042-330 แปลตรงตัวตามตำราคือพัดลมระบายความร้อนมีความอ่อนล้า Fuser Exhaust Fan Failure โค๊ดนี้มักเจอในเครื่องใหญ่จำพวก X4110 ถ้าปิดเปิดใหม่ไม่หาย ให้ตรวจพัดลมสำคัญ 3 ตัวในเครื่อง ได้แก่ พัดลมหอยโข่งตัวเล็ก เปิดหลังเครื่องมาอยู่ด้านบนซ้าย ตัวต่อมาคือพัดลมหน้าชุดความร้อน และพัดลมใต้ชุดเบลท์ ถ้าพัดลมทั้งสามตัวยังหมุนดี ไม่มีความอ่อนล้าใดๆ ให้ลองเช็คหรือสลับแผงเล็กสีเขียว ที่อยู่เหนือแผงพาวเวอร์ ตรงข้างพัดลมหอยโข่งข้างหลังเครื่อง
ALWAYS PASS ON WHAT WE HAVE LEARNED. สิ่งใดๆ ที่ได้เรียนรู้ จารึกไว้ดู ส่งต่อด้วยใจ ... "สลิล สไมล์"
Fan ที่ไม่ใช่คนพาไปดูหนัง Fan Failure คือพัดลมพัง ขึ้นโค๊ด 042-334, 042-332, 042-330, 042-329
ถ้า Xerox ไร้ทางออก โชว์โค๊ด 047-112, 047-211, 047-212, 047-310, 047-320 ลองเช็คชุดทางออกดูนะจ๊ะ
บอกให้หมด เดี๋ยวว่าไม่แมน โค๊ดชุดสแกน 062-360, 062-371, 062-380, 062-386, 062-393, 062-396, 062-397
062-371 Scanner Lamp Error แปลตรงตัวก็หลอดสแกนเสีย ตรวจสอบหลอดสแกนใต้กระจกว่ายังสว่างดีอยู่ไหม ถ้าหลอดยังดีอยู่ก็อาจเป็นที่แผงเสีย ให้ลองเคลียร์โค๊ดดูก่อน NVM : 715-017=1 NVM : 715-018=1 NVM : 715-030=1 หรือถ้าเป็นเครื่องเล็ก X5230 อาการนี้อาจเกิดจากสแกนไม่เข้า Home ให้ทำความสะอาดเซ็นเซอร์ ตรวจเช็คมอเตอร์สแกน สายแพ รวมทั้งแผงใต้กระจก MCU
หัวใครหัวมัน หัวฝีด Xerox ของฉัน ต้องไม่ขึ้นโค๊ด 062-277, 062-278, 062-300, 062-311, 062-345, 062-355
062-278 Scanner Fault ไฟไม่เข้าชุดสแกน เช็คสายสแกน สายไฟอื่นๆ เน้นไปที่สาย DADF ที่ห้อยอยู่ข้างหลังหัวฝีด เพื่อลงไปเสียบตัวเครื่อง ลองถอดเข้าออกเสียบใหม่ หมุนแท่งสกรู 2 อันให้แน่น หรือปิดเปิดเครื่องใหม่ ถ้ามั่นใจว่าทุกอย่างต่อเชื่อมกันสนิทดีแล้ว เป็นไปได้ว่าสายแพเสีย ให้ลองสลับสายแพ หรือถอดชุดเลเซอร์มาเช็ค
โค๊ดลิ้นกับฟัน ผิวดรัมกับผงหมึก 092-311, 092-320, 092-910, 092-912, 093-326, 093-932
การเช็คหมึกที่ผิวดรัมไม่ได้ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ได้อีก เช่น ตัวอัดหมึกเข้าเฮ้าส์ซิ่ง ชุดหมึก สปริง เช็คเฟืองบิดเฮ้าส์ซิ่ง ตั้งมาร์คเฟืองบิดใหม่ อาจประกอบเฮ้าส์ซิ่งไม่ดี หรือก้ามปูเฮ้าส์ซิ่งหัก เฮ้าส์ซิ่งไม่หมุน ลานโยกเฮ้าส์ซิ่งฝืดหรือบางทีอาจเป็นที่ส่วนเกี่ยวข้องกับชุดดรัม เช่น ชุดเบลท์ เฟืองเบลท์ฝืด ขั้วสปริงหลังดรัม หรือเซ็นเซอร์หน้าดรัม บางทีอาจต้องลองสลับชุดดรัม ชุดเฮ้าส์ซิ่ง สลับตัวเช็คดรัม หรือบางทีเซ็นเซอร์หน้าดรัมหลุด ก็โชว์โค๊ดนี้
Xerox Error Code ชุดดรัม ชิพดรัม 091-314, 091-320, 091-912, 091-913, 091-916
091-320 ชุดโครงดรัมมีปัญหา ให้ลองเช็คขั้วดรัม หรือสลับโครงดรัมทั้งโครงดู ตัวเช็คเซ็นเซอร์ก้ามปูหน้าดรัมก็เกี่ยว หรือถ้ามีชุดดรัมชุดเดียว ให้ทำความสะอาด เอาให้เอี่ยมเหมือนออกโรงงานมาใหม่ เน้นใส่ใจเป็นพิเศษที่สไลด์สายโคโรนาบล็อกบน สาเหตุที่ทุกคนอาจมองข้าม
อวตารชุดดรัม Xerox 5335 มาใช้กับ Xerox 5230
โครงและฝาพลาสติก X5230 กับ X5335 หล่อหลอมมาจากเบ้าพิมพ์เดียวกัน ต่างกันแค่ตำแหน่งการวางชิพ X5230 ชิพอยู่ริมฝาบน ติดกับชุดเบลด ส่วน X5335 ชิพอยู่ที่ฝาข้าง ด้านที่มีลิ้นดึงเวลาถอดชุดดรัมออกมาจากเครื่อง การนำชุดดรัม X5335 มาปรับใช้กับ X5230 หลักสำคัญก็อยู่ที่ฝาข้างที่มีแจ็กเสียบอยู่นี้เอง ซึ่งสิ่งที่แตกต่างกันของสองรุ่นนี้คือแจ็คสายไฟ โดยถ้ามีชุดโครงดรัมเก่า X5230 ที่พอใช้ได้ก็ถอดเปลี่ยนฝาข้างพร้อมแจ็คสายไฟ และเซ็นเซอร์ผงเหล็กไปทั้งชุด ดูจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
ล้างเปลี่ยนดรัม Xerox 5230 ไว้ใช้รอบเดียว อีกสักครั้ง
ช่างไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก แค่ปิดชิพ เปิดฝาเบียร์ยังยากกว่า ไม่ว่าจะจั๊มตัว 8 ขา หรือเอาแค่พ่อค้าอาฆาต NVM : 740-529=1 ยืดชิพดรัมใช้กันไปจนดรัมแหก ค่อยแกะมาเปลี่ยน ส่วนอะไหล่อื่นในโครงดรัมทั้งหลายถ้ายังดีอยู่ ก็เอามาล้างใช้ เปลี่ยนแค่ลูกดรัมใหม่ ทำความสะอาดเบลด กับโรลเลอร์ชาร์จ ก็ใช้ต่อไปได้อีกนาน ถอดเรียงตามรูปเลย 1 – 6 ยกฝาบนออก ดรัม (7) เบลด โรลเลอร์ชาร์จ (8) เช็คแกนปั่นกากหมึกหน่อยก็ดี บางทีกากหมึกจับแข็งตัวตรงขั้วหมุน อาจเป็นภาระลูกหลานได้ในอนาคต
ผ้าเวบ Canon iR7105 เอามาโมดิฟาย ใช้กับ Xerox 4110 ได้นะ รู้ยัง?
ผ้าเวบไม่ว่ายี่ห้อไหน ก็มีหน้าที่เดียวกันคือเช็ดทำความสะอาดลูกฮีต Fuji Xerox มีชื่อเรียกผ้าเวบอย่างเป็นทางการคือ Fuser Cleaning Cartridge (Fuser Web) ใช้ด้วยกันได้หลายรุ่น ไม่ว่าจะเป็น Xerox 4110 4112 4127 4590 4595 D95 D110 d125 D136 ส่วนทาง Canon ทางการเรียก Fuser Cleaning Web roller ใช้กันได้แทบทุกรุ่นตั้งแต่ iR7105 7095 7086 7200 8500 5570 6570 5000 6000 600 ส่องดูตามเนื้อผ้าแล้ว ไม่ต่างกันโดยหลักการ จะมีบ้างก็เรื่องโครงสร้างและราคา ค่าการตลาดไม่เท่ากัน
093-912 Xerox 5230 ท่อหมึกตัน แถมโค๊ดใกล้กัน 093-311, 093-312, 093-320, 093-924
ปรินท์เอกสารถ่ายงานอยู่ดีๆ Xerox 5230
ก็เกิดอาการเสียงดังแกร๊กๆ รัวๆ ดังเองหยุดเอง เหมือนนักเลงรัวปืนกล
พอหมดแม็กก็หยุดดัง พอสั่งปรินท์ก็ขึ้นนกเหนี่ยวไกใหม่ ทั้งที่งานยังลื่นไหล
ภาพถ่ายยังคมชัด ลูกค้ายังรองาน เราก็ยังฝืนดึงดันถ่ายฯ ต่อไป
สักพักวัยรุ่นเริ่มเรียกร้องความสนใจ ดังลากยาวเอาให้สะใจ
เห็นใครไม่ว่าไงก็โชว์โค๊ดซะเลย 093-912 ฟ้องด้วยว่าให้เปลี่ยนหลอดหมึกใหม่
งานนี้ปิดเครื่อง หยิบไขควงเปิดฝาหน้า ไม่ต้องเปิดตำราก็เดาได้ไม่ยาก
กระบอกหมึกมีปัญหาแน่นอน
ถอดหลอดหมึก ชุดดรัม แกะฝาหน้า ฝาเทรย์รับกระดาษ ก็เป็นไปตามคาด ท่อส่งหมึกหลุดจากขั้วกระบะหมึก โชว์สปริงเกลียวปั่นขัดกันกับท่อหมึกให้เห็นกันจะๆ หมึกร่วงกระจายเต็มหัวเลเซอร์ งานนี้ได้เวลาทำความสะอาด แต่ต้องหาข้อผิดพลาดก่อน ถอดเอากระบะหมึกออกมาลองเอามือหมุนเฟืองปั่นหมึก เคราะห์ยังดีเฟืองไม่มีแตกบิ่น เคาะหมึกที่แข็งค้างในท่อออกมา ตรวจเช็คจุดเชื่อมต่อระหว่างปลายท่อ กับเฮ้าส์ซิ่ง ขณะเสียบชุดดรัมเข้าไป สปริงต้องยืดออก เปิดช่องทั้งสองให้หมึกไหลลงเฮ้าส์ซิ่งได้สะดวก
Xerox 5230 โค๊ดผีบ้า 077-904 วอร์มปุ๊บ โชว์กระดาษติดปั๊บ
ทุกวันนี้ระบบวินิจฉัยตัวเอง Self-diagnostic ของเครื่องถ่ายเอกสาร พัฒนาล้ำหน้ากันจนช่างแทบจะตกงาน แต่บางครั้งก็ต้องอาศัยประสบการณ์ ร่วมกับจินตนาการ ในการวินิจฉัยอาการ ร่วมกับ Error Code ล่าสุด Xerox 5230 ปิดชิพตัว 8 ขาหมดแล้ว ชุดดรัมวิ่งงานมานานจนลืม เบลดกักกากหมึกกับขุยกระดาษอัดแน่นจนล้นออกมาเลอะงาน เลยถือโอกาสถอดเบลดชุดดรัมมาเป่าล้างทำความสะอาด เสร็จแล้วก็ทาแป้งประกอบกลับเข้าไปดังเดิม พอเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ ยังไม่ทันทำอะไรก็โชว์โค๊ด 077-904 เสียแล้ว