การใช้คำสั่ง Area Designation เพื่อเลือกพื้นที่ถ่ายเอกสาร Canon iRC2880i

... จำได้ไหม ตายายยังจำได้ไหม ปู่ย่าจำได้ใช่ไหม สอนหนูอยู่แทบทุกปี ... พอจะจำกันได้ไหมครับ เมื่อครั้งยังใช้เครื่อง analog กันอยู่ เวลาต้องถ่ายฯ ปกให้ลูกค้า ก็จะใช้วิธีถ่ายต้นฉบับมาใบนึง ใช้คัตเตอร์ตัดส่วนที่ไม่ต้องการออก ใช้ลิขวิดเปเปอร์แต้ม ฯลฯ แล้วแต่จะสรรหาวิธีทำต้นฉบับเพื่อถ่ายฯ ปก ออกมาให้สวยที่สุด ถ้างานเร่งรีบมาก อย่างดีก็สั่งตัดขอบ เหลือแต่พื้นที่ที่ดมๆ เดาๆ เอา ว่าน่าจะออกมาสวยงามตามสเต็ป ... ต่อมาไม่นาน มีเครื่อง Digital ก็เริ่มเรียนรู้การใช้ Function ต่างๆ เพื่อจะทำปกออกมาให้ดีที่สุด .. ปกดำๆ ก็สั่งเป็น Negative ออกมาสวยงามได้ดั่งใจ แต่ก็ยังต้องพึ่งคัตเตอร์กับลิขวิดเปเปอร์อยู่ดี

เวลาผ่านไปคนไทยเริ่มรักกัน .. เอ๊ย ไม่ใช่ .. เครื่อง Digital รุ่นใหม่เริ่มมีคำสั่ง Scan หรือ Send ก็สแกนส่งไปคอมพิวเตอร์ แล้วไปแก้ไฟล์ใน Photoshop หรือ Illustrator แล้วแต่ถนัด .. แล้วค่อยสั่งปรินท์ ... ย้อนกลับคืนสู่สามัญ เมื่อมีเครื่องถ่ายเอกสารสีเข้ามาใช้ในร้าน .. ถ้าพอมีเวลาจะทำปกสี ก็ใช้วิธี Scan หรือ Send แก้ไขไฟล์ในคอมพิวเตอร์ดังเดิม .. แต่หากเจองานด่วนในเวลาเร่งรีบ จะใช้หลักการเดียวกัน Scan มาแก้ไฟล์ หรือถ่ายต้นฉบับออกมาเพื่อแก้ไขด้วยคัตเตอร์และลิขวิดเปเปอร์ ก็ดูเหมือนจะสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เพราะกว่าจะได้ต้นฉบับที่ต้องการ คมชัดสวยงาม คงต้องถ่ายกันหลายรอบน่าดู


iRC2880i แค่น็อตคลาย Bypass ก็งอแง ... จัดใหม่ให้แน่นๆ นะน้องนะ

เครื่องถ่ายเอกสารสี นอกจากจะเข้ามาแทนที่ Printer ในระบบ inkjet ได้อย่างรวดเร็วและสวยงามกว่ากันแล้ว หลักๆ ที่ซื้อหากันมาเสริมทัพในร้ายถ่ายเอกสาร ก็เห็นจะเป็นการปรินท์หรือถ่ายเอกสารกระดาษพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นปกขนาด A4 หรือ A3+ หรือโปสเตอร์ SRA3 ฯลฯ ซึ่งถาดกระดาษธรรมดา ไม่สามารถจำแนกชนิดกระดาษได้ เพราะอุณหภูมิความร้อนที่เหมาะสมกับกระดาษแต่ละชนิด สามารถปรับได้ที่ชุดถาดป้อนมือ หรือเรียกกันว่า Bypass ซึ่งสามารถเลือกขนาด ชนิดกระดาษและความหนาของกระดาษแต่ละชนิดได้ ซึ่งได้นำเสนอไปแล้วในบทความ http://photocopyslinsmile.blogspot.com/2014/04/bypass-canon.html


เมื่อใช้ไปนานๆ ถาด Bypass เริ่มจะงอแง ฟีดกระดาษบ้าง ไม่ฟีดกระดาษบ้าง หรือฟีดไปได้นิดเดียว ปลายกระดาษยังไม่แตะเซ็นเซอร์ด้านใน ก็หมดแรง ไปต่อไม่ไหว ... ขยันหน่อยก็ใช้มือช่วยดันเข้าไปถึงระดับเซ็นเซอร์ ดันแรงไปเข้าลึกเกินภาพก็แหว่งหายภาพไม่ตรงตำแหน่ง ดันเบาไปไม่ถึงเซ็นเซอร์ก็ฟ้องกระดาษติด ... เช็ดลูกยางก็แล้ว เป่าฝุ่นเซ็นเซอร์ก็แล้ว Bypass ก็ยังอ่อนแรง เงี่ยหูฟังดูดีๆ ขณะฟีดกระดาษมีเสียงดังแกรกๆ เหมือนกำลังพยายามทำหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วง ปรินท์ปกที ต้องยืนเฝ้าคอยใช้มือฟีดช่วยทีละใบๆ


วิธีแก้ปัญหา แผ่นรองหัวฟีด iR3300 สีคล้ำ เคลื่อนคล้อย หย่อนยาน

มนุษย์ให้ความหมายของสี ในแต่ละช่วงเวลา ของสรรพสิ่งต่างๆ ได้อย่างแยบยล ... คนเอเชียหรือประเทศแถบร้อน มักนิยมมีผิวขาว เพราะหมายถึงไม่ได้ไปทำงานกลางแจ้งนานๆ เจอแดดแรงๆ แล้วจะทำให้ผิวคล้ำลงเป็นผิวสีน้ำผึ้ง แต่คนทางเขตหนาว มักนิยมมีผิวสีแทน เพราะนั่นคือการได้ออกไปอาบแดด ท่องเที่ยว ไม่ต้องอุดอู้อยู่ในบ้าน หรือทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม จนสีผิวขาวผ่องเป็นยองใย ... ความหมายของสีและช่วงเวลาการใช้งานของสรรพสิ่งต่างๆ ถูกโยงเข้าด้วยกัน ของบางอย่าง แรกๆ มีสีชมพู เมื่อใช้งานไปก็สีเข้มขึ้นกลายเป็นสีน้ำตาล หนักเข้าก็เป็นสีดำ ถือเป็นสัจธรรมโดยแท้

แม้ว่าเครื่องถ่ายเอกสาร จะเป็นสิ่งหนึ่งที่ใช้งานไป ภาพจะซีดลง เพราะไม่ได้ทำความสะอาด กลไกในการสร้างภาพ แต่ก็มีสิ่งหนึ่งที่ใช้งานไปเรื่อยๆ สีจะเข้มขึ้น จากขาวนวลเนียน ก็จะเริ่มคล้ำลง ... ในที่นี้หมายถึงแผ่นรองหัวฟีด Canon iR3300 เครื่องตัวเล็กลายครามรุ่นยอดนิยม เมื่อใช้ไปนานๆ แผ่นรองต้นฉบับก็จะเริ่มมีสีเหลืองนวล หนักเข้าก็เหลื๊องเหลือง (แถวบ้านผมเรียก เหลืองเอิ่มเสิ่ม) สีเปลี่ยนไม่เท่าไร รูปลักษณ์บางเพรียวเรียบเนียน ก็เริ่มเคลื่อนคล้อย แอ่นป่องกลางลำตัว อีกทั้งฟองน้ำที่ยึดติดหนุนรองก็เสื่อมสภาพ หย่อนยานลง ไม่เต่งตึงเหมือนแรกๆ เวลาถ่ายงานก็จะเริ่มขึ้นพื้นตรงด้านหัวและท้าย เพราะแผ่นรองนี้ รูปร่างและสีสันเปลี่ยนไป ไม่สามารถทาบทับต้นฉบับได้เหมือนของใหม่

วิธีเปลี่ยนลูกดรัมเครื่องสี iRC2880i

ใดๆ ในโลกล้วนอนิจจัง ... เครื่องวิ่งก็พัง ไม่วิ่งก็ยิ่งพัง .. ใช้ไปๆ ไม่ว่าเครื่องดีแค่ไหนก็ต้องมีสักวัน .. จากวันวาน ใครเรียกขานถามมาว่า iRC2880i ที่ซื้อมาเป็นอย่างไรบ้าง ใช้ดีหรือไม่ ต้นทุนต่อแผ่นเท่าไร .. ก็จะตอบซ้ำๆ กันอยู่ว่า ใช้ดี ไม่มีปัญหา ต้นทุนต่อแผ่นเท่าไร ก็ไม่รู้ เพราะตั้งแต่ซื้อมาเกือบปี ยังไม่เคยแกะน็อตสักกะตัวเดียว .. เติมหมึกวิ่งงานอย่างบ้าคลั่ง จะมีบ้างก็ทำความสะอาดกระจก ใช้แกนผ้าที่ติดเครื่องมา เสียบๆ แยงๆ ถูๆ ตามรูที่เค้ากำหนดให้ทั้งสี่รู .. ก็เท่านั้นเอง

เวลาผ่านไปเกือบปี มิเตอร์วิ่งไปสามหมื่นกว่า ... ภาพเริ่มมีขีดขาวจางๆ เป็นเส้นๆ ลอง Test Print ออกมา โดยกด *28* > Copier > Test > PG > Type > 10 ก็พบว่าลูกดรัมสีฟ้าที่ติดเครื่องมา เริ่มสีออกมาไม่เต็ม มีขีดขาวๆ พาดอยู่ ... ลูกพี่ใหญ่ “ชนินทร์ สอนราช” แห่ง “เพื่อนร้านถ่ายเอกสาร” ให้คำแนะนำว่า ถอดลูกดรัมสีฟ้าออกมาสลับกับสีเหลือง ก็จะช่วยยืดอายุไปได้ เพราะสีเหลืองจะอ่อนกว่า มองเห็นไม่ค่อยชัดเหมือนสีฟ้า .. ทว่า แต่อ้อนแต่ออกมา ก็ไม่เคยแกะเครื่องสีเลย .. ภาพที่ออกมาก็ไม่เลวร้ายเท่าไร ก็เลยปล่อยไปสักพัก

สุดท้ายเริ่มสังเกตเห็นเส้นสีเหลือง เส้นเล็กๆ มองด้วยตาเปล่าขณะเมาเบียร์ไม่เห็น พาดเป็นเส้นยาว คราวนี้อดรนทนไม่ไหว กลัวงานจะออกมาไม่ได้ดั่งใจ ยกหูหาปรมาจารย์โก๊ะ แห่งเพื่อนร้านถ่ายเอกสาร ก็ทราบว่าท่านอยู่ต่างจังหวัด จึงส่งศิษย์พี่บิ๊ก “ขุนแผน แสนระทวย” มาช่วยกอบกู้สถานการณ์ โดยสลับลูกดรัมสีเหลือง กับสีฟ้า แล้วทดสอบออกมา คราวนี้ผลกลับกัน ภาพซีดเป็นเส้นสีฟ้าหายไป เพราะดรัมสีฟ้าถูกสลับไปใส่สีเหลือง แต่ดรัมสีเหลืองที่เอาไปใส่สีฟ้า ทำให้เส้นสีเหลืองบางๆ กลับกลายเป็นสีฟ้าชัดเจน พาดผ่านกลางกระดาษ .. อาการนี้ทำได้อย่างเดียวคือ เปลี่ยนลูกดรัมทั้งสองลูก

การเลือกปรับอุณหภูมิถาด Bypass เครื่อง Canon ตามชนิดของกระดาษแต่ละประเภท

สงสัยกันมานาน เวลายัดกระดาษใส่ถาด Bypass เพื่อถ่ายฯ ปก หรือถ่ายฯ กระดาษแปลกประหลาดทั้งหลาย .. ว่าควรจะเลือกชนิดของกระดาษเป็นอะไรดี .. เพราะอุณหภูมิของเครื่องจะถูกปรับให้สูงหรือต่ำ ตามชนิดของกระดาษที่เลือก .. ถ้าหนามาก เครื่องก็จะต้องร้อนหน่อย เพื่อให้หมึกพิมพ์สามารถซึมเข้าไปแนบแน่นกับเนื้อกระดาษได้อย่างแนบแน่น ... แต่ถ้ากระดาษบางเกินไป แต่เลือกความร้อนสูง ความเสี่ยงที่กระดาษจะงอยับย่นติดชุดความร้อน ก็สูง .. ก็หนูออกจะบอบบาง ไม่สามารถผจญภาวะความร้อนสูงได้ เลือกแบบหนาถึกบึกบึน ... จะใจร้ายกับหนูมากเกินไปหรือเปล่า

ที่ผ่านมาใช้ประสบการณ์จากการลองผิดลองถูก ถ่ายออกมาแล้วเอามือลบได้หรือเปล่า กลัวไม่ชัวร์ก็เอาผ้าถูๆ เอาเลย ... ต่อมาก็เดาเอารูปตัวอย่างที่เค้าให้มา ขั้นสูงหน่อยก็เดาตามตรรกศาสตร์ ว่าอุณหภูมิของกระดาษแต่ละประเภท น่าจะไล่จากซ้ายไปขวา บนไปล่าง ... หรือเดาเอาตามคำแปลเลย Color กระดาษสี Coated กระดาษอาร์ต ..บางเมนูที่ให้เลือก พอเดาได้ไม่อยาก อาทิ แผ่นใส ไม่ต้องคิดอะไรมาก กดปุ่ม Transparency ไปได้เลย .. แต่ถ้ากระดาษแปลกๆ อย่างอาร์ตมัน 130 แกรมกับ 260 แกรม มันไม่น่าจะเลือก Coated เหมือนกัน ... เราควรจะตั้งค่ากระดาษเป็นอะไรดี เพื่อให้เครื่องปรับอุณหภูมิได้เหมาะสม ออกมาสวยงาม ไม่หลุดร่อน หรือยับติดชุดความร้อน

Canon Error Code E823, E824, E830

E823 เกิดจาก พัดลมชุดชาร์จไฟปรีทรานสเฟอร์ (FM10) เสีย เนื่องจากสัญญาณ Lock (FM10LCK) ถูกตรวจพบนาน 5 วินาที หรือมากกว่านั้น ในขณะที่พัดลมชุดชาร์จไฟปรีทรานสเฟอร์ (FM10) กำลังถูกขับเคลื่อนอยู่ ลองตรวจเช็คดูว่ามีอะไรไปขวางให้มันหยุดหมุน หรือมันไม่หมุนเพราะเสียจริงๆ  ... เกินกว่านี้ค่อยไล่ไปดูสายไฟอื่นๆ แถวๆ นี้ เน้นที่คอนเน็คเตอร์ J504 บนแผง DC ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็ ค่อยไปลุยหาแผง DC controller PCB มาลองเปลี่ยนดู

มาว่ากันต่อ E824 อันนี้เกิดจาก พัดลมชุดชาร์ตไฟไพรมารี (FM1) เสีย ภาษาบ้านๆ ก็เรียกบล็อกล่าง ... พัดลมตัวเล็กๆ ที่ดูดความร้อนจากบล็อกล่างมีปัญหา .. เครื่องก็ได้รับสัญญาณ Lock (FM1LCK) นาน 5 วินาที หรือมากกว่านั้น ในขณะที่พัดลมชุดชาร์ตไฟไพรมารี (FM1) ถูกสั่งให้ขับเคลื่อนอยู่ ถ้าไม่ใช่ที่พัดลมก็เป็นคอนเน็คเตอร์ J504 บนแผง DC ไล่ถอดออกเสียบใหม่ดูก่อนก็ได้ ถ้าเกินไปกว่านี้ก็เปลี่ยนแผง DC

Canon Error Code E804, E805, E820

E804 เกิดจาก พัดลมให้ความเย็น Power supply (1 และ 2) เสีย นอกเสียจากนี้ก็แผง DC controller PCB เสีย ถ้าแผงไม่เสียก็เกิดจากการเดินสายไฟเสีย ซึ่งอาจเกิดจากวงจรช็อต หรือวงจรขาด ... โดย E804 จะเกิดขึ้นได้เมื่อสัญญาณ Lock (FM1LCK, FM2LCK) ถูกตรวจพบนาน 5 วินาที หรือมากกว่านั้น ในขณะที่พัดลมให้ความเย็น Power supply (1 และ 2) กำลังถูกขับเคลื่อนอยู่

เล่นกันแบบง่ายๆ อันดับแรกเช็คพัดลม Power supply ก่อน ว่าหมุนหรือไม่ .. ไล่จากสายไฟที่เสียบจากปลั๊ก จะเข้า Power supply ก่อน มีพัดลมอะไรแถวๆ นั้นหยุดหมุน หรือมีอะไรไปขัดขวางการหมุนหรือไม่ ... ถ้าไม่มีชัวร์ ค่อยไล่ไปดูสายไฟอื่นๆ ที่เข้ามาใน Power supply โดยเฉพาะคอนเนคเตอร์ J505 บนแผง DC จากนั้นค่อยไปหาแผง DC

อะไหล่ iR600 มือสองขายทอดตลาด หาเงินค่านมลูกครับ ...

คำบะเก่าแต่โบราณท่านว่าไว้ว่า "ของบ่เขียม มันหายาก" .. แปลเป็นภาษาไทยยุคปัจจุบันว่า .. ของอะไรที่มันใกล้หูใกล้ตา วางเรี่ยราดไปมา มันก็ไม่ค่อยมีค่าอะไร .. ประมาณว่ามันมีเยอะ .. แต่ของบ่เขียมที่มีเยอะแยะนี้เอง .. อาจเป็นของที่ใครหลายๆ คนอยากได้ และพยายามเสาะหา .. ประหนึ่งว่าเป็นของหายากมากๆ .. ถึงเวลาจะใช้มันหาไม่เจอ .. หรืออีกนัยหนึ่งคือ ... ตอนไม่จำเป็นมีเยอะแยะมากมายจนต้องทิ้ง แต่เวลาจะใช้ เสาะหาที่ไหนก็ไม่มี ... ประมาณนั้น


วิธีติดตั้งเพื่อใช้งานคำสั่ง SEND สำหรับเครื่องถ่ายเอกสาร Canon iR7105 – iRC2880i

คำสั่ง SEND เป็นคำสั่งที่มักติดมากับเครื่องถ่ายเอกสาร Canon รุ่นใหม่ทั่วๆ ไป มีประโยชน์มากมาย ใช้ได้ดีกว่าการใช้คำสั่ง SCAN เพราะสามารถเก็บไฟล์ต้นฉบับได้ครบทุกรูปแบบจากเครื่องถ่ายเอกสารได้เลย .. ทั้ง PDF, TIFF, JPG ไม่ต้องมานั่งกดจากหน้าคอมพิวเตอร์เหมือนคำสั่ง SCAN แถมยังเก็บต้นฉบับได้ทั้งเล่มผ่าน ADF หรือ Feeder เป็นไฟล์ PDF ทำให้ง่ายต่อการทำสำเนาครั้งต่อไป เพียงแค่สั่งปรินท์ .. แม้แต่ไฟล์ขนาดประหลาด ก็สามารถเลือกพื้นที่สแกน เก็บเป็นไฟล์ Pdf แล้วสั่งปรินท์เป็นขนาด Fit to page ได้ โดยไม่ต้องลำบากย่อขยายต้นฉบับ .. ซึ่งสำหรับบทความนี้ ขออนุญาตนำเสนอสองรุ่นนี้ เพราะเป็นรุ่นที่ใช้อยู่ .. โดยขอยกเอา iRC2880i ซึ่งเป็นเครื่องสีมาเป็นตัวอย่างในการติดตั้ง ...

ก่อนอื่นต้องอธิบายว่าการใช้คำสั่ง SEND คือการทำงานประสานกันระหว่างเครื่องถ่ายเอกสารกับคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ทั้งสองอย่างต้องทำความรู้จักกันก่อน นั่นคือ ควรจะลงเครื่องถ่ายเอกสารให้เป็นปรินท์เตอร์ให้เรียบร้อยก่อน ซึ่งผมจะขอข้ามไปในขั้นตอนนี้ เพราะได้นำเสนอไปแล้วในบทความ http://photocopyslinsmile.blogspot.com/2012/12/driver-printer-canon-ir3300-search-for.html และ http://photocopyslinsmile.blogspot.com/2012/12/driver-printer-canon-ir3530-manual-set.html ทั้งแบบ Search และ Manual .. เอาเป็นว่าทำอย่างไรก็ได้ให้เครื่องถ่ายเอกสารและคอมพิวเตอร์รู้จัก IP กันเป็นที่เรียบร้อยก่อนก็แล้วกันนะ

เพื่อนใหม่ ... มาในยามยาก Canon IR7105 แสงสว่างปลายอุโมงค์โดยแท้

หลังจากแทบกินไม่ได้นอนไม่หลับไปหลายวัน เพราะปรินท์งานกับ IR3300, IR3530 ที่มีอยู่ ... ไหนจะคอยเปลี่ยนดรัม เปลี่ยนฟิล์ม ไกด์หลุด ลูกยางพัง ชุดความร้อนเดี้ยง ฯลฯ .. เพราะมันไม่ได้สร้างมาเพื่องานปรินท์จำนวน  ไอ้ตัวที่ช้าผ่านได้แต่ก็อืดอาดเหลือใจ ไอ้ตัวเร็วไปได้ แต่ชุดความร้อนก็สู้ไม่ไหว ... งานหน้าร้านก็วุ่นวาย หัวหมุนอยู่คนเดียว .. เล่นเอาหงุดหงิดพาลทะเลาะใครต่อใครไปหลายคน .. ท่ามกลางความสับสนนั้นเอง .. แสงสว่างปลายอุโมงค์ ก็ลอดเข้ามา ...