... จำได้ไหม ตายายยังจำได้ไหม ปู่ย่าจำได้ใช่ไหม สอนหนูอยู่แทบทุกปี ... พอจะจำกันได้ไหมครับ เมื่อครั้งยังใช้เครื่อง analog กันอยู่ เวลาต้องถ่ายฯ ปกให้ลูกค้า ก็จะใช้วิธีถ่ายต้นฉบับมาใบนึง ใช้คัตเตอร์ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก ใช้ลิขวิดเปเปอร์แต้ม ฯลฯ แล้วแต่จะสรรหาวิธีทำต้นฉบับเพื่อถ่ายฯ ปก ออกมาให้สวยที่สุด ถ้างานเร่งรีบมาก อย่างดีก็สั่งตัดขอบ เหลือแต่พื้นที่ที่ดมๆ เดาๆ เอา ว่าน่าจะออกมาสวยงามตามสเต็ป ... ต่อมาไม่นาน มีเครื่อง Digital ก็เริ่มเรียนรู้การใช้ Function ต่างๆ เพื่อจะทำปกออกมาให้ดีที่สุด .. ปกดำๆ ก็สั่งเป็น Negative ออกมาสวยงามได้ดั่งใจ แต่ก็ยังต้องพึ่งคัตเตอร์กับลิขวิดเปเปอร์อยู่ดี
เวลาผ่านไปคนไทยเริ่มรักกัน .. เอ๊ย ไม่ใช่ .. เครื่อง Digital รุ่นใหม่เริ่มมีคำสั่ง Scan หรือ Send ก็สแกนส่งไปคอมพิวเตอร์ แล้วไปแก้ไฟล์ใน Photoshop หรือ Illustrator แล้วแต่ถนัด .. แล้วค่อยสั่งปรินท์ ... ย้อนกลับคืนสู่สามัญ เมื่อมีเครื่องถ่ายเอกสารสีเข้ามาใช้ในร้าน .. ถ้าพอมีเวลาจะทำปกสี ก็ใช้วิธี Scan หรือ Send แก้ไขไฟล์ในคอมพิวเตอร์ดังเดิม .. แต่หากเจองานด่วนในเวลาเร่งรีบ จะใช้หลักการเดียวกัน Scan มาแก้ไฟล์ หรือถ่ายต้นฉบับออกมาเพื่อแก้ไขด้วยคัตเตอร์และลิขวิดเปเปอร์ ก็ดูเหมือนจะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะกว่าจะได้ต้นฉบับที่ต้องการ คมชัดสวยงาม คงต้องถ่ายกันหลายรอบน่าดู
ALWAYS PASS ON WHAT WE HAVE LEARNED. สิ่งใดๆ ที่ได้เรียนรู้ จารึกไว้ดู ส่งต่อด้วยใจ ... "สลิล สไมล์"
iRC2880i แค่น็อตคลาย Bypass ก็งอแง ... จัดใหม่ให้แน่นๆ นะน้องนะ
เครื่องถ่ายเอกสารสี นอกจากจะเข้ามาแทนที่ Printer ในระบบ inkjet ได้อย่างรวดเร็วและสวยงามกว่ากันแล้ว หลักๆ ที่ซื้อหากันมาเสริมทัพในร้ายถ่ายเอกสาร ก็เห็นจะเป็นการปรินท์หรือถ่ายเอกสารกระดาษพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นปกขนาด A4 หรือ A3+ หรือโปสเตอร์ SRA3 ฯลฯ ซึ่งถาดกระดาษธรรมดา ไม่สามารถจำแนกชนิดกระดาษได้ เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เหมาะสมกับกระดาษแต่ละชนิด สามารถปรับได้ที่ชุดถาดป้อนมือ หรือเรียกกันว่า Bypass ซึ่งสามารถเลือกขนาด ชนิดกระดาษและความหนาของกระดาษแต่ละชนิดได้ ซึ่งได้นำเสนอไปแล้วในบทความ http://photocopyslinsmile.blogspot.com/2014/04/bypass-canon.html
เมื่อใช้ไปนานๆ ถาด Bypass เริ่มจะงอแง ฟีดกระดาษบ้าง ไม่ฟีดกระดาษบ้าง หรือฟีดไปได้นิดเดียว ปลายกระดาษยังไม่แตะเซ็นเซอร์ด้านใน ก็หมดแรง ไปต่อไม่ไหว ... ขยันหน่อยก็ใช้มือช่วยดันเข้าไปถึงระดับเซ็นเซอร์ ดันแรงไปเข้าลึกเกินภาพก็แหว่งหายภาพไม่ตรงตำแหน่ง ดันเบาไปไม่ถึงเซ็นเซอร์ก็ฟ้องกระดาษติด ... เช็ดลูกยางก็แล้ว เป่าฝุ่นเซ็นเซอร์ก็แล้ว Bypass ก็ยังอ่อนแรง เงี่ยหูฟังดูดีๆ ขณะฟีดกระดาษมีเสียงดังแกรกๆ เหมือนกำลังพยายามทำหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง ปรินท์ปกที ต้องยืนเฝ้าคอยใช้มือฟีดช่วยทีละใบๆ
เมื่อใช้ไปนานๆ ถาด Bypass เริ่มจะงอแง ฟีดกระดาษบ้าง ไม่ฟีดกระดาษบ้าง หรือฟีดไปได้นิดเดียว ปลายกระดาษยังไม่แตะเซ็นเซอร์ด้านใน ก็หมดแรง ไปต่อไม่ไหว ... ขยันหน่อยก็ใช้มือช่วยดันเข้าไปถึงระดับเซ็นเซอร์ ดันแรงไปเข้าลึกเกินภาพก็แหว่งหายภาพไม่ตรงตำแหน่ง ดันเบาไปไม่ถึงเซ็นเซอร์ก็ฟ้องกระดาษติด ... เช็ดลูกยางก็แล้ว เป่าฝุ่นเซ็นเซอร์ก็แล้ว Bypass ก็ยังอ่อนแรง เงี่ยหูฟังดูดีๆ ขณะฟีดกระดาษมีเสียงดังแกรกๆ เหมือนกำลังพยายามทำหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง ปรินท์ปกที ต้องยืนเฝ้าคอยใช้มือฟีดช่วยทีละใบๆ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)