ทางเบี่ยงคือ Bypass แต่ถ้ากระดาษติดชุดป้อนมือ โค๊ดคือ 078-102, 078-105, 078-120, 078-213

เรื่องราวเจ็บปวดในอดีต ล้วนทำให้เราเปลี่ยนแปลงไปในทางใดทางหนึ่ง ถ้าไปในทิศทางที่ดี มันจะกลายเป็นบทเรียนและความทรงจำที่ดี แต่บางทีหากมันเป็นไปในทางตรงกันข้าม คอยหลอกหลอนตอกย้ำซ้ำเติม บางทีการยุติความเจ็บปวด อาจทำได้เพียงปล่อยวาง หรือ ช่างแม่งมัน


ทางไหนที่ปล่อยผ่านได้ ก็ปล่อยมันไป ทางไหนเลี่ยงได้ก็เลี่ยง ภาษาฝรั่งเค้าเรียกว่าทาง Bypass แปลว่า ทางเลี่ยง ทางเบี่ยง ทางอ้อม ส่วนภาษาเครื่องถ่ายเอกสาร ก็มี Bypass เหมือนกัน แต่มันคือ ถาด 5 หรือถาดป้อนมือ ถาดที่เอาไว้ถ่ายฯ กระดาษปกนั่นแหละ ถ้ามีถาด 6 – 7 อยู่ด้วยก็เรียกรวมๆ กัน ว่าชุด Paper Deck

การตั้งค่า IP Address เครื่องถ่ายเอกสาร Fuji Xerox 5230

การตั้งค่า IP Address ไม่ใช่เรื่องใหญ่โตหรือยากเย็น หลายคนตั้งได้ง่ายๆ เพียงไปลอกเครื่องข้างๆ เครื่องที่ไม่มีก็ไม่เป็นไร ไม่มีอะไรเสียหาย เครื่องถ่ายเอกสาร Xerox 5230 ก็ยังถ่ายงานหาเงินได้ตามปกติ เพียงแค่สั่งปรินท์งาน หรือสแกนไฟล์เข้าไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ไม่ได้เท่านั้นเอง


ประหนึ่งคนโสด ที่สามารถมีความสุขได้ โดยไม่ต้องเจอเนื้อคู่ แต่ถ้าอยากจะใช้ชีวิตคู่เมื่อไร ก็ต้องเริ่มต้นทักทายทำความรู้จักกันก่อน ถ้าเป็นหนุ่มสาวก็แลกเบอร์โทร หรือ ID Line แต่ถ้าเป็นเครื่องถ่ายฯ กับคอมพ์ฯ อันนี้ต้องใช้ IP Address อย่างเดียวเท่านั้น


เบื้องต้น Fuji Xerox 5230 ของเรามี IP Address หรือยัง เข้าไปดูกันก่อน กด Machine Status เลือก General Information ส่วนของ IP Address จะอยู่ด้านขวาล่างของจอ ถ้าไม่มี หรือมีแล้วรู้สึกไม่ถูกโฉลก ไม่สบายใจ อยากเปลี่ยนไปให้ตรงกับที่ตั้ง Driver ในคอมพ์ฯ ก็เข้าไปเปลี่ยนกันได้ “เข้าโหมดช่าง” กันก่อนเลย

วิธีดึงคำสั่ง ID Card Copying มาวางหน้าจอแรก Fuji Xerox 5230

เป็นคนชอบมีเรื่องอยู่บ่อยๆ จนพอจะสรุปคร่าวๆ ได้ว่า เรื่องที่ชอบมี มันมีอยู่แค่เรื่องสองเรื่อง คือเรื่องที่เราคุมได้ กับเรื่องที่เราคุมไม่ได้ อย่างการจะซื้อเครื่องถ่ายเอกสารมาใช้สักเครื่อง เราเลือกได้ คุมได้ อยากได้ยี่ห้ออะไร ราคาไหน แต่พอซื้อมันมาแล้ว มันจะพังเมื่อไร อันนี้ควบคุมไม่ได้ พังก็ซ่อม ซ่อมไม่ได้ก็ชั่งโลขาย

จากตอนที่แล้ว อยู่ดีๆ ฮาร์ดดิสเจ๊ง เป็นปัจจัยที่คุมไม่ได้ เลยต้อง “ลงฮาร์ดดิสก์ใหม่ X5230” โดยรื้อฮาร์ดดิสก์ X7435 มาใส่แทน ใช้งานได้ปกติ แต่หน้าจอแรก จะเป็นหน้าจอหลักมือสมัครเล่น เป็นการค่าตั้งจากโรงงาน อาจไม่ถึงใจศูนย์ถ่ายเอกสาร เพราะไม่ได้ดึงคำสั่งที่ใช้บ่อยออกมาใช้ในหน้าแรก อย่างพวก ID card หรือ Overlay 

X5230 ขึ้นโค๊ด 116-353 ถอดฮาร์ดดิส X7435 มาใส่แทน เรียนรู้กันไป 116-330, 116-334, 124-315

Xerox 5230 คือเครื่องที่เอาไว้รับมืองานปรินท์งานถ่ายฯ กระจุ๋มกระจิ๋มหน้าร้าน เพราะวอร์มเร็วไม่ต้องเปิดรอ มีเหตุสะดุดก็สลับชุดสำรองยัดไปให้มีงานส่ง ไม่ต้องหงุดหงิดกับหน้างาน ได้ใช้ชีวิตอยู่กับปัจจุบันบ้าง เพราะถึงจะวางแผนดีเลิศอย่างไร การวิตกหมกมุ่นถึงอนาคต ก็ไม่อาจเปลี่ยนอนาคตให้เป็นอย่างที่คิดได้


วันนี้ก็เป็นแค่อนาคตของเมื่อวาน อยู่ดีๆ ชีวิตก็บิดเบี้ยว X5230 เปิดมาก็โชว์โค๊ด 116-353 ตำราระบุชัดว่าฮาร์ดดิสพัง The HDD was not booted due to a physical HDD failure detected on booting. 


ลองแก้ปัญหาเบื้องต้นตระกูล 116-XXX คือดึงสาย LAN ออก แล้ว “เคลียร์ 4” คราวนี้ Reboot มาโชว์ 116-330 เคลียร์ฮาร์ดดิสแล้วไม่หาย "เคลียร์ 6" ต่อตามตำรา แค่ย้ายนิ้วมากดเลข 6 แทนเลข 4 แต่ก็วนกลับมาโชว์ 116-353 อีก ดูท่าจะไปไม่รอด ไม่ฮาร์ดดิสพัง ก็ Controller Board แผง ESS ที่ติดกับฮาร์ดดิสนั่นล่ะพัง

โลกยังคงหมุนไป แต่ถ้าอะไหล่ Xerox ไม่หมุน คุณอาจเจอโค๊ด 042-312, 042-313, 042-326, 042-328, 042-398

เถียงกันจนตายเกิดกันไปหลายรุ่น กว่าจะรู้ว่าโลกหมุนรอบตัวเอง พระจันทร์หมุนรอบโลกอีกที ทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ล้วนมีเหตุผล ซึ่งบางทีเหตุผลก็อาจจะง่ายๆ แค่เพียงบังเอิญว่าเพราะเราโง่ หรือเราตัดสินใจผิดพลาด ผิดถูกยังไงก็ตัดสินกันไปแล้ว บางทีก็ไม่มีการตัดสินใจที่ดีที่สุด มีแต่ทำให้ดีที่สุดหลังการตัดสินใจ

ยังไงโลกก็หมุนต่อไป หมุนรอบตัวเองวันละรอบ รอบดวงอาทิตย์ปีละรอบ ถือเป็นหน้าที่ ไม่มีขาดลา ไม่เหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสาร ที่บางทีนึกขี้เกียจ ก็ไม่หมุนเอาดื้อๆ อย่างลูกดรัมไม่ยอมหมุน ไม่ว่าจะเกิดจากชุดดรัมฝืด มอเตอร์ขับดรัมเสีย หรือเฟืองบิ่นเฟืองแตก Xerox ก็จะโชว์โค๊ด 042-312 ให้เราไปค้นหาว่า ดรัมไม่หมุนเพราะเหตุใด

เลเซอร์เสีย สายแพขาด Xerox อาละวาด โชว์โค๊ด 061-325, 061-329, 061-330, 061-333, 061-334, 061-370

ช่วงหนึ่งของชีวิตคนเรา มักมีบางอย่าง ผ่านเข้ามาให้ได้รู้สึกผูกพันลึกซึ้ง แม้ว่าชะตากรรมจะพัดพรากหายไปจากชีวิตแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่เคยเลยที่จะเลือนหายไปจากหัวใจ ประหนึ่งเพื่อนรักที่มาหยิบยืมสตางค์ แล้วหลบลี้หนีหาย เพื่อนจะอยู่ในความทรงจำของเราตลอดไป แม้จะเชิญให้มาเข้าฝันบ่อยๆ เพื่อทวงเงิน แต่พอเผลอตื่น เพื่อนก็เลือนหายไป เงินก็ไม่ได้คืนสักที

ลองฝันหา Xerox เพื่อนรักบ้าง หวังขอเลขหวยขำๆ กลายเป็นใบ้โค๊ด 061-325 โค๊ดนี้มักโชว์กับเครื่องเล็ก X5335 ตำราว่า SOS Fail RAP ย่อมาจาก Start Of Scan ผิดพลาด เค้าว่าลองปิดเปิดใหม่ หรือดึงชุดดรัมออกมาใส่ใหม่ดูว่าหายไหม อาการนี้มีเอี่ยวกับ Laser Control ดังนั้นเป็นไปได้ว่า หัวเลเซอร์เสีย หรือไม่ก็สายแพขาด เช็คสายเสียบระหว่างแผง MCU กับ LDD ดูก่อน

ความเร็วเป็นเรื่องของปิศาจ ถาด 6 ถาด 7 error code 078-100, 078-901, 078-904, 078-150

หนึ่งในแคปชั่นที่เวลาไปเที่ยว แล้วชอบโพสต์กันบ่อยๆ เช่น ชีวิตคือการเดินทาง เวลาแวะเยี่ยวข้างทางก็อ้างว่า แวะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ หรือชวนชื่นชมความงามระหว่างทาง เผลอๆ ชวนไปวิ่งเล่นทุ่งหญ้าลาเวนเดอร์ อะไรทำนองนี้ อ่านแล้วโลกสวย รู้สึกดี แต่กับงานถ่ายเอกสาร เห็นทีจะไปด้วยกันไม่ได้


ถ้าต้นทางคือถาดกระดาษ ปลายทางคือชุดเรียง กระดาษจะแวะรายทาง เที่ยวชมชุดรีจิสต์ แวะทักทายลูกดรัม หรือโอ้เอ้แถวชุดความร้อน อันนี้ไม่สนุกนะ หาเส้นทางที่สั้นที่สุด ถึงปลายทางโดยสวัสดิภาพให้เร็วที่สุด น่าจะดีกว่า ระยะทางยิ่งสั้น การเดินทางก็ยิ่งเร็ว กระดาษแต่ละถาด ระยะทางเดินกระดาษไม่เท่ากัน ความเร็วในการถ่ายเอกสารก็ไม่เท่ากัน


ชุดถาดกระดาษที่ทางเดินสั้นสุดในบรรดาถาดทั้ง 8 ของ Xerox 4110 เห็นจะเป็นถาด 6 ฟีดพุ่งลงตรงไปรีจิสต์ทันที รองลงมาคือถาด 7 ระยะพอกันแต่ฟีดขึ้นเนินเล็กน้อย สองถาดนี้ เค้าว่าเป็น High Capacity Feeder (HCF) แต่ถึงจะศักยภาพสูงเพียงใด บางทีมันก็มีพลาดโชว์โค๊ดกันบ้าง

Xerox5230/5335 หาชุดความร้อนไม่เจอ เผลอโชว์โค๊ด 059-314, 059-315, 059-316, 059-317

ดอยม่อนเดียวกัน บางคนต้องเดินทางขึ้นไปถึงยอดดอยก่อน ถึงจะได้สัมผัสรสชาติแห่งความสุข แต่บางคนแค่นั่งเล่นเย็นๆ ใจอยู่แถวตีนดอย จิบเบียร์ดูดอกไม้บานหน้าร้าน ก็มีความสุขแล้ว ดังนั้นถ้าขี้เกียจมากๆ อยากนั่งๆ นอนๆ ไม่อยากทำอะไร ก็จงเอาความสุขมาเป็นข้ออ้าง ทุกคนมักจำนนต่อเหตุผลข้อนี้เสมอ


อย่างเวลา X5230 หรือตระกูลเดียวกัน X5335 เวลาชุดความร้อนมีปัญหา จะถอดชุดความร้อนออกมาดู แต่ดันขี้เกียจเอื้อมมือไปปิดเครื่อง พอดึงชุดความร้อนออกมา ทั้งที่ยังไม่ได้ปิดเครื่อง เครื่องก็มักจะฟ้องว่าหาชุดความร้อนไม่เจอ หรือไม่ก็ โชว์โค๊ด 059-314, 059-315, 059-316, 059-317 มาให้ตกใจเล่น 

LPH มีปัญหา Xerox 7435 ขึ้นโค๊ด 061-371, 061-372, 061-373, 061-374, 061-375, 061-376, 061-377

ณ ช่วงเวลาหนึ่ง สิ่งที่เคยอยากมี ตอนนี้เริ่มไม่อยากได้ ไอ้บททดสอบชีวิต ก็ไม่คิดจะไปท้าทายอะไรกับมัน สิ่งที่ตามไม่ทัน แบกไม่ไหว สุดเอื้อมมือคว้า ก็ปล่อยมันไป อยู่กับเครื่องรุ่นไหน ยี่ห้ออะไร ใช้แล้วผ่อนคลาย สบายใจ ก็อยู่ด้วยกันต่อไปนานๆ บางคนซื้อเครื่องใหม่ตัวใหญ่เท่าบ้าน ราคาเป็นล้าน ปรินท์งานออกมา ดูยังไงก็งานบ้านๆ ไม่เห็นออกมาเป็นวิมานชั้นใด ว่าแล้วซ่อมเครื่องเก่าใช้กันไป หลับสนิทสบายใจ ไม่ฝันถึงค่างวด ค่าไฟ


มาดูเพื่อนเก่า X7435 ของเราดีกว่า 061-371 อาการนี้คือชุด LPH สีแดงมีปัญหา LPH Communication Fault M น่าจะปัญหาด้านการสื่อสาร งั้นมาทำความรู้จักกันก่อน LPH ย่อมาจาก LED Print Head Unit แปลตรงตัวก็ชุดหัวพิมพ์ที่มีหลอดไฟ LED เป็นแถบยาว อยู่ใต้ชุดเฮ้าส์ซิ่ง ขึ้นชื่อว่าหลอดไฟ ขณะใช้งานหรือสั่งปรินท์ หลอดต้องมีแสงออกมา แล้วถ้ามีผงหมึก หรือเปื้อนฝุ่นสกปรกมาบังแสง ประสิทธิภาพในการปรินท์ก็ย่อมลดลง

เล่นแผลงๆ Xerox แผงพัง 041-348, 041-349, 041-362, 041-363, 041-366

เมื่อใช้ชีวิตมาได้สักช่วงเวลาหนึ่ง หลายคนอาจพบว่า บางทีก็ไม่ต้องไปดิ้นรนไขว่คว้าหาอะไรกันมากมาย แค่ได้ใช้ชีวิตอยู่กับอะไรที่ทำให้เราสบายใจก็สุขล้น ต่างจากบางคนดีดดิ้นแทบตาย แต่ไม่เคยพอใจสักที อย่างเครื่องถ่ายเอกสารก็เช่นกัน ชอบถามว่ายี่ห้ออะไรใช้ดี เอายี่ห้อที่ใช้แล้วสบายใจนั่นล่ะดี


อย่างเครื่องสี X7435 นี่ก็ใช้แล้วสบายใจดี แต่ถ้าใครใช้แล้วโชว์โค๊ด 041-348 เค้าว่าแผง MD เริ่มไม่ดีแล้วนะ ให้ลองตรวจเช็คสายต่างๆ ที่เข้าแผง MD ว่ามีหนูกัดสายหรือเปล่า หรือไม่ก็ลองสลับแผงกับเครื่องอื่นดูว่ายังดีไหม หรือถ้าอยากลองซ่อมแผงเอง ตำราเค้าว่า Check and replace F4 on the MD pwb it is possible an overcurrent. 

Finisher Xerox โชว์โค๊ด 012-903, 012-905, 012-908, 012-909, 012-939, 012-949

เปิดร้านถ่ายเอกสารมา 20 ปี ใช้เครื่องมาก็เยอะ เจอเครื่องเลอะเทอะมาก็มาก หากเก็บทุกเครื่องมาใส่ใจ ก็รกใจเปล่าๆ เครื่องบางเครื่องแค่รับรู้ก็พอ เครื่องบางยี่ห้อแค่มองก็จบ ไม่ต้องไปคบหาเกี่ยวข้องให้ทุกข์ใจ เครื่องที่ดีที่สุด คือเครื่องที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเรามานาน ใช้ทักษะความชำนาญที่มี ตั้งใจทำมาหากินกันต่อไป

ย้อนกลับมาที่ฟินิเชอร์เจ้ากรรมนายเวร 012-903 ดันชุดแม็กเข้าไปให้สุด เช็คก้านเซ็นเซอร์ตัวกลาง ว่ามันค้างหรือไม่ หรือมีอะไรไปบังเซ็นเซอร์ตัวบน เช็คดูก้านเซ็นเซอร์ฝาบนฟินิชเชอร์ด้วย 012-905 ก็เช่นกัน ดันชุดแม็กเข้าไปให้สุด แล้วล้างก้านเซ็นเซอร์ หล่อลื่นจุดหมุนต่างๆ ที่อาจทำให้เซ็นเซอร์เช็คว่ามันค้าง

โค๊ดชุดดรัม เลเซอร์ สายแพ 061-315, 061-317, 061-319, 061-320, 061-321

ท่องกันมาตั้งแต่ยังเป็นเด็กนักเรียน ว่าดาวพลูโตเป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ของระบบสุริยจักรวาล จนเมื่อราวสิบกว่าปีก่อน พลูโตได้ถูกลดค่าลงเหลือแค่ดาวเคราะห์แคระที่มีวงโคจรไม่เหมือนชาวบ้าน แต่พลูโตก็ยังคงโคจรรอบดวงอาทิตย์ต่อไปเหมือนเดิมทุกประการ โดยไม่สนไม่แคร์ ว่าใครจะให้ค่ากับมันยังไง ... 


ถ้าลูกดรัม คือศูนย์กลางจักรวาล ชุดเลเซอร์ ก็น่าจะเป็นดาวเคราะห์ที่โคจรอยู่ โดยมีสายแพเป็นบริวาร แผงวงจรก็อาจเป็นกลุ่มดาว โดยมีโค๊ด 061-XXX เป็นหลุมดำคอยกลืนกินทุกสรรพสิ่ง ให้มาติดกับดัก ถ้าไม่ลูกดรัม ก็โครงดรัม ถ้าไม่ใช่อีกก็ชุดเลเซอร์กับสายแพ ถ้าแย่หน่อยก็แผง MCU ค่อยไล่ดูจากง่ายไปยากก่อนละกัน

Finisher ใกล้สู่ขิต คลัช สป็องค์ สวิทซ์ โชว์โค๊ด 012-330, 012-332, 012-932

ความสำเร็จไม่ได้วัดกันยามชีวิตดำเนินไปเป็นปกติ หากแต่ควรวัดกันในภาวะวิกฤติ ท่ามกลางมรสุมประเดประดัง เรายังมีความสุขได้มากน้อยขนาดไหน เครื่องดีวิ่งได้ ก็ยิ้มออก เครื่องห่วยพ่อค้าหลอก ช่างปอกลอก ก็แพ้ไป หัวเราะตอนชนะ ใครก็ว่าเก่ง แต่ถ้าจะให้เจ๋ง ตอนแพ้ต้องยิ้มได้ด้วย ไม่ว่าเครื่องจะห่วยขนาดไหนก็ต้องยิ้มไปซ่อมไป


012-330 ลองสลับสวิทซ์ฝาหน้าเครื่อง กับสวิทซ์ฝาหน้าฟินิชเชอร์ หรือลองสลับเฉพาะสวิทซ์ฟินิชเชอร์ซ้ายขวา ฝาเล็กกับฝาใหญ่ดูก่อน ว่าโค๊ดเปลี่ยนไปไหม ถ้ายังไม่ใช่ อาจเป็นได้ว่าชุดสป็องค์ไม่เข้าโฮม เช็คอาร์มสป็องค์หักหรือเปล่า ลูกปืนอาร์มสป็องค์ยังลื่นไหม ถ้ายังไม่หายลองล้างคลัชหลังฟินิชเชอร์ ตรงตำแหน่งฝาเล็กใกล้ๆ กับมอเตอร์

ไม่มีทางออกใดไร้ปัญหา ทางออกฟินิชเชอร์ก็เช่นกัน ขยันโชว์โค๊ด 012-215, 012-237, 012-239, 012-240

เครื่องถ่ายเอกสารที่ดี คือนานๆ เสียที เสียตามระยะซ่อมบำรุง โชว์โค๊ดก็โชว์ฉลาดตรงจุด ซ่อมง่าย ส่วนเครื่องเลว นึกจะเสียก็เสีย โชว์โค๊ดก็โชว์โง่ๆ งมซ่อมให้ตายกันไปข้าง ดังนั้นอย่าได้เถียงกับเครื่องโง่ๆ โดยเด็ดขาด พวกมันจะลากเราลงไปในระดับเดียวกับมัน แล้วเอาชนะเราด้วยประสบการณ์


ยังวนเวียนกับโค๊ดไม่รู้จักจบจักสิ้น ไม่รู้คิดกันมาได้ยังไง อย่าง 012-215 ตัวผลักออกชุดฟินิชเชอร์ หรือชุด Eject ทำตัวมีปัญหา ผลักชุดแม็กเข้าไป เช็คฟองน้ำฐานชุด Eject ถ้าไม่ดีก็เปลี่ยนออก โค๊ดต่อมา 012-237 ชุดเย็บแม็กไม่ยอมกลับเข้าตำแหน่ง Home รื้อมาหาสาเหตุ หรือล้างเป่าเซ็นเซอร์ชุดแม็ก ทั้ง 2 จุด