วิธีชำแหละชุดความร้อน IR600 เพื่อเปลี่ยนลูกฮีต ลูกปืน และเฟืองขับ


Love makes the world go round. โลกนี้หมุนได้ด้วยความรัก ... หากไร้ซึ่งความรักแล้ว โลกนี้คงไม่น่าอยู่ ... ไร้กลางวันกลางคืน ไร้ฤดูกาลที่ผันผ่าน กาลเวลาแน่นิ่งไม่ไหวติง ซึ่งในความเป็นจริง มวลมนุษยชาติคงจะหาไม่ ... ดังนั้นช่วยกันใช้ความรัก ขับเคลื่อนให้โลกอันแสนน่าอยู่ของเราหมุนต่อไปเรื่อยๆ ... เช่นเดียวกันกับชุดความร้อนของเครื่องถ่ายเอกสาร ที่ต้องหมุนวนรีดความร้อนให้แผ่นกระดาษเปื้อนหมึก ผนึกติดแน่นสวยงามอยู่ตลอดเวลา ...

คราใดที่ชุดความร้อนเริ่มหมุนฝืด เพราะลูกปืนอ่อนล้า จารบีแห้งเหี่ยว หากฝืนวิ่งไปกัดกินแกนความร้อน บูตรองสึกจนหักกระจาย หรือเฟืองขับกัดกับเฟืองหมุนจนลุ่ยรุ่น การหมุนบกพร่องถึงขั้นหยุดหมุน กระดาษจ่อรอหน้าลูกฮีตแต่ไม่คิดจะมุดเข้าไป หรือยังหมุนได้ แต่หมุนมานานเกินไปผิวลูกฮีตสึกเป็นร่อง ลูกยางแดงเหี่ยวย่น ฯลฯ ... ปัญหานานัปการของชุดความร้อน ตรวจเช็คได้ไม่ยาก หากเริ่มมีเสียงแปลกๆ เอามือหมุนแล้วฝืดๆ หนืดๆ หรือภาพที่ออกมาเปื้อนเปรอะตรงกับพื้นผิวที่หายไปของลูกฮีต อย่ารอช้า หยิบไขควงมากันได้เลย

Canon Error Code E243, E244, E245, E246, E247, E248, E249, E250


ขออัดยาว E243 – E250 เลยก็แล้วกัน เพราะมันคล้ายๆ กัน ตำราภาษาไทยมีแค่ E243 แล้วข้ามไป E 251 เลย ... ขอเริ่มจาก E243 ก่อนเลยว่าสาเหตุเกิดจากแผง DC controller PCB เสีย หรือแผง Control panel PCB เสีย ซึ่งเกิดจากการสื่อสารบกพร่องปรากฏขึ้นระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์บน DC controller PCB และ ไมโครโปรเซสเซอร์บน control panel PCB

Canon Error Code E242


E242 ตำราภาษาไทยไม่ถูกตรวจพบเลยครับ คงต้องง้อตำราภาษาอังกฤษ ซึ่งเค้าระบุความเกี่ยวกันเหมือนกันตั้งแต่ E240 ไปจนถึง E249 นั่นคือ Scanner CPU Communication พร้อมระบุสาเหตุว่า An error occurs in the communication between the master and the sleeve 2 (ซึ่งคล้ายกับ E240 ที่ระบุสาเหตุ การสื่อสารผิดพลาดกับ sleeve 0 และ E241 ระบุว่า การสื่อสารผิดพลาดกับ sleeve 1)

Canon Error Code E241


E241 เกิดจากทิศทางของต้นฉบับไม่ถูกระบุเมื่อต้นฉบับใบที่ 2 หรือลำดับย่อยจะต้องถูกอ่านแล้ว ตลอดจนทิศทางของต้นฉบับใบสุดท้ายไม่ถูกตรวจพบ 5 วินาที หรือมากกว่าหลังจากต้นฉบับใบสุดท้ายถูกอ่านแล้ว ... ส่วนสาเหตุอาจเกิดจากแผง Image Processor PCB เสีย หรือแผง Original orientation PCB เสีย หรือไม่ก็วงจร Original orientation detection PCB เสีย

Canon Error Code E240


E240 สั้นๆ เค้าว่าแผงควบคุมวงจร DC เสีย หรือตัวประมวลผลแผง DC controller PCB เสีย วิธีตรวจให้ปิดและเปิดสวิทซ์เพาเวอร์ ถ้าเปิดมาแล้วดีก็แล้วไป แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นเค้าให้เปลี่ยนแผง DC โดยอีกตำราหนึ่งบอกว่ามี Error ในการสื่อสารปรากฏในไมโครโปรเซสเซอร์ ที่อยู่บนแผง DC controller PCB

Canon Error Code E226


E226 ตำราภาษาต่างด้าวเค้าว่า A multifunction of the scanner cooling fan is detected. ภาษาบ้านเราเค้าอธิบายสั้นๆ ว่า พัดลมตัวกวาด FM3 บกพร่อง แผงวงจร DC สายไฟขาด สัญญาณล็อค FM3LCK อีกตำราอธิบายยาวหน่อยว่า สัญญาณ lock (FM3LCK) ถูกตรวจพบนาน 5 วินาที หรือมากกว่าในขณะที่พัดลมให้ความเย็นสแกนเนอร์ (FM3) กำลังถูกขับเคลื่อนอยู่

ดึงยังไงก็ไม่ขึ้น ... อย่าฝืน ... เปลี่ยนลูกยางทางขึ้น IR3300 ดีกว่า


 สั่งปรินท์ติดกึก กดถ่ายติดกัก .. ยึกๆ ยักๆ ติดกัก ติดกึก .. แรกๆ วิ่งจำนวน ติดลึกกลางเครื่อง ยังไม่กล้าสรุป ... หลังๆ เริ่มชัดเจนว่าติดตั้งแต่หัวหาด ปากทางถาดกระดาษ ใบแรกยับตรงกลาง ประมาณว่าลูกยางฟีดกระดาษดึงไม่ขึ้นนั่นเอง ฝืนใช้งานต่อไปก็เสียดายกระดาษ งานนี้แก้ไม่ยาก ไปหาซื้อลูกยางมา จะมีอยู่สองขนาด บอกร้านขายอะไหล่เค้ารู้ดี ทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ จะเอาแบบลายดอกรถสปอร์ต หรือบิ๊กฟู๊ตก็แล้วแต่ พอมีลูกยางพร้อมก็มาเริ่มกันเลย

กดถาดกระดาษเจ้าปัญหาของ IR3300 คู่ชีพออกมาให้สุด ยกขึ้นเล็กน้อย ถาดกระดาษก็จะหลุดลอยออกมา ... อย่ารอช้า มีกี่ถาด ถอดออกมาให้หมด เวลาล้วงเข้าไปจะได้ง่ายๆ ... ถอดเสร็จหมดแล้ว ก่อนจะล้วง บรรจงก้มเล็งดูสักหน่อย ลูกยางใหญ่น้อยจะมีด้วยกันทั้งหมด 3 ตัว ... เล็งได้ที่แล้วก็ล้วงไปสะกิดปลายติ่งลูกยางตรงกลางรู บีบให้แน่นติดกับแกนที่ยื่นออกมา แล้วลากมันออกมา เพื่อพิจารณาว่าผ่านการใช้งานมาจนสึกหรอแล้วหรือยัง .. จะมีต้องระวังหน่อยคือเดือยเล็กๆ ที่เสียบอยู่ตรงแกนเหล็ก ระวังอย่าให้มันหลุด เพราะมันคือแกนล็อคเพื่อหมุนลูกยางนั่นเอง 

การศึกษาค้นคว้าอิสระ ... ปัญหาพิเศษ ... เพื่อความสมบูรณ์แห่งปริญญาอันทรงเกียรติ


สายลมหวีดหวิวปลายฤดูเหมันต์ ผกผันพัดปลิวปลิดลิดกิ่งใบไม้น้อยๆ แห้งหายลอยละลายไปตามวัฏจักรของการเวลา ... จากที่ร่ำเรียนเขียนอ่าน ได้พบปะปฏิสันถารแทบทุกเมื่อเชื่อวัน ทั้งมาปรินท์งาน ถ่ายเอกสาร ฤาเข้าเล่มตำรับตำรา ... ณ วันนี้ ผลแห่งความพากเพียรอ่านเขียน ได้ยังผลให้เข้าสู่ฤดูการแห่งการจำจาก หากแต่จะหนีไปไม่มีหลักฐานก็ใช่ที เพื่อการันตีตอกย้ำความเป็นเลิศทางวิชาการของบัณฑิตทั้งหลาย ผลงานสุดท้ายวัดใจกันอีกครั้ง เพื่อความสมบูรณ์แห่งปริญญาอันทรงเกียรติ


หลายคณะ หลายสถาบัน เรียกผลงานวัดใจก่อนจะเรียนจบเป็นบัณฑิตเต็มตัว แตกต่างกันไป ... บ้างก็เรียกการศึกษาค้นคว้าอิสระ(INDEPENDENT STUDY) หรือย่อๆ เรียกกัน I.S. บ้างก็เรียกปัญหาพิเศษ (SPECIAL PROBLEM) หรือออกมาในรูปแบบรายงานอื่นๆ ก็เป็นอันรู้กันว่าเป็น “ตัวจบ” โดยจะมีลักษณะพิเศษที่คล้ายๆ กันคือ เป็นปกสีขาว ส่วนตัวหนังสือสีอะไร หรือจะทำสันหรือ มีภาพโลโก้คณะหรือมหาวิทยาลัยหรือไม่ ก็แล้วแต่ระเบียบของแต่ละคณะจะกำหนด