Xerox ติดโค๊ด สายเสียบไม่แน่น 016-231, 016-311, 016-315, 016-799

016-231 เกิดจากความผิดพลาดในการเสียบสายอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ อาทิ สายเสียบหลังเครื่อง จำพวกสายสแกน สายแผงปรินท์ เสียบไม่แน่น ให้ปิดเครื่องก่อนแล้วลองเสียบสายอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ ข้างหลังเครื่อง ให้เรียบร้อย โดยเน้นไปที่สายสแกน และสายเชื่อมต่อหน้าจอ

016-311 Scanner not detected เครื่องถ่ายเอกสารตรวจไม่พบชุดสแกนภาพ อาจเกิดจากสายสแกนเสียบไม่แน่น ให้ตรวจสอบการเสียบสายต่างๆ ข้างหลังเครื่อง โดยเน้นไปที่จุดเชื่อมต่อหลังชุดสแกน และจุดเชื่อมต่อแผงปรินท์


วิธีเคลียร์ฮาร์ดดิส “เคลียร์ 4” กรณี Software ล้มเหลว 016-213, 016-405, 016-450

016-XXX Generally : Options or Software Failures โค๊ดที่ขึ้นต้นด้วย 016 เกิดจากชุดคำสั่งที่ป้อนไปยังอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออยู่กับเครื่องถ่ายเอกสารทำงานล้มเหลว หรือชุดคำสั่งไม่สามารถป้อนคำสั่งให้เครื่องถ่ายเอกสารบรรลุผลในการทำงานได้ สาเหตุหลักๆ แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือความผิดพลาดของอุปกรณ์ Hardware และความผิดพลาดของชุดคำสั่ง Software

ในส่วนของ Hardware อาจเกิดจากความผิดพลาดในการเสียบสายอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ อาทิ สายเสียบหลังเครื่อง จำพวกสายสแกน สายแผงปรินท์ เสียบไม่แน่น ให้ปิดเครื่องก่อนแล้วลองเสียบสายเชื่อมต่อทั้งหมดใหม่ และในส่วนของ Software เป็นไปได้ว่าชุดคำสั่งที่ป้อนไปยัง Hard disk อาจล้มเหลว ให้ลองเคลียร์ฮาร์ดดิส หรือเคลียร์ 4 เพื่อให้ฮาร์ดดิสประมวลผลคำสั่งใหม่อีกครั้ง

วิธีเคลียร์ 4 หรือวิธีเคลียร์ฮาร์ดดิส Fuji Xerox

Xerox Error Code 012-101, 012-102, 012-103 กระดาษติดฟินน์

012-XXX Generally : Finisher problems โค๊ดที่ขึ้นต้นด้วย 012 ปัญหาจะเกี่ยวกับชุดเรียงอัตโนมัติ หรือทั่วไปในวงการถ่ายเอกสาร เรียกทับศัพท์ว่าฟินิชเชอร์ เรียกสั้นๆ เอามันส์ว่า “ฟินน์”

012-101 ปัญหาเกิดบริเวณ ทางเข้าฟินิชเชอร์ กระดาษมักจะติดใกล้กับ Sponge Roller คำว่า Sponge ถ้าเป็นคำนามแปลว่า “ฟองน้ำ” เมื่อนำไปรวมกับ Roller หรือ “ลูกกลิ้ง” ก็กลายเป็นลูกกลิ้งฟองน้ำ หรือที่เรียกกันในวงการถ่ายเอกสารว่า “สป็องค์” จริงๆ แล้วเรียก Sponge อย่างเดียวฝรั่งอาจงง เพราะหากนำไปรวมกับคำอื่นความหมายจะเปลี่ยนไป เช่น Sponge on แปลว่า อาศัย พึ่งพิง ยังชีพด้วยเงินผู้อื่น หรือ Sponge off แปลแบบสุภาพสุดๆ ได้ว่า “เกาะกิน”

เบื้องต้นตรวจสอบ ลูกกลิ้งฟองน้ำ ตำแหน่ง 1C ตรงทางเข้าฟินิชเชอร์ ว่าสป็องค์มีการยุบตัว คลายตัว เป็นปกติหรือไม่ หากบีบแล้วยุบยาวยุบนาน เป็นมะเขือเผา ให้ทำการเปลี่ยน นอกจากนั้นแล้วให้ตรวจสอบอุปกรณ์พ่วงจากสป็องค์ อาทิ Sponge Roller Buckle คำว่า Buckle แปลว่า หัวเข็มขัด แปลตรงตัวคือเข็มขัดรัดลูกยางฟองน้ำ บางทีช่างชอบเรียกว่าอาร์มสป็องค์ ตรวจเช็คดูว่ามีหักมีร้าวบ้างหรือไม่

Xerox Error Code 010-910, 010-398, 010-370, 010-374, 010-375, 010-376

010-910 เกิดจากสายพานทำความสะอาดลูกกลิ้งชุดความร้อน มีความผิดปกติ ภาษาบ้านๆ เรียกผ้าเว็บหมด ให้ทำการเปลี่ยนผ้าเว็บเก่าออกทิ้ง แล้วใส่ผ้าเว็บใหม่เข้าไปให้เรียบร้อย ต่อจากนั้นก็จัดการเคลียร์โค๊ด โดยการกดปุ่มเลข 9 ค้างไว้ แล้วกดปุ่ม Stop เครื่องจะถามยืนยันการเปลี่ยนผ้าเว็บ ให้กด Yes แล้วใช้งานต่อได้เลย

010-398 ตำราภาษาอังกฤษระบุว่า Fuser Fan Error แปลตรงตัว Fuser คือตัวทำความร้อนในชุดผนึกภาพ มีหน้าที่รีดผนึกผงหมึกให้ติดอยู่กับกระดาษ ส่วน Fan คือพัดลม ภายในชุดความร้อนจะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม โดยมีการใช้พัดลมระบายความร้อนช่วยในการควบคุมอุณหภูมิ หากพัดลมไม่หมุน หมุนอ่อนแรง หรือมีวัตถุแปลกปลอมเข้าไปขัดขวางการหมุน ระบบป้องกันตัวเองของเครื่องถ่ายเอกสาร จะแจ้งเตือน 010-398 เพื่อป้องกันความเสียหายของชุดความร้อน อันเกิดจากการผิดพลาดของอุณหภูมิภายในชุดความร้อน

ฟูจิ ซีร็อกซ์ Error Code 010-328, 010-330, 010-333, 010-334, 010-337, 010-338

010-328 ชุดความร้อน หรืออะไหล่ในชุดความร้อน ได้รับแรงดันไฟฟ้าไม่ตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ควรตรวจสอบค่าแรงดันไฟฟ้าให้รอบคอบว่าชุดความร้อน ใช้ไฟแรงดัน 110 โวลต์ หรือ 220 โวลต์ รวมทั้งตรวจสอบฟิวส์หรือหลอดชุดความร้อน ว่าวงจรขาดหรือไม่ ถ้าตรวจสอบทุกอย่างดีแล้ว เข้าไปเคลียร์โค๊ด NVM : 744-455=0

010-330 โค๊ดนี้เกิดจากความผิดปกติของชุดความร้อน มีอาการไม่หมุน หรือหมุนไม่สะดวก ตำราภาษาอังกฤษว่า Fuser Motor Failure หรือมอเตอร์ไม่หมุน ให้ถอดชุดความร้อนออกมาตรวจสอบสาเหตุของการหมุน เริ่มตั้งแต่ส่วนประกอบของลูกฮีตบน ได้แก่ชุดลูกปืนบน เฟืองฮีต หรือเฟืองชุดความร้อน 3 ตัวหลัง รวมทั้งส่วนประกอบต่างๆ ของลูกล่าง แต่ถ้ารื้อชุดความร้อนมาดูแล้วทุกอย่างปกติ ให้ลองใช้ประแจเบอร์ 12 หมุนคลายแรงกดลูกฮีตออกสัก 3-5 รอบ

ฟูจิ ซีร็อกซ์ ติดโค๊ด ชุดความร้อน 010-317, 010-318, 010-319, 010-320, 010-326, 010-327

010-317 ตรวจเช็คหลอดความร้อน โดยใช้มัลติมิเตอร์วัดว่าหลอดขาดหรือไม่กรณีที่เช็คแล้วพบว่าหลอดขาด ให้ตรวจเช็คเทอร์มิเตอร์ด้วย เนื่องจากเทอร์มิเตอร์คือตัวตรวจเช็คอุณหภูมิ การที่หลอดความร้อนขาดอาจเกิดจากเทอร์มิเตอร์ตรวจเช็คอุณหภูมิผิดพลาด และไม่สั่งให้หลอดความร้อนตัดอุณหภูมิ ทำให้อุณหภูมิของหลอดร้อนเกินไปจนทำให้วงจรขาดในที่สุด Fuser Overheat problem reported by the rear control thermistor in the Fuser.

010-318 มีความผิดพลาดในการติดตั้งชุดความร้อน อาจเป็นตำแหน่งการติดตั้ง หรืออุปกรณ์ส่วนประกอบอะไหล่ต่างๆ ของชุดความร้อนไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งเป็นไปได้ว่าชุดความร้อนหรืออะไหล่ในชุดความร้อน ไม่ตรงกับค่าที่เครื่องต้องการ หรือชุดความร้อนไม่ตรงกับรุ่นของเครื่อง

ฟูจิ ซีร็อกซ์ Error Code เกี่ยวกับชุดความร้อน 010-311, 010-312, 010-313, 010-314, 010-315, 010-316

010-XXX เกี่ยวข้องกับหน่วยผนึกภาพ หรือชุดความร้อน Generally : Fuser faults เกิดความผิดปกติในตัวชุดความร้อน

010-311 ตรวจสอบหลอดความร้อน สภาพหลอดและสายขั้วหลอด หรือใช้มัลติมิเตอร์วัด ปรับตั้งสวิทซ์ไปย่านโอห์ม ตั้ง X10 ใช้สายมัลติมิเตอร์เช็คสายขั้วหลอดว่าหลอดขาดหรือไม่ รวมทั้งตรวจเช็คตัววัดอุณหภูมิ หรือเทอร์มิเตอร์ ทั้งหมด 3 ตัว ทำความสะอาดหน้าสัมผัส ตรวจสอบตำแหน่งที่เทอร์มิเตอร์สัมผัสลูกกลิ้งความร้อน

010-312 ตรวจสอบฟิวส์ชุดความร้อน โดยปรับมัลติมิเตอร์ไปที่ย่านโอห์ม ตั้ง X10 ใช้สายมัลติมิเตอร์แตะปลายแต่ละด้านของฟิวส์ เพื่อตรวจเช็คว่าฟิวส์ขาดหรือไม่

ฟูจิ ซีร็อกซ์ ADF Error Code 005-302, 005-304, 005-305, 005-307, 005-906 – 005-918, 005-942, 005-943

005-3XX เซ็นเซอร์หัวฝีดเช็คได้ว่ามีข้อผิดพลาดในส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องในการฝีดต้นฉบับ จำพวกฝา หรือบานพับต่างๆ ที่เปิดปิดได้ทั้งหลายในหัวฝีด ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง หรือมีความผิดพลาดที่ตรวจเช็คได้ ขณะต้นฉบับกำลังเดินทางผ่านส่วนประกอบต่างๆ ของหัวฝีด

005-302 ถาดป้อนต้นฉบับบนฝาฝีด ถูกเปิดออก Document Tray Interlock Open.

005-304 ต้นฉบับบนกระจก หรือกระจกอ่านต้นฉบับถูกเปิดออก หรือไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง Document Platen Interlock Open.

005-305 เครื่องตรวจเช็คว่าฝาฝีดด้านบนได้เปิดขึ้น ขณะที่หัวฟีดกำลังป้อนกระดาษต้นฉบับ Document Top Cover Interlock opened during job.

Fuji Xerox ฝีดป้อนต้นฉบับ Error Code 005-280, 005-283, 005-284, 005-285, 005-286

005-2XX เกี่ยวข้องกับการตรวจเช็คต้นฉบับของหัวฝีด โดยที่เซ็นเซอร์หัวฝีดเช็คต้นฉบับได้ว่าผิดปกติ หรือระหว่างการป้อนต้นฉบับ เกิดการสะดุด หรือจังหวะการป้อนต้นฉบับเกิดความผิดพลาด

005-280 เซ็นเซอร์ฝาฝีดสกปรก ใช้โบรวเวอร์เป่าฝุ่น หรือล้างเซ็นเซอร์ฝาฝีด Document Feeder Communication Errors.

005-283 เช็คเซ็นเซอร์ตัวดันต้นฉบับเข้าฝาฝีด Document Nudger Sensor

ฟูจิ ซีร็อกซ์ ขึ้นโค๊ด หัวฝีดต้นฉบับ 005-121 - 005-147, 005-194 - 005-199, 005-196

005-1XX โค๊ดที่ขึ้นต้นด้วย 005 โดยทั่วไปเกิดจากหัวฝีดกระดาษมีปัญหา Generally : Document Feeder Problems บางทีก็เรียกกันสั้นๆ ว่า ADF ย่อมาจาก Automatic Documents Feeder

005-121 – 005-147 กระดาษติดฝาฝีด ลองตรวจเช็คทางเดินต้นฉบับบนฝาฝีด Document Jams.

Fuji Xerox ติด Error Code โปรดอ่านก่อน เคลียร์โค๊ด NVM

ปฐมบทว่าด้วยเรื่อง NVM Read / Write 
ตำรา Error Code มรดกจากอดีตช่างผู้ผันตัวมาทำเครื่องเช่า ตกทอดกันมาถึงมือใหม่หัดใช้ Xerox ในวันที่ร้านสลิลสไมล์มีเครื่อง Fuji Xerox อยู่ด้วยกัน 3 รุ่น คือ เครื่องสีเล็กพริกขี้หนู  Xerox WorkCentre 7435 เครื่องขาวดำตัวน้อย Xerox WorkCentre 5230 และเครื่องน้องใหม่ตัวใหญ่ไฟแรง Xerox 4110 นับเป็นเรื่องน่ายินดีที่พี่ช่างยินดีแบ่งปัน ตำราลายแทงขุมทรัพย์ ให้มาร่วมกันค้นหา เพราะลายแทงนี้ดูแล้วยิ่งกว่าอินเดียนน่า โจร? ลักจดลักจำคัดลอกกันมา จากต้นฉบับภาษาอังกฤษ ที่มีให้ดาวน์โหลดอยู่ทั่วไป แต่แปรเปลี่ยนไปเป็นภาษาที่ยิ่งอ่านยิ่งไม่เข้าใจ

ลายแทงถูกรวบรวมและแปลต่อๆ กันมา ไม่น่าใช่ภาษาไทย เข้าใจว่าเป็นภาษาช่าง มีทั้งขีดฆ่าแต่งเติม หลากหลายลายมือ ไม่รู้ว่าลายมือไหนเป็น Xerox รุ่นอะไร ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณในการรับชม ไม่มีอะไรการันตีว่าโค๊ดนี้จะต้องแก้ด้วยวิธีนี้เสมอไป ไม่มีใครอยู่หน้าเครื่องคุณ และโค๊ดที่ปรากฏอาจไม่ใช่เครื่องรุ่นของคุณ แต่อาจใช้เป็นแนวทางนำไปเปรียบเทียบปรับใช้กับเครื่องของคุณได้ และหากมีข้อแก้ไขได้อย่างไรหากมีน้ำใจขอร่วมด้วยช่วยเติมให้ลายแทงนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นก็จะขอขอบพระคุณยิ่ง ขอให้กุศลผลบุญที่ร่วมกันเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้ที่ยังไม่รู้ ช่วยดลบันดาลให้ทุกท่านเครื่องวิ่งดี ภาพสีงดงาม งานไหลมาเทมา เจริญก้าวหน้า ร่ำรวยอื้อซ่าต่อไปในอนาคต

ตราบใดที่หัวเลเซอร์ยังไม่ขึ้นโค๊ด ปรับค่าไฟโหดๆ ให้ Canon iR7095

เมื่อเดือนก่อนโพสต์ขายหัวเลเซอร์ Canon iR7095 ไปในราคาพันกว่าบาท ก็มีคนทักมาว่าทำไมถึงขายถูกนัก แล้วมันจะดีไหม ซื้อไปจะขึ้นโค๊ดหรือเปล่า ถึงจะปิดการขายไปนานแล้ว แต่ก็ขอโฆษณารายละเอียดต่อไปหน่อยว่า หัวเลเซอร์ตัวนี้ ถอดมาจาก iR7095 เครื่องเก่าที่มอนทาเลย์เสีย ค่า DPOT 160 ภาพเริ่มซีดบ้าง อาศัยใช้วิธีปรับค่าไฟ ร่วมกับตั้งสายโคโรนาบล็อกบน แต่ยังไม่เคยขึ้นโค๊ด E110 รวมทั้งยังไม่เคยปรับค่าหัวเลเซอร์ พออธิบายจบ คำถามก็พรั่งพรูตามเข้ามา อาทิ ค่า DPOT คืออะไร ภาพซีดขณะปรินท์หรือถ่าย ปรับค่าไฟยังไงให้เข้ม ค่าหัวเลเซอร์ เข้าไปปรับที่ไหน ฯลฯ

เอาเป็นว่าเริ่มจากค่า DPOT ก่อนละกัน มันคืออะไร เปิด Google ถามอากู๋ก็ไม่มีคำตอบ รู้แต่ว่าถ้าจะมีการซื้อขายเครื่องซีรีย์นี้ iR7095 iR7105 ต้องเปิดเข้าไปดูค่า DPOT เสียก่อน บางทีขอดูค่า DPOT ก่อนจะดู Test ดรัม ด้วยซ้ำ เพราะแคนนอนซีรีย์นี้จะล้มเครื่อง หลักๆ ก็หัวเลเซอร์กับกล่องมอนทาเลย์ แต่ก่อนนี้ราคามือ 2 ตกอยู่หมื่นกว่าบาททีเดียว ถ้า 2 อย่างนี้พังก็ชั่งโลขายดีกว่า แต่หัวเลเซอร์ที่จะขายได้ราคา ขึ้นอยู่กับค่า DPOT ด้วย กดเข้าไปดูได้เลย เข้าโหมดช่าง *28* / Copier / DPOT แล้วเข้าไปดูค่าบรรทัดที่ 3 คือ VL1M ว่ากี่ V ปกติหัวเลเซอร์ใหม่ๆ จะอยู่ประมาณ 62 – 70 V