การเลือกปรับอุณหภูมิถาด Bypass เครื่อง Canon ตามชนิดของกระดาษแต่ละประเภท

สงสัยกันมานาน เวลายัดกระดาษใส่ถาด Bypass เพื่อถ่ายฯ ปก หรือถ่ายฯ กระดาษแปลกประหลาดทั้งหลาย .. ว่าควรจะเลือกชนิดของกระดาษเป็นอะไรดี .. เพราะอุณหภูมิของเครื่องจะถูกปรับให้สูงหรือต่ำ ตามชนิดของกระดาษที่เลือก .. ถ้าหนามาก เครื่องก็จะต้องร้อนหน่อย เพื่อให้หมึกพิมพ์สามารถซึมเข้าไปแนบแน่นกับเนื้อกระดาษได้อย่างแนบแน่น ... แต่ถ้ากระดาษบางเกินไป แต่เลือกความร้อนสูง ความเสี่ยงที่กระดาษจะงอยับย่นติดชุดความร้อน ก็สูง .. ก็หนูออกจะบอบบาง ไม่สามารถผจญภาวะความร้อนสูงได้ เลือกแบบหนาถึกบึกบึน ... จะใจร้ายกับหนูมากเกินไปหรือเปล่า

ที่ผ่านมาใช้ประสบการณ์จากการลองผิดลองถูก ถ่ายออกมาแล้วเอามือลบได้หรือเปล่า กลัวไม่ชัวร์ก็เอาผ้าถูๆ เอาเลย ... ต่อมาก็เดาเอารูปตัวอย่างที่เค้าให้มา ขั้นสูงหน่อยก็เดาตามตรรกศาสตร์ ว่าอุณหภูมิของกระดาษแต่ละประเภท น่าจะไล่จากซ้ายไปขวา บนไปล่าง ... หรือเดาเอาตามคำแปลเลย Color กระดาษสี Coated กระดาษอาร์ต ..บางเมนูที่ให้เลือก พอเดาได้ไม่อยาก อาทิ แผ่นใส ไม่ต้องคิดอะไรมาก กดปุ่ม Transparency ไปได้เลย .. แต่ถ้ากระดาษแปลกๆ อย่างอาร์ตมัน 130 แกรมกับ 260 แกรม มันไม่น่าจะเลือก Coated เหมือนกัน ... เราควรจะตั้งค่ากระดาษเป็นอะไรดี เพื่อให้เครื่องปรับอุณหภูมิได้เหมาะสม ออกมาสวยงาม ไม่หลุดร่อน หรือยับติดชุดความร้อน

Canon Error Code E823, E824, E830

E823 เกิดจาก พัดลมชุดชาร์จไฟปรีทรานสเฟอร์ (FM10) เสีย เนื่องจากสัญญาณ Lock (FM10LCK) ถูกตรวจพบนาน 5 วินาที หรือมากกว่านั้น ในขณะที่พัดลมชุดชาร์จไฟปรีทรานสเฟอร์ (FM10) กำลังถูกขับเคลื่อนอยู่ ลองตรวจเช็คดูว่ามีอะไรไปขวางให้มันหยุดหมุน หรือมันไม่หมุนเพราะเสียจริงๆ  ... เกินกว่านี้ค่อยไล่ไปดูสายไฟอื่นๆ แถวๆ นี้ เน้นที่คอนเน็คเตอร์ J504 บนแผง DC ถ้าไม่ได้จริงๆ ก็ ค่อยไปลุยหาแผง DC controller PCB มาลองเปลี่ยนดู

มาว่ากันต่อ E824 อันนี้เกิดจาก พัดลมชุดชาร์ตไฟไพรมารี (FM1) เสีย ภาษาบ้านๆ ก็เรียกบล็อกล่าง ... พัดลมตัวเล็กๆ ที่ดูดความร้อนจากบล็อกล่างมีปัญหา .. เครื่องก็ได้รับสัญญาณ Lock (FM1LCK) นาน 5 วินาที หรือมากกว่านั้น ในขณะที่พัดลมชุดชาร์ตไฟไพรมารี (FM1) ถูกสั่งให้ขับเคลื่อนอยู่ ถ้าไม่ใช่ที่พัดลมก็เป็นคอนเน็คเตอร์ J504 บนแผง DC ไล่ถอดออกเสียบใหม่ดูก่อนก็ได้ ถ้าเกินไปกว่านี้ก็เปลี่ยนแผง DC

Canon Error Code E804, E805, E820

E804 เกิดจาก พัดลมให้ความเย็น Power supply (1 และ 2) เสีย นอกเสียจากนี้ก็แผง DC controller PCB เสีย ถ้าแผงไม่เสียก็เกิดจากการเดินสายไฟเสีย ซึ่งอาจเกิดจากวงจรช็อต หรือวงจรขาด ... โดย E804 จะเกิดขึ้นได้เมื่อสัญญาณ Lock (FM1LCK, FM2LCK) ถูกตรวจพบนาน 5 วินาที หรือมากกว่านั้น ในขณะที่พัดลมให้ความเย็น Power supply (1 และ 2) กำลังถูกขับเคลื่อนอยู่

เล่นกันแบบง่ายๆ อันดับแรกเช็คพัดลม Power supply ก่อน ว่าหมุนหรือไม่ .. ไล่จากสายไฟที่เสียบจากปลั๊ก จะเข้า Power supply ก่อน มีพัดลมอะไรแถวๆ นั้นหยุดหมุน หรือมีอะไรไปขัดขวางการหมุนหรือไม่ ... ถ้าไม่มีชัวร์ ค่อยไล่ไปดูสายไฟอื่นๆ ที่เข้ามาใน Power supply โดยเฉพาะคอนเนคเตอร์ J505 บนแผง DC จากนั้นค่อยไปหาแผง DC