สูงสุดสู่สามัญ เข้าเล่มคาดเทป ไม่เคยตายไปจากวงการ


ถามถึงการเข้าเล่มทีไร เมื่อได้คำตอบว่า “เข้าเล่มธรรมดา” ก็นึกงงทุกครั้ง เพราะสำหรับร้านถ่ายเอกสารทุกร้าน การเข้าเล่มทุกรูปแบบ ถือเป็นเรื่องธรรมดา คาดเทปธรรมดา อัดกาวธรรมดา เข้าห่วงธรรมดา ฯลฯ หรืออยากจะเข้าเล่มแบบพิเศษก็ได้ มีให้บริการทั้ง คาดเทปพิเศษ เข้าห่วงพิเศษ อัดกาวพิเศษ สันรูดพิเศษ ฯลฯ ราคาก็เท่ากันทั้งแบบธรรมดาและแบบพิเศษ

ทว่า เท่าที่สอบถามความรู้สึกของลูกค้าต่อคำว่าเข้าเล่มธรรมดา ก็เห็นจะเป็นการเข้าเล่มที่มีมานับศตวรรษ และยังคงมีอยู่ต่อไป ไม่มีวันตาย นั่นคือการเข้าเล่มแบบคาดเทปกาว หรือแล็คซีน ฯลฯ แล้วแต่จะเรียกกัน ซึ่งก็ยังได้รับความนิยมเป็นอย่างดี เหมาะกับงานที่มีความหนาไม่เกิน 1.5 นิ้ว เพราะถ้าหนามากกว่านั้น ต้องต่อเทปกาว 2 ชั้น อันจะทำให้ความสวยงามลดลงไป

เข้าเล่มสันรูด รวดเร็ว สวยงาม ยามแก้ไขก็ง่ายดาย


เข้าเล่มสันรูด + ปรินท์ปกสี + พลาสติกใส

การเข้าเล่มสันรูดพลาสติก นิยมมากในเอกสารเล่มไม่หนามาก อาทิ รายงาน หรือ เอกสารประกอบการประชุม เพราะนอกจากจะแก้ไขเนื้อในได้อย่างง่ายดาย โดยที่ปกและเนื้อในยังอยู่ในสภาพสวยงามดังเดิมแล้ว การเข้าเล่มแบบสันรูดยังดูสุภาพ สวยงาม กว่าการคาดเทปกาว สามารถใช้ในส่วนเอกสารราชการได้ ทั้งยังรวดเร็วและราคาค่อนข้างถูก

ตัวอย่างเอกสารรายงาน ค่าถ่ายเอกสารหน้าละ 39 สตางค์ ปรินท์ปกสี ลงบนกระดาษปอนด์ขาว 150 แกรม + ปกพลาสติกใส + สันรูดขนาด 5 มม. ราคาค่าเข้าเล่ม เล่มละ 30 บาท

น้องใหม่มาแรง "สันห่วงเกลียว"


เข้าเล่มสันห่วงเกลียว + ถ่ายปก 150 แกรม + ปกพลาสติกใส

หนึ่งในรูปแบบการเข้าเล่มที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน เห็นจะหนีไม่พ้น การเข้าเล่มแบบห่วงเกลียว ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับการเข้าเล่มห่วงพลาสติก ต่างกันที่การเจาะรูห่วงเกลียว จะเป็นลักษณะวงกลมเล็กๆ ถี่ๆ และนำห่วงลวดหุ้มพลาสติก หมุนเข้าเล่มไปในลักษณะของเกลียว มีสีสันต่างๆ ให้เลือกมากมาย ซึ่งนอกจากจะทำให้งานเข้าเล่มมีความแข็งแรงแล้ว ยังมีความสวยงามกว่าการเข้าเล่มแบบสันห่วงพลาสติกแบบเดิม

การเข้าเล่มแบบห่วงเกลียว เหมาะสำหรับเอกสารตำราเรียน ที่มีข้อความชิดขอบกระดาษทุกด้าน หรือหนังสือค่อนข้างมีความหนาทำให้เปิดอ่านได้ลำบาก รวมทั้งเอกสารที่ต้องการเปิดกว้างในการใช้งาน เพราะสามารถกางออกได้ 360 องศา มากกว่าการเข้าเล่มแบบห่วงพลาสติก ที่เปิดได้เพียง 180 องศา ซึ่งนอกจากจะสะดวกในการใช้งานแล้ว ยังสามารถแก้ไข หรือแทรกไส้ในเอกสารเพิ่มเติมได้เหมือนกับการเข้าเล่มแบบห่วงพลาสติกทุกประการ

สินค้าขายดี อัดกาวปก 4 สี เคลือบ UV


ขอบคุณคณาจารย์ และน้องๆ นักศึกษาทุกท่าน ที่ไว้วางใจในการให้บริการของร้าน สลิล สไมล์” มาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วงเปิดเทอม ที่น้องๆ นักศึกษาทั้งหลายต้องการตำรับตำราเรียน สำหรับเทอมนี้ มาแรงที่สุดเห็นจะเป็น ถ่ายเอกสาร+เข้าเล่มอัดกาว ปก 4 สี เคลือบ UV. บนกระดาษ 280 แกรม ซึ่งทางร้านก็จัดให้ในราคาพิเศษ ค่าถ่ายเอกสารหน้าละ 39 สตางค์ ค่าปกรวมเข้าเล่ม เล่มละเพียง 50 บาทเท่านั้น

ราคานี้คือราคาหน้าร้าน ต่อ 1เล่ม สำหรับลูกค้าท่านใดที่มีงานจำนวนมาก สามารถสอบถามราคาหลังร้านเพื่อรับราคาพิเศษได้ ทางโทรศัพท์ 081-783-1326, 081-951-3880 ราคาขึ้นอยู่กับจำนวนและรูปแบบของการเข้าเล่ม ซึ่งมีบริการให้เลือก ครบทุกรูปแบบของหนังสือในโลกยุคปัจจุบันเท่าที่สรรหาได้บนโลกใบนี้

วิธีลากลูกดรัม ออกมาเปลี่ยนเบลด Canon IR600

สุขสันต์วันเปิดเทอม งานจำนวนเริ่มเพิ่มจำนวนเข้ามา สนุกสนานกันใหญ่ ทั้งวิชาที่เป็น Sheet ปรินท์ PowerPoint ปรินท์ PDF ออกมา เป็นตำราแจกแบ่งกันเรียนในชั้น แต่ถ้าจะให้มันส์กว่านี้ ต้องวิชาที่เล่มหนาๆ โตๆ ถ่ายฯ ไปให้เพื่อนๆ เรียนทั้ง Sec เข้าเล่ม Full option นับเป็นสวรรค์ของร้านถ่ายเอกสารช่วงเปิดเทอม

วิ่งงานไปมา หากเกิดปัญหามีเส้นสีดำพาดผ่านแนวขวาง อาการเหมือนหมึกหล่นลงกระดาษแล้วลากปรื๊ดไปด้านข้าง หนักเข้าจากเส้นก็กลายเป็นแถบบางๆ แล้วหนาขึ้น ขยายพื้นที่การเปื้อนหมึกเพิ่มขึ้น เปิดดูชุดความร้อน ชุดฯลฯ ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ สันนิษฐานอาการได้อย่างแรกคือ เบลดปาดหมึกออกจากลูกดรัมไม่หมด และอาการที่สองคือ เบลดทำหน้าที่ดีที่สุดแล้ว แต่แกนกากหมึกไม่สามารถหมุนลำเลียงกากหมึกที่เบลดปาดออกจากดรัมไปทิ้งในกล่องเก็บกากหมึกได้ อาจเป็นเพราะแกนกากหมึกหรือเพราะคุณภาพของหมึกก็เป็นได้

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีอาการสุดท้าย คือเบลดก็ดี แกนกากหมึกก็หมุน หมึกก็คุณภาพ แต่มีเศษกระดาษที่มันเหินไปติดอยู่ใต้ลูกดรัม ไม่ว่าจะเกิดจากเซฟคอร์ใต้ดรัมไม่ดี บล็อกล่างลีค หรือพัดลมใต้บล็อกไม่ดูดกระดาษ แล้วคนที่ดึงกระดาษออก ดึงออกไม่หมด เศษกระดาษชิ้นเล็กๆ ที่ก็ไปขัดขวางการทำงานของเบลด ทำให้มีหมึกร่วงบ้าง หรือปาดหมึกไม่หมดบ้าง อะไรบ้าง คืออาการทั้งหมดที่ว่ามา ยังไงก็ต้องลากชุดดรัมออกมาดูอาการ