนรู้เห็นหรือยินยอมให้เผยแพร่แต่อย่างใด
“ร้านสลิล สไมล์” เป็นผู้เรียบเรียงและเผยแพร่ขึ้นมาเอง หากมีข้อผิดพลาด ข้อพิพาท หรือไม่พอใจใคร
รวมทั้งไม่พอใจ “ร้านสลิล สไมล์” ... ก็มาคุย มาด่า มาติเตียน หรือมาหาเรื่องกันได้
... ตามสิทธิอันพึงมีของแต่ละคน ...
Error Code Canon … E000
ไมโครโปรเซสเซอร์ที่อยู่บน DC Controller PCB ของเครื่องถ่ายเอกสารนั้น ได้ติดตั้งกลไก เพื่อคอยตรวจดูสถานะต่างๆ ของเครื่องฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Sensor ต่างๆ จะตรวจดูความจำเป็นและเมื่อมีการตรวจพบข้อผิดพลาด ก็จะแสดงเป็นรหัสขึ้นบนหน้าปัดควบคุม ... ภาษาชาวบ้านเรียก ... โชว์โค๊ด Exxx ... ซึ่งจะได้ทยอยพยายาม นำเสนอ โค๊ดต่างๆ ให้ครบหมดใส้หมดพุง ... เรียนรู้ไปด้วยกันนะครับ ...
Canon Error Code E000
สาเหตุหลักเกิดจาก
1.เทอร์มิสเตอร์หลัก (TH1) หน้าสัมผัสไม่ดี หรือวงจรปิด
2.ฮีตเตอร์ผนึกภาพ (H1, H2) วงจรขาด
3.สวิทซ์อุณหภูมิ (TS1) วงจรขาด
4.SSR เสีย
5.DC controller PCB เสีย
6.เทอร์มิสเตอร์ย่อย (TH2) หน้าสัมผัสไม่ดีพอ หรือวงจรขาด ... หลังจากขึ้นโค๊ด E000 เมนสวิทซ์จะปิดเองใน 5 วินาที
เข้าเล่มหุ้มสันอัดกาว ถ่ายฯ ปก ลงกระดาษปอนด์สี 180 แกรม เล่มละ 25 บาท
Photocopy on fine printing paper 70 gsm. Size A4, 2 side photocopy. Photocopy price 0.39 ฿ per page. The cover is full color bond paper 180 gsm. Photocopy the cover. Perfect binding with glue, 25 ฿ per book.
เอกสารประกอบการประชุม เอกสารประกอบการอภิปราย หรือเอกสารที่ใช้เพื่อการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หากเย็บเป็นชุดแล้วแจก อาจไม่คงทนถาวร หรือไม่มีความสวยงามมากพอ ... การเข้าเล่มแบบหุ้มสันอัดกาว ถ่ายเอกสารปกลงกระดาษปอนด์สี 180 แกรม สามารถช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อองค์กรของท่านได้ ในสนนราคาค่าเข้าเล่มเพียงเล่มละ 25 บาทเท่านั้น
ธุรกิจถ่ายเอกสาร กับการละเมิดลิขสิทธิ์การถ่ายเอกสารตำรา
ยิ่งศาสตร์และศิลป์ เทคนิคและเทคโนโลยี ส่งผลให้ธุรกิจถ่ายเอกสาร สามารถทำสำเนาเอกสารออกมาได้ยอดเยี่ยมเทียมต้นฉบับเพียงใด บรรดานักรักษากฎหมายลิขสิทธิ์ทั่วโลก ยิ่งร้อนรน ออกมาเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเจ้าของลิขสิทธิ์เยี่ยงนั้น ... ช่วงปีที่ผ่านมา คิดอย่างไรกันบ้าง หลังจากที่มีข่าวมาตลอด ว่าตำรับตำราทั้งหลาย ที่ถ่ายเอกสารกันอยู่ทุกวัน ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เขียนตำรา สำนักพิมพ์ รวมทั้งสถาบันที่เป็นเจ้าของผลงานทางวิชาการต่างๆ
เริ่มจากนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเดลลี ประเทศอินเดีย นักเรียนได้ออกมาเรียกร้องสิทธิในการเข้าถึงตำราเรียน โดยเฉพาะจาก Oxford University Press, Cambridge University Press, and Taylor and Francisซึ่งร้านถ่ายเอกสาร ทั้งหลายต้องหยุดให้บริการถ่ายเอกสารตำราเหล่านั้นโดยปริยาย ตามคำสั่งของศาลสูง และการกดดันจากมหาวิทยาลัย เนื่องจากการทำสำเนาเอกสารดังกล่าวถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ข่าวนี้มาจาก http://www.downtoearth.org.in/content/publishing-biggies-target-delhi-university-photocopy-shop เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2555 ที่ผ่านมา
เข้าเล่มแบบสันห่วงพลาสติก เปิดสะดวก ในราคาประหยัด
หากลักษณะการเข้าเล่มงานที่ลูกค้าต้องการ คือการเปิดอ่านได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะหนังสือที่มีความหนา หรือมีข้อความชิดขอบหนังสือทุกด้าน อีกทางเลือกหนึ่งของลูกค้า ในสนนราคาที่ถูกกว่าห่วงเกลียว นั่นก็คือ การเข้าเล่มแบบสันห่วงพลาสติก ซึ่งอยู่คู่กับวงการถ่ายเอกสารไทยมานมนาน มีลักษณะเด่นคล้ายกับการเข้าเล่มสันห่วงเกลียว เพียงแต่จะไม่สามารถเปิดได้ครบ 360 องศา เหมือนกับห่วงเกลียว แต่ในระยะ 180 องศา การเข้าเล่มสันห่วงพลาสติก ก็ไม่ได้ขี้เหร่กว่าการเข้าเล่มแบบอื่นๆ
วิธีชำแหละ “คลัทช์ รีจิส ir600” ออกมาล้าง โดยการตอก แบบถอนรากถอนโคน
สำหรับวัตถุดิบหลักของเราในวันนี้ ท่านประธาน “สลิล สไมล์” ได้เฟ้นหาอะไหล่จาก Unit 1 แม้ไม่ลึกเท่าไร แต่มีค่ามากมาย ใครๆ ก็กล่าวถึงกัน เพราะสนนราคามันอยู่ที่ประมาณ 1,450 บาท และหากขาดมันไป การจัดเรียงหัวกระดาษ ก่อนจะเข้าไปพบกับลูกดรัม อาจไม่ได้ตำแหน่งที่วางไว้ ส่งผลให้เมนูที่รังสรรค์ออกมา ไม่สวยงามดังที่คาดไว้ โดยรู้จักกันในนามของ โรคเลื่อน ... ปัญหาอาการโรคเลื่อน เกิดขึ้นได้เสมอ ในกรณีเครื่องถ่ายเอกสารของท่าน วิ่งรับใช้หาเงินมานมนาน อาการที่ว่า นั่นคือ ตำแหน่งภาพเลื่อนซ้ายบ้างขวาบ้าง ไม่เท่ากันในแต่ละใบ
โรคเลื่อน เกิดจากกระดาษวิ่งเข้าไปรับหมึกจากลูกดรัมได้ไม่ตรงกับตำแหน่งที่วางไว้ อาการนี้ทดสอบได้โดยเปิดฝา Feed แล้วกดถ่ายฯ หน้าดรัมดำๆ จะโผล่ออกมา ถ้าเสียดายหมึก หรือ เซฟคอร์ไม่แข็งแรง ก็ ปิดฝา Feed ถ่ายภาพผ้าเลื่อนต้นฉบับออกมาสัก 5 – 10 ใบ ดูว่าขอบข้างซ้ายขวา มันมีพื้นที่สีขาวตรงกันหรือไม่ ซึ่งโดยปกติแล้ว ค่า X-Y มักจะไม่เลื่อนเอง ถ้าแผง DC ไม่เสีย ซึ่งอาการนี้ควรเช็คจากหน้ากระจกจะให้ผลที่แน่ชัดกว่าการยัดใส่ Feed เพราะ Feed เองก็ไม่แน่ว่าจะเลื่อนบ้างหรือเปล่า เช็คดูให้แน่เพราะคลัทช์รีจิส อายุการใช้งานนับเป็นหลักล้านแผ่น ปกติก็ไม่ค่อยเสียเท่าไร อย่าเพิ่งตีความไปว่าถ้าภาพเลื่อนเป็นเพราะคลัทช์รีจิส เดี๋ยวเค้าจะน้อยใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)