Canon IR600 โชว์โค๊ด E004 เช็คเทอร์มิสเตอร์ (Thermistor)

เช้าวันนี้อากาศสดใส พอมีแดดรำไรให้หายหนาวไปได้บ้าง ขณะไล่เปิดเครื่องทั้งหลายภายในร้านอยู่ อยู่ดีๆ ไอ้เจ้า IR600 ก็เกิดปิดเองดื้อๆ ปิดตัวเองที่ Main Switch แบบไม่เผื่อเวลาให้อ่าน Error Code สักนิด ต้องเปิดเครื่องมาใหม่ แล้วแอบดู Error Code ก่อนที่มันจะดับไปอีก เลขที่ออกวันนี้ E004 ซึ่ง Error Code ที่ขึ้นต้นด้วย E00? ก็เห็นจะหนีไม่พ้นเรื่องอุณหภูมิของชุดความร้อน แต่เพื่อความหายข้องใจ จึงเปิดตำราขึ้นอ่านสักหน่อย

ตำรา IR600 ได้จารึกไว้ว่า E004 เกิดจากอุณหภูมิของลูกฮีตบน ลดต่ำลงมาถึง 70c หรือน้อยกว่านั้น นาน 2 วินาที หลังจากมันขึ้นไปถึง 100c แล้ว พออุณหภูมิที่เช็คได้ไม่เป็นที่พอใจของเครื่อง มันก็เลยฟ้อง E004 ขึ้นมา ซึ่งสาเหตุที่อุณหภูมิเพี้ยนนั้น อาจเกิดได้จาก ฮีตเตอร์ชุดผนึกภาพ (H1, H2) วงจรขาด หรือ สวิตซ์อุณหภูมิ (TS1) วงจรขาด หรือวงจรช็อต SSR เสีย หรือ DC controller PCB เสีย แต่เหตุผลดังกล่าวข้างต้น ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยๆ ส่วนมากแล้ว E00? มักเกิดจากตัวเช็คอุณหภูมิ หรือ เทอร์มิสเตอร์หน้าสัมผัสไม่ดีหรือวงจรขาด มากกว่า ทั้งนี้ในตำราแจ้งว่า E004 ให้จ้องไปที่เทอร์มิสเตอร์หลัก (TH1) ก่อนเป็นอันดับแรก

วิธีเปลี่ยนลูกดรัม IR3300 ตามแผนบันได 9 ขั้น

จากเล็กจากน้อยเป็นร้อยเป็นพัน จากจุดเล็กๆ เท่าปลายเข็มหมุด แต่งแต้มเติมลงกระดาษตามรอบของดรัม จากดาวดวงน้อยๆ ค่อยขยายขึ้นเป็นกลุ่มดาว หรือนานวันเข้าเบลดก็จะค่อยๆ ปาดดาวดวงน้อยให้กลายเป็นดาวหาง คาดผ่านกระดาษเป็นเส้นยาว และเพิ่มจำนวนขึ้นประหนึ่งวงแหวนของดาวเสาร์ หากเกิดขึ้นหัวกระดาษท้ายกระดาษก็พอทำเนา เปลี่ยนถาดกระดาษเป็นแนวยาว พอประทังไปได้อีกหลายพันหน้า แต่เมื่อถึงเวลาสิ้นลูกดรัม แถบสีดำก็จะพาดผ่าน ถึงกาลอวสานของลูกดรัมแล้ว

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ซื้อกระดาษ 10,000 รีม รับเอกสารถึง 4 ม.ค.55

กรมสอบสวนคดีพิเศษ ซื้อกระดาษถ่ายเอกสาร ขนาด A4 ความหนา 80 แกรม จำนวน 10,000 รีม ขอรับเอกสารตั้งแต่บัดนี้ถึง 4 มกราคม 2555 ติดต่อที่ ส่วนพัสดุและยานยนต์ กรมสอบสวนคดีพิเศษ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ โทร.0-28319888 ต่อ 3058,3057

Heat sink สะอาด ฟิล์มความร้อน Canon IR3530 อายุยืน

หนึ่งในอุปกรณ์สิ้นเปลืองในเครื่องถ่ายเอกสารรุ่นเล็ก จำพวก IR3530 หรือ IR3300 ที่จะต้องถามไถ่กันก่อนซื้อเครื่อง นอกเหนือจากลูกดรัม เบลด ก็เห็นจะหนีไม่พ้นฟิล์มความร้อน ซึ่งจะว่าไปก็ทำหน้าที่แทนลูกฮีต ของเครื่องใหญ่ สนนราคาก็เป็นที่ทราบกันอยู่ว่าราคาแพงพอสมควร แต่ก็มีเคล็ดลับวิธีที่จะยืดอายุฟิล์มความร้อนได้ นั่นคือหมั่นทำความสะอาด Heat sink ซึ่งหากเทียบกับเครื่องรุ่นใหญ่ ไอ้ฮีตซิงค์นี้ก็คือผ้าเว็บเราดีๆ นี่เอง ผ้าเว็บเมื่อใช้งานไปหมดก็ต้องเปลี่ยน แต่สำหรับเครื่องรุ่นเล็ก ฮีตซิงค์ไม่ต้องเปลี่ยน แต่สามารถทำความสะอาดได้

พัดลม CPU พัดลม CASE หยุดหมุน/ติดขัด ครางแกรกๆ

คอมพิวเตอร์ในร้านถ่ายเอกสาร ไม่จำเป็นต้องแรงจัดชัดจริง เหมือนคอมพิวเตอร์ในร้านเกมส์ หรือร้านอินเตอร์เน็ต บางทีเครื่องเก่าๆ ก็พอใช้ประทังทำมาหากินได้ แค่เสียบให้เจอ เปิดให้ได้ ปรินท์ให้ออก เป็นพอ คอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้บางทีอาจไม่ใหม่แกะกล่อง อาจมีปัญหามาให้เจอบ้างพอรำคาญใจ หากเปิดไฟล์ใหญ่ๆ แล้วเกิดอาการเมาค้าง มีเสียงแกรกๆ ดังมาจากเคส ก็ลองแกะฝาออกมาพิจารณาสักหน่อย

โดยพื้นๆ แกะมาเป่าฝุ่นทำความสะอาด คงเป็นเรื่องต้องทำเป็นระยะอยู่แล้ว แต่เมื่อเสียงแกรกๆ ดังมาจากพัดลม ไม่ว่าจะพัดลมเคส หรือพัดลม CPU ก็เริ่มจะสร้างความไม่สบายใจให้แล้ว เพราะเครื่องต้องเปิดรอลูกค้าตั้งแต่ร้านเปิดยันร้านปิด เผลอๆ แอบโหลด BIT เปิดทิ้งสองสามวันก็ยังมี พัดลมเคสยังแก้ปัญหาถอดเปลือยได้ แต่พัดลม CPU หากปล่อยไว้ อันตรายไม่ใช่น้อย

พัดลมจำพวกนี้ ทำหน้าที่ดูดออก พัดลม CPU ดูดลมร้อนจากฮีตซิงค์ ที่แนบกับ CPU เพื่อระบายความร้อนต่อให้พัดลมเคส ที่ดูดอากาศร้อนออกไปข้างนอก ... ไม่พูดพล่ามทำเพลง หมุนติดขัดหรือหยุดหมุน แกะสติ๊กเกอร์กลมๆ ทิ้งไปได้เลย เครื่องเก่าประมาณนี้ ไม่ต้องหวังไปเอาประกันกับพัดลมตัวละไม่กี่บาท และในเมื่อไม่มีอะไรต้องเสียแล้ว แกะเสร็จฉีด ZONAX เข้าไปเลยตรงกลาง เอามือหมุนๆ ให้คล่อง แล้วเปิดเครื่อง ถ้ายังไม่หมุนติ้วละก็ คราวนี้ลองเช็คสายดู ถ้าสายยังดี ก็ค่อยเสียตังค์เปลี่ยนพัดลมก็แล้วกันนะ

Canon IR3530 ขึ้นโค๊ด E0100-0001 ถอดชุดเลเซอร์มาทำความสะอาด

ปรินท์อย่างเดียวไม่ว่า ด้วยศักยภาพในการถ่ายต้นฉบับที่มีภาพสีเข้มๆ ทั้งหน้าหลัง ลงบนกระดาษ Green Read ซึ่งไม่รู้ว่าเก็บเอาไว้ตั้งแต่ปีไหน สภาพความชื้นสะสมค่อนข้างสูง เครื่องถ่ายเอกสารรุ่นใหญ่ ยอมแพ้หมด เพราะถ่ายหน้าหลังติดเซฟคอร์เป็นว่าเล่น ทำให้ในงานนี้ IR3530 และ IR3300 เป็นพระเอกในการถ่ายเอกสารในวันนี้

IR3530 ถ่ายลง Green Read ค้างปี แบบหน้าหลัง ไปได้เกือบ 10 รีม เครื่องเริ่มอ้อน โชว์โค๊ด E0100-0001 ขึ้นมา งานที่สั่งมาเครื่องนี้ทั้งหมด 500 เล่ม เลยต้องมานับใหม่ เพราะจำจำนวนไม่ได้ แม้จะปิดแล้วเปิดใหม่ สามารถถ่ายต่อไปได้ แต่ก็ยังคาใจว่า E0100-0001 เกิดมาจากอะไร เปิดตำราดู เค้าว่า สัญญาณ BD ไม่ถูกตรวจจับในเวลาที่กำหนด วันนี้นายช่างคนสนิทแวะเวียนมาไขปัญหา เลยได้ไขข้อข้องใจ

ปัญหา E0100-0001 เกิดจากชุดหัวยิงเลเซอร์เป็นหลัก รองลงมาก็คือกระจกทั้งหลายบนเครื่อง ทั้งแผ่นหลักที่วางต้นฉบับ และแผ่นเล็กสำหรับชุด Feeder รวมทั้งแผ่นขาวเช็คแสง ซึ่งปัญหากระจกชุดบนคงไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เป็นหน้าที่ต้องถอดมาเช็ดทำความสะอาดเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่พูดพล่ามทำเพลง ถอดชุดเลเซอร์ออกมาทำความสะอาดกันดีกว่า