กระดาษตายชุดอินเวิร์ด เหตุเกิดแถวชุดดูเพล็กซ์ 077-111, 077-112, 077-113, 077-114, 077-115, 077-118

077-111โค๊ดนี้มักโชว์กับ Xerox ตัวใหญ่ กระดาษถ่ายหน้าหลังผ่าน แต่ถ่ายเป็นหน้าเดียวแล้วติด กระดาษวิ่งออกจากชุดความร้อนมาแล้ว มุดลงทางต่างระดับ บริเวณที่เกิดเหตุอยู่แถวทางเดิน ระหว่างชุดอินเวิร์ด กับชุดดูเพล็กซ์ สิ่งแรกที่ต้องทำ ณ จุดเกิดเหตุ เช็คชุดดูเพล็กซ์ก่อน เริ่มจากลูกปืนวันเวย์ดูเพล็กซ์ ให้ถอดออกมาหล่อลื่น พร้อมทั้งล้างขัดแกนลูกปืนวันเวย์ โดยแกนลูกปืนก็คือแกนลูกยางที่จะหมุนแนบกับ Pinch Roll ดูเพล็ก หรือบางตำราเรียกแกนพลาสติกดำๆ นี้ว่า Duplex Unit Paper Pickup Roller 


ดังนั้นแกนลูกปืนต้องสะอาด ไม่ขรุขระสนิมเขรอะ และต้องไม่สึกจนคอดกิ่ว เพราะลูกปืนวันเวย์จะล็อคแกนไว้ขณะสายพานหมุนเฟืองลูกปืน และจะปล่อยฟรีหากหมุนกลับอีกทาง เพราะชื่อลูกปืนก็บอกว่าวันเวย์ จะขับย้อนศรไม่ได้ เช็คดูเพล็กซ์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ให้ย้อนกลับไปตรวจเช็คชุดก่อนหน้า คือชุดอินเวิร์ด ให้ถอดมาหล่อลื่นแกนอินเวิร์ด ตรวจเช็ค Pinch Roll แกนพลาสติกด้านใน ทำหน้าที่หมุนแนบไปกับลูกยาง 4 ตัว ดังนั้นต้องกลมเนียนหนีบกระดาษเคลื่อนที่ไปตามการหมุน เพื่อส่งกระดาษต่อไปยังชุดดูเพล็กซ์

Fuji Xerox กระดาษติด ชีวิตเปลี่ยน 077-101, 077-102, 077-103, 077-106, 077-107, 077-109, 077-110

ขึ้นต้นด้วย 077-XXX เป็นโค๊ดกระดาษติดตามทางเดิน ตัวเลข Error Code มักเรียงไปตามทางเดินกระดาษ ระยะต่างๆ เริ่มตั้งแต่ออกถาดกระดาษมา 077-101 กระดาษใบที่มีปัญหาวิ่งออกจากชุดฟีดถาด 1 มุ่งตรงไปจัดหัวแถวให้ตรงที่ชุดรีจิสต์  ตรวจเช็คตั้งแต่ลูกยางต้นทางชุดฟีดกระดาษ ไปจนถึงชุดรีจิสต์ ให้ลองล้างหรือเปลี่ยนคลัทซ์รีจิสต์ ถ้าเป็นเครื่องเล็กจำพวก 5230/5335 ให้หล่อลื่นขั้วสปริงด้านในชุดดรัม เช็คพลาสติกทางขึ้นก่อนถึงชุดดรัม ไกด์ดรัม หรือหาความผิดปกติตลอดทางฝาข้างทั้งหมด ทั้งนี้ อาจรวมไปถึงก้านเซ็นเซอร์ทางออกชุดความร้อน ส่วนโค๊ดถัดมา 077-102 ก็จะคล้ายกันกับ 077-101 แต่เน้นพ่งเป้าไปที่ชุดฟีดถาด 2

โค๊ด 077-103 หากถ่ายหน้าหลัง มักมีกระดาษค้างอยู่ที่ชุดทางออก แต่สาเหตุอาจเกิดจากมอเตอร์ชุดไดรฟ์ หรือชุดขับเคลื่อนชุดความร้อน ที่กระดาษเดินทางไปไม่ถึงตามเวลาที่กำหนดไว้ ให้ตรวจเช็คชุดไดรฟ์บน แกนขาวบนขบกับเฟืองสีดำ หรือเฟืองขัดแกนทางออกทำให้ชุดไดรฟ์สะดุด หรือถ้าชุดไดรฟ์ปกติดี ให้ลองตรวจสอบแผงเล็กข้างกระบอกหมึก ทั้งนี้ถ้ามีกระดาษติดฟินิชเชอร์ อาจเป็นได้ว่าเกิดจากคลัชสป็องค์ฟินิชเชอร์ ให้ลองตรวจเช็คคลัชสป็องค์หรืออาร์มสป็องค์ แต่ถ้าเป็นเครื่องเล็ก ให้สันนิษฐานว่าชุดคลัทซ์รีจิสต์เสีย ชุดความร้อนไม่หมุน ให้ตรวจสอบชุดรีจิสต์ ก้านเซ็นเซอร์ทางออก เซ็นเซอร์ตัวกลางชุดทางออก

ทำ Interlock ใช้เอง ไม่เกรงใจ Xerox ฐานโชว์โค๊ดหลอก 010-315, 077-311, 091-311, 091-312

Fuji Xerox 4110 โชว์โค๊ดสลับกันไปมา 010-315, 077-311, 091-311, 091-312 ลองตรวจเช็คเบื้องต้นดูแล้ว ไม่น่าเป็นไปได้ที่จะแข่งกันฟ้อง Error ในส่วนงานที่ไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกันเท่าไร เรียกว่าโชว์มั่ว ตั้งแต่ โค๊ด 010-315 คร่าวๆ คือฟ้องว่าชุดไดรฟ์ขับเคลื่อนชุดความร้อน มีปัญหา อาจเป็นลูกปืน แหวนรองคลัทซ์ คลัทซ์ชุดไดรฟ์ หรือไม่ก็สวิตซ์ฝาหน้าเสีย ดูตำราแล้วต้องรื้อยาว เลยแกล้งทำเป็นไม่สนใจ ปิดเปิดเครื่องใหม่ ปล่อยให้วิ่งต่อไป วิ่งได้ไม่เท่าไร กลับสลับมาโชว์ 077-311ฟ้องไปให้เช็คชุดดูเพล็กซ์ เปลี่ยนโค๊ดเหมือนโหลดหนังผิดเรื่องทีเดียว

Xerox โชว์โค๊ด 073-102, 073-103, 074-210, 075-211 เช็คชุดฟีดถาด 3 - 4 – 5

โค๊ด 073-102, 073-103 ขึ้นต้นด้วย 071-XXX ให้เช็ค ถาด 1 ขึ้นต้นด้วย 072-XXX ให้เช็ค ถาด 2 ดังนั้น 073-XXX ไม่ต้องคิดมาก ให้ตรวจเช็คอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องกับชุดฟีดถาด 3 เริ่มจากตรวจหาเศษกระดาษติด เช็คเฟืองหัวมอเตอร์ กับเฟืองยกถาด ว่าแตกหักบิ่นไปบ้างรึเปล่า เช็คลูกยาง ยังดูดกระดาษดีไหม ทำความสะอาดเซ็นเซอร์ ตลอดจน แผงโวลุ่ม แผงสีน้ำตาล หรือแผงเช็คขนาดกระดาษ ถ้าไม่หายลองสลับแผงกับชุดถาดอื่น


074-210 ขึ้นต้นด้วย 074-XXX ก็เช่นกัน Tray 4 Lift Up Fail One of the following errors was detected ให้ตรวจสอบชุดป้อนกระดาษ ถาด 4 เฟืองยกถาด 4 อยู่ด้านหลังถุาดพลาสติกที่ใส่กระดาษถาด 3 - 4 รวมทั้งเช็ค อุปกรณ์เกี่ยวเนื่องกับชุดฟีดถาด 4 เริ่มจากตรวจหาเศษกระดาษที่อาจติดอยู่ตามสล็อตเสียบชุดต่างๆ เช็คมอเตอร์ชุดรีจิสต์ เฟืองหัวมอเตอร์ ตลอดจนตรวจเช็คทำความสะอาดหรือเปลี่ยน ลูกยางป้อนกระดาษ ถาด 4


ชุดป้อนกระดาษ ถาด 1 – 2 มีปัญหา Xerox โชว์โค๊ด 071-210, 072-104, 072-105, 072-210


071-210 ขึ้นต้นด้วย 071-XXX ให้ตรวจสอบชุดป้อนกระดาษ ถาด 1 หรือเรียกกันติดปากว่า ชุดฟีด ถาด 1 ซึ่งโดยมากก็จะวิ่งเป็นถาดหลัก เวลาให้เครื่องเลือกถาดอัตโนมัติ ไม่ว่าจะถ่ายเอกสาร หรือปรินท์ เครื่องก็มักจะเลือกถาดนี้ให้ก่อน  อาการ 071-210 ให้ตรวจเช็คอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องกับชุดฟีดถาด 1 เริ่มจากตรวจหาเศษกระดาษติด เช็คเฟืองหัวมอเตอร์ กับเฟืองยกถาด ว่าแตกหักบิ่นไปบ้างรึเปล่า เช็คลูกยาง ยังดูดกระดาษดีไหม ทำความสะอาดเซ็นเซอร์ ตลอดจน แผงโวลุ่ม แผงสีน้ำตาล หรือแผงเช็คขนาดกระดาษ ถ้าไม่หายลองสลับแผงกับชุดถาดอื่นดู

072-104 ขึ้นต้นด้วย 072-XXX ให้ตรวจสอบชุดป้อนกระดาษ ถาด 2 รวมทั้งอุปกรณ์เกี่ยวเนื่องกับชุดฟีดถาด 2 เริ่มจากตรวจหาเศษกระดาษที่อาจติดอยู่ตามแจ็คเสียบชุดยูนิต 1 เช็คมอเตอร์ชุดรีจิสต์ ตลอดจนเฟืองหัวมอเตอร์ กับเฟืองยกถาด รวมทั้งเช็ค ทำความสะอาดหรือเปลี่ยน ลูกยางป้อนกระดาษ ถาด 2


ชุดป้อนกระดาษติด รีจิสต์ฯ ไม่เป็นใจ Xerox โชว์โค๊ด 071-100, 071-101, 071-104, 071-105

071-100 ชุดป้อนกระดาษถาด 1 มีปัญหา เซ็นเซอร์ตรวจจับว่าไม่สามารถส่งกระดาษไปตามระยะเวลาที่กำหนด ให้ลองตรวจเช็คทำความสะอาดเซ็นเซอร์ เช็ดล้างลูกยางป้อนกระดาษ ถ้าลูกยางไร้ดอก ก็เปลี่ยนออกบ้างก็ได้ จะให้ดีก็ตรวจเช็คเฟืองขับลูกยางถาด ปกติเฟืองใหม่จะลงร่องกันแน่นๆ พอใช้งานไปนานๆ ถูกันบ่อยร่องที่เบียดๆ ก็เริ่มสึกหรอ ร่องเริ่มหลวม เฟืองเริ่มแหลม หมุนไม่แนบกระชับ จังหวะส่งกระดาษก็ผิดพลาด ควรทำการเปลี่ยนเฟืองใหม่


071-101 คล้ายกับ 071-100 แต่ปัญหาจะกว้างขึ้นอีกนิด หลังจากตรวจเช็คลูกยางชุดฟีดกระดาษ เฟืองขับลูกยางถาด ทำความสะอาดเซ็นเซอร์เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือตรวจเช็คคลัทซ์รีจิสต์ เริ่มจากล้างหรือเปลี่ยนคลัทซ์รีจิสต์ ต่อจากนั้นถ้าไม่หาย ไล่ไปเซ็นเซอร์ชุดรีจิสต์ เช็คสายไฟชุดรีจิสต์ สายขาดใน เช็คเฟืองรีจิสต์ เฟืองขับหัวมอเตอร์รีจิสต์

Canon รุ่นลายคราม iR3530 ถอด Touch Screen มาปัดฝุ่น คุณได้ไปต่อ


สุดยอดแห่งความขลัง อึด ทน ถึก บึกบึน ยืนยงคงกระพัน รุ่นเก่าลายครามประจำร้านสลิลสไมล์ นอกจากศรีภรรยาแล้วก็เห็นจะต้องยกให้เครื่องถ่ายเอกสาร Canon iR3530 ที่อยู่กันมานานจนต้องมาแอบนั่งนับนิ้วว่ากี่ปี แอบไปดูโพสต์เก่าที่เล่าเรื่องไว้เมื่อ 9 ปีก่อน "รับน้องใหม่ ร้านสลิลสไมล์ iR3530"เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2011 โพสต์รีวิวได้ก็แสดงว่าก่อนหน้านั้น ได้ใช้มาสักระยะแล้ว ดังนั้นหากจะคุยว่าใช้งานมาร่วม 10 ปีก็ไม่น่าจะขี้โม้เกินไป เพื่อนรุ่นเดียวกัน แยกเข้ากรุไปหลายตัวแล้ว แต่ Canon iR3530 ตัวนี้ยังยืนหยัดทำหน้าที่ได้อย่างแข็งแกร่งเกินวัย ยังไม่มีอาการใดๆ ให้วินิจฉัยว่าซ่อมไม่คุ้ม หรือต้องล้มเครื่องรื้ออะไหล่ขาย

ฟินิชเชอร์ Xerox ขึ้นโค๊ด ชุด Set Clamp 012-283, 012-284, 012-286

012-283 เครื่องถ่ายเอกสาร Fuji Xerox ที่มีชุดเรียง Integrated Finisher ทุกครั้งที่รับคำสั่งใหม่ หรือปิดฝาฟินิชเชอร์ บานซ้าย ฟินิชเชอร์จะทำการเช็คตัวเองคือสั่งให้ขยับหมุนชุดขับเคลื่อนไปมา เพื่อทดสอบว่าทุกส่วนสามารถใช้งานได้ และต้องกลับมาอยู่ในตำแหน่ง Home หรือตำแหน่งเริ่มต้น โดยโค๊ดนี้เกิดจาก Set Clamp Home Sensor ON Fail RAP In the initialize operations each at Power On, when Interlock closed and at the start of a job and in the Set Clamp Motor’s ejecting operation, the Set Clamp Home Sensor was not detected turning On within a specified time after the start of the Set Clamp Motor operation.

แปลคร่าวๆ ได้ว่าเซ็นเซอร์ตรวจเช็คว่า Set Clamp ไม่กลับมาอยู่ในตำแหน่ง Home ที่ถูกต้องในเวลาที่กำหนด โดยคำว่า Clamp คือปากกาสำหรับหนีบ หรือ จับวัตถุ Set Clamp ภาษาไทยอาจเรียกชุดประกับ หรือชุดแม่แรง ในที่นี้หมายถึงระบบขับเคลื่อนกระดาษของฟินิชเชอร์ในส่วนแรก ตั้งแต่ชุดสป็องค์ รวมทั้งแผ่นเฟืองกลมๆ ที่ต่อมาจากอาร์มสป็องค์ ซึ่งชุดเรียงส่วนแรกนี้จะทำหน้าที่รับกระดาษที่ส่งออกมาจากเครื่องถ่ายฯ ตรงไปที่สป็องค์ก่อน ต่อจากนั้นจะมี Clamp หมุนถ่าง ผลักแกนเหล็กขึ้นลง เพื่อรับและส่งกระดาษที่รับมาจากสป็องค์ เพื่อส่งไปยังชุดเรียงส่วนหลัง

Xerox Error Code สป็องค์-ชุดเจาะ ฟินิชเชอร์ 012-322, 012-323, 012-324, 012-325

012-322, 012-323, 012-324, 012-325 อาการหลักๆ เกิดจาก ชุดสป็องค์ ชุดเจาะรู หรือชุดแม็กในฟินิชเชอร์ ไม่กลับเข้าตำแหน่ง Home ซึ่งอาจเกิดจากหลายๆ สาเหตุ เริ่มจากง่ายไปยาก อันดับแรก ตรวจเช็คสวิตซ์ฝาหน้าฟินิชเชอร์ ปุ่มสวิตซ์อาจเสีย หรือกดไม่แน่น หรือแม่เหล็กที่ติดบานประตูอาจหลุด ทำให้ประตูขยับขณะเครื่องวิ่ง โดยประตูฟินิชเชอร์มีอยู่ 2 บาน แต่ละบานมีสวิทซ์อยู่ ภาษาแคนนอนเรียก Door Switch ภาษาฟูจิซีร็อกซ์ เรียกเต็มยศว่า Interlock Switch หากมีมัลติมิเตอร์ให้ตรวจวัดสวิตซ์ว่าวงจรขาดหรือไม่ หรือถ้าไม่มีให้ลองสลับสวิตซ์กับ สวิตซ์ฝาหน้าเครื่องถ่ายฯ เพื่อสังเกตดูว่าอาการเปลี่ยนหรือไม่

หลังจากสลับแล้ว ลองทดสอบกดปุ่มกลางสวิตซ์ โดยใช้ดินสอหรือตะเกียบ เสียบเข้าไปแทนลิ้นประตูฟินิชเชอร์ เพื่อสังเกตอาการแทนการปิดฝาฟินิชเชอร์ ถ้าเป็นฝาซ้ายฟินิชเชอร์จะทำการเช็คตัวเองคือขยับสป็องค์ ฝาขวาจะขยับชุดเจาะ และชุดเย็บแม็ก เพื่อให้ทุกส่วนเข้าตำแหน่ง Home หากมั่นใจว่าสาเหตุเกิดจาก Interlock Switch เสีย อาจใช้สายไฟต่อปลาย หรือหางปลาขั้วเสียบตัวผู้ เสียบต่อตรงแทน Interlock Switch ได้ เหลืองกับเหลือง น้ำตาลกับน้ำตาล เสียบครบวงจรคือประตูปิด ถ้ากระดาษติดก็ต้องดึงสายออกแทนการเปิดประตู หรือพอมีอะไหล่ก็จัดการพ่วงสวิตซ์เข้าไปแทนการปิด-เปิดประตูก็พอแก้ขัดไปได้

วิธียืดอายุชิพหมึก Xerox 7435 ฟิต Toner Chip ให้วิบวับๆ


ตลับหมึกที่มีชิพ เปรียบดังถังน้ำที่มีปลาว่ายอยู่ เครื่องถ่ายฯ จะทำงานได้ตามปกติ ต้องมีทั้งน้ำ ทั้งปลา ถ้ามีแต่น้ำแต่ไม่มีปลา คือมีหมึกแต่ไม่มีชิพ เครื่องก็จะไม่ยอมทำงาน แถมปลาฉลาดบางรุ่น ยังเลือกว่ายในน้ำสะอาดเท่านั้น ไม่ตรงรุ่นก็อู้งานเลย พอใช้งานไปเรื่อยๆ น้ำก็จะค่อยๆ ลดลง ปลายังคอยฟ้อง คอยเตือนให้เปลี่ยนถังน้ำใหม่อีก พอน้ำแห้งหมึกหมด ปลาก็พร้อมจะพลีชีพ จะเติมน้ำเพิ่มยังไงปลาก็ไม่ฟื้นมาว่าย เรียกว่าชิพตาย ต้องเปลี่ยนถังพร้อมปลาตัวใหม่ เพราะทั้งตลับหมึกและชิพถูกออกแบบมาให้ใช้งานเพียงครั้งเดียว และต้องใช้ของ Fuji Xerox เท่านั้น เพื่อเป็นการรักษาคุณภาพอันสูงสุด และป้องกันไม่ให้เครื่องถ่ายฯ เสียหาย หากมีการนำหมึกด้อยคุณภาพมาใช้

วิธีตั้ง IP Address เครื่องถ่ายเอกสาร Canon iR7105 - iR7095


เครื่องถ่ายเอกสาร กับคอมพิวเตอร์ เป็นคู่รักที่รู้ใจกัน แต่อยู่มาวันหนึ่ง น้องคอมพ์ฯ ถูกลง Windows ใหม่ พี่เครื่องถ่ายฯ สุดที่รัก ก็ออกอาการประมาณหน้าจอค้างแปลกๆ พอเป็นบ่อยเข้าก็ต้อง Clear All RAM เริ่มต้นทุกอย่างกันใหม่ แล้วคู่รักสุดซึ้ง ก็กลายเป็นคนแปลกหน้า การที่จะปลุกพลังถ่านไฟเก่าขึ้นมาใหม่ได้ พ่อสื่อที่ดี ต้องทำหน้าที่สร้าง IP address ขึ้นมาเพื่อระบุตัวตนใหม่ ให้หนุ่มสาวเค้าได้รู้จักทักทายกัน เหมือนแอดเฟซฯ แลกไลน์กันใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น ร้านถ่ายฯ ที่มีคอมพ์ฯ มากมาย เครื่องถ่ายฯ ก็มีหลายตัว ความสัมพันธ์ของพวกเค้า จะคุยข้ามหัว มั่วกันไปมา คงไม่งามนัก พ่อสื่อที่ดีต้องสร้างห้องแชต หรือห้องไลน์ขึ้นมาใหม่ ให้เค้าได้สื่อสารกันได้อย่างอิสระ งานปรินท์จึงจะออกมาได้สมบูรณ์

เครื่องถ่ายเอกสารสี Fuji Xerox ขึ้นโค๊ด ชุดสร้างภาพ 092-312, 092-313, 092-314, 092-315

092-312 Yellow ATC (Automatic Toner Concentration) Failure. ชุดหมึกสีเหลือง หรือชุดดรัมสีเหลือง หรือชุดเฮ้าส์ซิ่งสีเหลือง มีปัญหา โดยส่วนของชุดดรัม ตรวจเช็คลูกดรัมฝืด ลูกดรัมไม่หมุน หรือหลุดล็อค ลูกปืนตาย เบลดล็อค เบลดพลิก เบลดเสื่อมสภาพ โรลเลอร์ชาร์จเสื่อมสภาพ บวม เหนียวติดดรัม หรือแกนฟองน้ำทำความสะอาดโรลเลอร์ชาร์จเปื่อยยุ่ย ในส่วนของชุดหมึก ผงหมึกไม่ลง อาจเกิดจากผงหมึกจับตัวเป็นก้อน เกลียวปั่นหมึกขาด ท่อเดินหมึกตัน หมึกไม่ลงเฮ้าส์ซิ่ง ตรวจเช็คผงเหล็กในเฮ้าส์ซิ่ง ผงเหล็กอาจหมด หรือจับตัวเป็นก้อน หลังจากเจอสาเหตุและซ่อมแซมเบื้องต้นแล้ว This code must be cleared from Diagnostic Mode.อาการที่ขึ้นโค๊ด  Yellow ATC Failure ให้เคลียร์โค๊ด  NVM : 752-319=0

092-313 Magenta ATC (Automatic Toner Concentration) Failure. ชุดหมึกสีแดง หรือชุดดรัมสีแดง หรือชุดเฮ้าส์ซิ่งสีแดง มีปัญหา โดยส่วนของชุดดรัม ตรวจเช็คลูกดรัมฝืด ลูกดรัมไม่หมุน หรือหลุดล็อค ลูกปืนตาย เบลดล็อค เบลดพลิก เบลดเสื่อมสภาพ โรลเลอร์ชาร์จเสื่อมสภาพ บวม เหนียวติดดรัม หรือแกนฟองน้ำทำความสะอาดโรลเลอร์ชาร์จเปื่อยยุ่ย ในส่วนของชุดหมึก ผงหมึกไม่ลง อาจเกิดจากผงหมึกจับตัวเป็นก้อน เกลียวปั่นหมึกขาด ท่อเดินหมึกตัน หมึกไม่ลงเฮ้าส์ซิ่ง ตรวจเช็คผงเหล็กในเฮ้าส์ซิ่ง ผงเหล็กอาจหมด หรือจับตัวเป็นก้อน หลังจากเจอสาเหตุและซ่อมแซมเบื้องต้นแล้ว อาการที่ขึ้นโค๊ด Magenta ATC Failure ให้เคลียร์โค๊ด  NVM : 752-355=0

Fuji Xerox ติดโค๊ด Integrated Finisher 012-152, 012-161, 012-223

012-152 : โค๊ดนี้จะเกิดกับเครื่องที่มีฟินิชเชอร์แยกต่างหาก ภาษาช่างเรียก Integrated Finisher แปลตรงตัวก็ชุดเรียงแบบบูรณาการ อาการคือ Compiler Exit Sensor ON Jam RAP The Compiler Exit Sensor does not turn On within a specified time after receiving the Sheet Exit command (the paper to be ejected has turned On the IOT Exit Sensor) แปลคร่าวๆ คือเซ็นเซอร์ทางออกของฟินิชเชอร์ ตรวจพบกระดาษติด ทำให้เซ็นเซอร์ทางออก ไม่เปิดในเวลาที่กำหนด หลังจากเซ็นเซอร์ทางออกได้รับคำสั่งให้เปิด เพื่อดีดแผ่นกระดาษออกไป

ภาษาชาวบ้านก็ประมาณว่า กระดาษวิ่งไปที่เซ็นเซอร์ทางออกไม่ทันตามเวลาที่กำหนด สาเหตุคือกระดาษไปที่ประตูทางออกไม่ทัน  อันดับแรกเช็คทางเดินกระดาษ เริ่มตั้งแต่ทางเข้าคือบริเวณสป็องค์ ตรวจเช็คสภาพสป็องค์ หล่อลื่นจุดหมุนสป็องค์ ล้างเซ็นเซอร์กลางสป็องค์ เช็คสายไฟเซ็นเซอร์ขาดใน เช็คลูกยางทางเดินกระดาษ ลูกปืนที่แกนลูกยางฝืด หล่อลื่นจุดหมุนต่างๆ ระหว่างทางเดินกระดาษหล่อลื่นให้คล่องตัว ตรวจเช็คก้านเซ็นเซอร์ชุดเรียง หรือตั้งสายพานหลังฟินิชเชอร์ตำแหน่ง สป็องค์ กับ 3G รวมทั้งตรวจล้างทำความสะอาดโซลินอยด์ ตำแหน่ง 3G